ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง 38.7 ดอลล์ จากแรงขายหลังคลายวิตกวิกฤตยูเครน  (อ่าน 406 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดทองคำนิวยอร์ก: ทองปิดร่วง 38.7 ดอลล์ จากแรงขายหลังคลายวิตกวิกฤตยูเครน

สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงในวันศุกร์ (25 ก.พ.) หลุดจากระดับ 1,900 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังคลายกังวลเกี่ยวกับวิกฤตยูเครน ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ส่งสัญญาณพร้อมเจรจากับยูเครน

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. ร่วงลง 38.7 ดอลลาร์ หรือ 2.01% ปิดที่ 1,887.6 ดอลลาร์/ออนซ์ และปรับตัวลง 0.6% ในรอบสัปดาห์นี้

สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนพ.ค. ลดลง 69.3 เซนต์ หรือ 2.8% ปิดที่ 24.017 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือนเม.ย. ลดลง 12 ดอลลาร์ หรือ 1.13% ปิดที่ 1,050.1 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 136.20 ดอลลาร์ หรือ 5.4% ปิดที่ 2,365.70 ดอลลาร์/ออนซ์

สัญญาทองคำปรับตัวลงจากแรงเทขาย หลังจากกระทรวงการต่างประเทศของจีนเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซียได้บอกกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนทางโทรศัพท์ว่า รัสเซียเต็มใจที่จะจัดการเจรจาระดับสูงกับยูเครน

นายดมิทรี เพสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลินกล่าวว่า รัสเซียพร้อมส่งตัวแทนไปยังกรุงมินสก์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเบลารุส เพื่อเจรจากับทางการยูเครน

นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐที่ดีกว่าคาดในวันศุกร์ (25 ก.พ.) ยังกดดันราคาทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยด้วย โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น 1.6% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 1.2% ในเดือนธ.ค.

ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนในเดือนม.ค.ได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อเครื่องบิน

ส่วนยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนพื้นฐาน ซึ่งเป็นคำสั่งซื้อสินค้าทุนที่ไม่รวมเครื่องบิน และสินค้าด้านอาวุธ โดยเป็นสิ่งบ่งชี้แผนการใช้จ่ายของภาคธุรกิจ พุ่งขึ้น 0.9% ในเดือนม.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธ.ค.

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยด้วยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญ พุ่งขึ้น 5.2% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2526 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 5.1%

ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จากกระทรวงแรงงานสหรัฐ