ผู้เขียน หัวข้อ: การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ และการหารือเชิงนโยบาย  (อ่าน 346 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • *
  • กระทู้: 861
  • Popular Vote : 0
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ ๑ และการหารือเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อสร้างการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม ยั่งยืน และสมดุล ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

ผลกระทบจากโควิด-๑๙ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (disruption) ทั่วโลกสะท้อนให้เห็นผลเสียจากการพัฒนาที่ไม่ครอบคลุมและมองข้ามผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-๑๙ จึงเป็นโอกาสของการฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล ซึ่งนโยบายเศรษฐกิจ BCG ของไทยตอบโจทย์ดังกล่าวโดยเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่า ลดความสูญเสีย และดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ไทยจึงได้เลือกนำแนวคิดนี้มาขับเคลื่อนเอเปค ๒๕๖๕ โดยเฉพาะการผลักดันการ ?สร้างความสมดุลในทุกด้าน? หรือ "Balance in all aspects" โดยมีเป้าหมายรูปธรรมเป็นการนำแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเปคมาบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ และจัดทำเป็นเอกสารระดับผู้นำเพื่อให้ที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปครับรองในช่วงเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ซึ่งจะทำให้เอเปคสามารถเดินหน้าส่งเสริมประเด็นนี้ในระยะยาวเพื่อสร้างการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในภูมิภาคต่อไป

ไทยได้เริ่มกระบวนการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อแนวคิด BCG ในการประชุมเอเปคอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้จัดการหารือเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจ BCG เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาเป็นยุทธศาสตร์สร้างการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืนในยุคหลังโควิด-๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกเอเปค และหารือแนวทางการนำมาปฏิบัติจริงผ่านกลไกเอเปค โดยมีนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศและประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค และ รศ. ดร. พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกล่าวเปิดงาน

ที่ประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากแนวคิด BCG ที่เกิดขึ้นในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ใน ๓ สาขาสำคัญ ได้แก่ (๑) การเกษตรและระบบอาหาร โดยมีการแลกเปลี่ยนด้านการพัฒนาการเกษตรและระบบอาหารอย่างยั่งยืน การจัดการขยะอาหาร และการสร้างห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบ (๒) ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความสามารถทางพลังงานในการรับมือความเปลี่ยนแปลง โดยหารือเกี่ยวกับพลังงานชีวภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการเร่งส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอน และ (๓) การจัดการทรัพยากรอย่างสร้างสรรค์ เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างจากเปลือกหอย การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นต้น

การหารือเชิงนโยบายครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดเศรษฐกิจ BCG เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทั่วโลกรวมถึงเอเปคได้เริ่มดำเนินการอยู่แล้ว และเป็นแนวคิดที่สร้างประโยชน์ครอบคลุมธุรกิจหลากหลายสาขา ดำเนินการได้จริงโดยสามารถสร้างกำไรและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันได้ รวมทั้งมีหัวใจสำคัญคือการขับเคลื่อนแบบองค์รวม ทั้งนี้ ไทยจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG มาวางแนวทางการทำงานในเอเปคอย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจที่คนไทยจะได้ร่วมกำหนดแนวทางการเจริญเติบโตภายในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

ที่มา: กระทรวงการต่างประเทศ