ผู้เขียน หัวข้อ: สรท.จับตาสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน หากยืดเยื้อกระทบส่งออก Q2/65  (อ่าน 381 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0
สรท.จับตาสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน หากยืดเยื้อกระทบส่งออก Q2/65

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า จากการติดตามและประเมินผลกระทบจากการสู้รบระหว่างรัสเซีย - ยูเครน และมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งคาดการณ์เบื้องต้นว่าอาจมีผลกระทบต่อทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของต้นทุนภาคการผลิต ทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น อาทิ เหล็ก ธัญพืช เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งอาจส่งผลให้คำสั่งซื้อจากคู่ค้าลดลงบางส่วน

"ผลกระทบย่อมมีเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะเศรษฐกิจรัสเซียมีขนาดใหญ่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ซึ่งต้องรอดูรัฐบาลว่าท่าทีในเรื่องนี้อย่างไร" นายชัยชาญ กล่าว
โดยประเมินเบื้องต้นว่าหากสถานการณ์การสู้รบไม่ยืดเยื้อบานปลายหรือขยายวงกว้างไปมากกว่านี้ และสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ภายใน 3 เดือน ภาวะการส่งออกของไทยในปี 65 คาดว่าจะยังเติบโตได้ที่ 5% (ณ มี.ค.65) โดยคาดว่าสถานการณ์ส่งออกในไตรมาสแรกจะสามารถเติบโตได้ที่ 5% หรือมีมูลค่า 6.75-6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีการยืนยันคำสั่งซื้อไว้แล้วล่วงหน้า

แต่หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้ออาจกระทบต่อการส่งออกในไตรมาส 2 ที่คาดว่าจะมีมูลค่า 6.6-6.8 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยอาจมีคำสั่งซื้อลดลงประมาณ 4-5 พันล้านดอลลาร์ และกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ อาทิ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า (เครื่องปรับอากาศ)

"เราประเมินยอดส่งออกในเดือน ม.ค.65 จากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ว่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ 2.1-2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7-8% ส่วนไตรมาสแรกน่าจะขยายตัวได้ 5% แน่ๆ และทั้งปีก็จะขยายตัว 5% จะให้ขยายตัว 7-8% มีความเป็นไปได้น้อย" นายชัยชาญ กล่าว
สำหรับมูลค่าการส่งออกของไทยไปรัสเซียในปี 64 มีสัดส่วนอยู่ที่ 0.38% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปยังทั่วโลก หรือประมาณ 1,028 ล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าการส่งออกไทยไปยูเครนในปี 64 มีสัดส่วนอยู่ที่ 0.05% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปยังทั่วโลก หรือประมาณ 134.76 ล้านดอลลาร์ และ สรท.คาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ในกรอบ 100-105 ดอลลาร์/บาร์เรล

โดยปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่

1) สถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างยูเครนและรัสเซีย ส่งผลต่อหลายปัจจัยที่สำคัญทั้งภูมิรัฐศาสาตร์ เศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม หากสถานการณ์การสู้รบยืดเยื้อบานปลาย อาทิ

1.1) ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น จากสถานการณ์ก่อนหน้าที่ราคาน้ำมันทรงตัวในระดับสูงจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์รัสเซีย ยูเครน ส่วนหนึ่งรัสเซียเป็นผู้ผลติน้ำมันใหญ่เป็นอันดับสองของโลก (ราว 11% ของการผลิตน้ำมันทั่วโลก) กดดันให้ราคาน้ำมันและก๊าชปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เยอรมนีได้หยุดเจรจาการซื้อขายน้ำมันเพื่อตอบโต้รัสเซีย กดดันให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้า รวมถึงต้นทุนการขนส่งปรับตัวสูงขึ้นตามกลไกราคาพลังงานในตลาดโลก สรท.คาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ในกรอบ 100-105 ดอลลาร์/บาร์เรล

1.2) ปัญหาราคาวัตถุดิบขาดแคลนและผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, สินค้าธัญพืช เป็นต้น

2) ค่าเงินบาทมีความผันผวนไปในทิศทางแข็งค่า New low ในรอบ 5-7 เดือน จาก Fund flow นักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดทุนและตลาดพันธบัตรของไทยจำนวนมาก ส่วนหนึ่งจากการผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีความผันผวน จากที่นักลงทุนคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกรอบจากที่กำหนดไว้ว่าจะปรับขึ้น 0.50 ในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ประกอบกับแรงหนุนจากราคาทองคำที่เริ่มกลับมาเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยจากนักลงทุน ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย ยูเครน นักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในระยะสั้น

3) แรงงานภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว

4) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ในหลายประเทศเริ่มมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอีกระลอกรวมถึงประเทศไทย (New high) ถึงแม้ว่าจะการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 และเข็ม 4 ต่อเนื่อง ขณะที่หลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการสำหรับการเดินทางระหว่างประเทศรวมถึงไทย ถึงแม้จะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดียังคงต้องติดตามและประเมินสถานการณ์ไวรัสโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 อย่างใกล้ชิด

5) ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหาค่าระวางเรือทรงตัวในระดับสูง Space allocation ไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถจองระวางได้ โดยอัตราค่าระวางยังทรงตัวในระดับสูงไปจนถึงกลางปี 65

ทั้งนี้ สรท.มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1) เพื่อเตรียมรับมือต่อความผันผวนของตลาดเงินทั่วโลกที่อาจเกิดจากกรณีพิพาท สรท.ขอให้รักษาเสถรียภาพค่าเงินบาทให้อยู่ในกรอบ 32.50-33.50 บาท/ดอลลาร์ กรณีการชำระเงินระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการส่งออกควรต้องขอให้ชำระเงินก่อนส่งมอบสินค้าเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงระดับหนึ่ง

2) เพื่อรับมือต่อการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าทุน สรท.ขอให้รัฐพิจารณาอนุญาตการปรับขึ้นราคาสินค้าได้ตามสัดส่วนราคาต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงอย่างแท้จริงทั่วโลก เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับต้นทุนการผลิตที่มีความผันผวนในช่วงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น

3) เร่งมองหาช่องทางเปิดตลาดเพิ่มเติมทดแทนกลุ่มสินค้าที่อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอคำสั่งซื้อจากกลุ่มประเทศกรณีพิพาท หากการสู้รบขยายเป็นวงกว้างและมีความยืดเยื้อมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป

4) ขอให้ภาครัฐพิจารณาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำโดยอ้างอิงจากปัจจัยการปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก และขอให้พิจารณาปรับขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการมีต้นทุนแรงงานที่ค่อนข้างสูง

ประธาน สรท.กล่าวว่า ในการหารือระหว่างปลัดกระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในวันพรุ่งนี้ (2 มี.ค.) ตนเองจะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวให้พิจารณาด้วย