ผู้เขียน หัวข้อ: SCI คาดใช้ 100 ลบ.ถือหุ้น 80% เหมืองคริปโทฯในเขื่อนไฟฟ้าลาว  (อ่าน 325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
SCI คาดใช้ 100 ลบ.ถือหุ้น 80% เหมืองคริปโทฯในเขื่อนไฟฟ้าลาว 4 MW,จ่อร่วมทุน Health Tech

นายเกรียงไกร เพียรวิทยาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เอสซีไอ อีเลคตริค (SCI) เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ว่า ล่าสุดบริษัทได้จัดตั้ง บริษัท SCI VENTURE เพื่อเข้าลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดคริปโทร่วมกับพันธมิตรใน สปป.ลาว ที่มีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจเหมืองขุดคริปโท ด้วยงบลงทุนราว 100 ล้านบาท โดย SCI จะถือหุ้นในสัดส่วน 80% และพันมิตรถือหุ้นในสัดส่วน 20% ซึ่งโครงการดังกล่าวจะตั้งอยู่ในพื้นที่เขื่อนพลังงานน้ำของบริษัทที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้า 4 เมกะวัตต์ ที่รองรับการติดติดตั้งเครื่องได้ 200 เครื่อง/เมกะวัตต์ ช่วยให้ต้นทุนด้านพลังงานลดลงค่อนข้างมาก โดยคาดว่าจะสามารถเดินเครื่องได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 65
พร้อมกันนี้บริษัทอยู่ระหว่างการทำ Due Diligence เพื่อเข้าถือหุ้นในบริษัท Health Tech Startup ผู้พัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในประเทศไทย ที่สามารถตรวจสอบโรคร้ายแรงที่ไม่ติดต่อ อาทิเช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และอื่นๆ ก่อนที่จะเข้าขั้นป่วยวิกฤต ซึ่งระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยและโรงพยาบาล เพื่อติดตามอาการของผู้ป่วย และแจ้งเตือนไปยังโรงพยาบาลหากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ปัจจุบันได้มีโรงพยาบาลหลายแห่งที่ใช้ระบบดังกล่าวแล้ว ซึ่งสามารถสร้างรายได้และกำไรให้กับบริษัทดังกล่าวแล้ว โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนการเข้าลงทุนได้ช่วงครึ่งปีแรก 65 ด้วยงบลงทุนราว 30 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการขอใบอนุญาตปลูกกัญชงจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยคาดว่าจะเริ่มปลูกได้ในเดือน พ.ค. 65 ด้วยขนาดพื้นที่เริ่มต้นที่ 10 ไร่ จากพื้ที่ที่เตรียมไว้ทั้งหมดราว 100 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งจะมีการเซ็น Contract Farming กับผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสกัดสารจากดอกกัญชงเร็วๆนี้
"หลังจากที่เราเจอกับปัญหางานใน สปป.ลาว ชะงักไป ใน เมียนมา ก็เจอกับรัฐประหาร เราจึงต้องไปบริหารจัดการในส่วนนั้นก่อน แต่หลังจากแก้ปัญหาดังกล่าวแล้ว ในปีนี้เราจะเริ่มมาลุยขยายกิจการใหม่ๆที่เป็นเทรนด์ของโลกทั้งในปัจจุบัน และ อนาคต ที่จะเข้ามาช่วยหนุนการเติบโตของผลประกอบการของเรา"นายเกรียงไกร กล่าว
นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า ทิศทางรายได้ในปี 65 นี้จะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับปี 64 ที่ 1,626.22 ล้านบาท โดยปัจจุบันบริษัทตุนงานในมือ (Backlog) ราว 950 ล้านบาท โดยจะสามารถรับรู้เข้ามาเป็นรายได้ในปีนี้ทั้งหมด และบริษัทยังคงเดินหน้าประมูลงานโครงการเสาไฟฟ้าแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 2 โครงการ มูลค่าราว 1,000 ล้านบาท ที่คาดว่าจะเปิดประมูลงานในช่วงครึ่งปีแรกนี้
นอกจากนี้ภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้เตรียมที่ะเดินทางไปยัง สปป.ลาว ภายในช่วงครึ่งปีแรกนี้ เพื่อที่จะเจรจาใหม่อีกครั้งในโครงการก่อสร้างเสาไฟฟ้าแรงสูงและสถานีไฟฟ้าย่อยที่ได้เซ็นสัญญาไปก่อนหน้านี้ มีมูลค่าคงเหลือกว่า 10,000 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวได้หยุดดำเนินการไปเมื่อปี 60 และบริษัทได้ตั้งด้อยค่าในโครงการดังกล่าวไปแล้วมูลค่า 180 ล้านบาท ซึ่งบริษัทคาดหวังที่จะกลับมาดำเนินโครงการได้ต่อในไม่ช้า
สำหรับโรงงาน SCI Metal Tech(Myanmar) ที่สามารถผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงและเสาสื่อสารโทรคมนาคมได้ 7,500 ตันต่อปี และโรงงานชุบสังกะสีหรือชุบกัลป์วาไนซ์กำลังการผลิต 2.4 หมื่นตันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อที่จะหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุนในโรงงานดังกล่าว เพื่อที่จะเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในเรื่องของเงินทุน และ การหาโครงการใหม่ๆเข้ามาป้อนให้กับโรงงานดังกล่าว หลังจากที่บริษัทได้หยุดการผลิตไปจากผลกระทบจากการรัฐประหาร
"แม้ว่าจะเห็นเรามีโครงการใหม่ๆเข้ามา แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการต่างๆ และ จะเริ่มเห็นรายได้เข้ามาช่วงครึ่งปีหลังหรือช่วงปลายปีแล้ว ทำให้รายได้ในปีนี้อาจจะไม่ต่างไปจากปีก่อน แต่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนในปี 66 เป็นต้นไป ด้วยโครงการต่างๆที่เรากำลังเริ่มดำเนินการ และ โครงการเดิมที่จะเห็นการกลับมาเติบโต"นายเกรียงไกร กล่าว
ด้านการเพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ (Recurring Income) ผ่านบริษัท ที ยูทิลิตี้ส์ จำกัด (TU) ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท ที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 40% ปัจจุบันมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างหน่วยงานเอกชนกับเอกชน (Private PPA) ที่ติดตั้งโซลาร์รูฟและเริ่มรับรู้รายได้แล้ว 5 เมกะวัตต์ ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั้งหมด 4 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 11 เมกะวัตต์ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและรับรู้รายได้ภายในปี 67
นอกจากนี้บริษัทยังคงติดตามโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเฟส 2 จำนวน 400 เมกะวัตต์ ที่จะออกมาในปี 65 นี้ โดยบริษัทเตรียมที่จะยื่นประมูลทั้งหมด 10 โครงการ รวมกำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกันบริษัทคาดหวังว่าภาครัฐจะเปิดให้เข้าประมูลโครงการพลังงานลมเพิ่มเติมในช่วงปลายปี 65 - ต้นปี 66 เพิ่มเติม ซึ่งบริษัทได้เตรียมพื้นที่และรองรับการเข้าประมูลสูงถึง 100 เมกะวัตต์