ไขควงเช็คไฟฟ้ารั่ว อุปกรณ์ที่ทุกบ้านควรมีติดไว้และควรใช้ให้เป็น เราควรดูแลบ้านให้ครบทุกจุดรวมถึงระบบไฟฟ้าด้วย
อีกหนึ่งอุปกรณ์ประจำบ้านที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงคือ “ไขควงลองไฟ” หรือ “ไขควงวัดไฟ” ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญในการตรวจส าพเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าไฟรั่วหรือไม่ สำหรับลักษณะที่่บ่งบอกว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีไฟรั่วก็ต่อเมื่อนำไขควงวัดไฟไปแตะที่ตัวเครื่องใช้ไฟฟ้า หากมีแสงสว่างปรากฎขึ้นมา แสดงว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นมีไฟรั่ว จะต้องถอดปลั๊กทิ้ง แล้วรีบให้ช่างดูทันที สำหรับไขควงวัดไฟนั้นมีอยู่ 2 แบบคือไขควงวัดไฟแบบธรรมดาซึ่งจะมีหลอดไฟอยู่ที่ด้ามจับ และไขควงวัดไฟแบบดิจิตัล
วิธีใช้ไขควงเช็คไฟในขณะการทดสอบต้องไม่ใส่รองเท้า หรือฉนวนใดๆ เนื่องจากแสงไฟจะไม่ติด และทำให้เข้าใจว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นสามารถใช้งานได้ตามปกติไขควงลองไฟที่เราใช้ตามบ้านมักมีปุ่มอยู่ด้านบน หรือเป็นแบบคลิปหนีบปากกาไว้สำหรับให้ใช้นิ้วแตะเพื่อให้ไฟไหลครบวงจรผ่านร่างกาย ไฟนีออนจึงจะติดเป็นสีแดงขึ้นมาได้ก่อนใช้จริงควรมีการลองก่อน เนื่องจากบางท่านอาจมีไขควงวัดไฟที่เก็บไว้นานแล้วเพิ่งนำมาใช้ไฟนีออนหรือตัวด้านในอาจชำรุด หรือถ้าเป็นแบบดิจิตัลไฟแสดงผลอาจไม่ทำงาน ดังนั้นวิธีการทดลองคือให้นำไขควงแหย่เข้าไปในส่วนที่รู้แน่ว่ามีไฟเสียก่อน เช่นเต้ารับที่ผนังจะมีเพียงรูเดียวที่มีไฟ หมายเหตุ : แต่ต้องระมัดระวังอย่าให้ไขควงแตะส่วนที่เป็นขั้วไฟคนละขั้วพร้อมกัน เช่นขั้วไฟต่างเฟส หรือขั้วมีไฟแตะกับขั้วดินหรือนิวทรัล โดยเฉพาะถ้าอยู่ในพื้นที่แคบเพราะอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเกิดประกายไฟรุนแรงทำให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้วิธีที่ถูกต้องนั้นคือให้นำปลายไขควงแตะวัตถุที่จะทดสอบก่อน แล้วจึงใช้นิ้วแตะปุ่มด้านบน หรือตรงคลิปหนีบให้ครบวงจรระวังอย่าใช้นิ้วแตะไขควงส่วนที่เปลือย ควรใช้ไขควงที่มีการหุ้มฉนวนให้เหลือเฉพาะปลายที่จะใช้สัมผัส ถ้าไม่มีอาจต้องใช้พันเทปพันสายไฟพันให้รอบเพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นทุกๆ ครั้งที่ใช้ต้องระมัดระวังว่าไขควงอาจชำรุด หรือลัดวงจร ายในได้จึงแตะเพียงเล็กน้อยเท่านั้นทั้งนี้ห้ามซ่อม ดัดแปลงไขควงวัดไฟ พร้อมทั้งห้ามนำไขควงไปทดสอบกับไฟฟ้าที่ไม่รู้ค่าแรงดันหรือ ไฟฟ้าแรงดันสูง