ผู้เขียน หัวข้อ: คมนาคม เร่งจัดตั้ง 3 บริษัทสายการเดินเรือแห่งชาติ เล็งใช้แนวทางร่วมทุนเอกชน  (อ่าน 423 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0
คมนาคม เร่งจัดตั้ง 3 บริษัทสายการเดินเรือแห่งชาติ เล็งใช้แนวทางร่วมทุนเอกชน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พร้อมด้วย นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ได้ตรวจเยี่ยมพร้อมให้นโยบายการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาโลจิสติกส์ทุกรูปแบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโลจิสติกส์ทางน้ำมีความสำคัญโดยต้องบูรณาการกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาศักยภาพของการขนส่งสินค้าทางน้ำให้เต็มความสามารถ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

โดย รมว.คมนาคม ได้เร่งรัดการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติในรูปแบบ Domestic และ International เพื่อส่งเสริมและพัฒนากองเรือพาณิชย์ไทย เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ ลดต้นทุนการขนส่งโลจิสติกส์ สนับสนุนการส่งออกและนำเข้า เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยกองเรือไทย รวมทั้งลดการขาดดุลบริการด้านค่าระวางเรือ และเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับกองเรือไทย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมานายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ได้ประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง 4 ครั้ง โดยหลักการจะมีการจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัทคือ 1.สายการเดินเรือภายในประเทศ 2. สายการเดินเรือระหว่างประเทศ (ตะวันออก) ฝั่งอ่าวไทย 3. สายการเดินเรือระหว่างประเทศ (ตะวันตก) ฝั่งอันดามัน ซึ่งรูปแบบจะเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง กทท.กับภาคเอกชน โดย กทท.อาจจะถือหุ้นต่ำกว่า 50% ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ ลักษณะเหมือน บมจ. การบินไทย (THAI) หรือ บมจ. ปตท. (PTT) เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น และมีความสามารถในการระดมทุนด้วย โดยให้สรุปความชัดเจนในการจัดตั้งบริษัทสายเดินเรือในประเทศ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในปี 2565 ก่อน ส่วนสายเดินเรือระหว่างประเทศ การจัดตั้งจะสอดคล้องกับการพัฒนาแลนด์บริดจ์ เพื่อสนับสนุนในด้านปริมาณสินค้า โดยให้พิจารณากลยุทธ์ในการพัฒนาท่าเรือเพิ่มในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญภายในประเทศ จากภาคใต้ขึ้นมาถึงท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ ช่วยแก้ปัญหาจราจร ลดอุบัติเหตุ ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5

นอกจากนี้ ได้ให้ กทท. บูรณาการความเห็นร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมเจ้าท่า (จท.) กรมทางหลวง (ทล.) กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในการพัฒนาโครงการแลนด์บริดจ์ (ท่าเรือชุมพร-ระนอง) การพัฒนารูปแบบ การลงทุน และ Business Model พื้นที่หลังท่า และในการโดยการพัฒนาท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งของแลนด์บริดจ์ให้เชื่อมต่อระบบการขนส่งอื่นอย่างไร้รอยต่อ (Seamless) เพื่อลดเวลาและต้นทุนการขนส่ง เมื่อเทียบกับท่าเรืออื่นในอาเซียน เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการจากทั่วโลกหันมาใช้เส้นทาง Landbridge เป็นเส้นทางหลักในการขนส่งสินค้า เชื่อมโยงมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกแทนเส้นทางการค้าเดิม

โดยเป้าหมายการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 ในส่วนของท่าเรือ F เฟสแรก เสร็จปี 68 จะเพิ่มขีดความสามารถรองรับสินค้าได้ 18 ล้านทีอียู ซึ่ง กทท.จะต้องทำ Acrtion Plan เพื่อส่งสัญญาณให้ภาคเอกชนรับรู้ เพื่อทำแผนใช้ท่าเรือให้เต็มประสิทธิภาพ ส่วนโครงการแลนด์บริดจ์ เฟสแรก จะเสร็จปี 2572 มีเป้าหมายดึงเรือสินค้าจากช่องแคบมะละกาประมาณ 10% มาใช้ ซึ่งปัจจุบันช่องแคบมะละมามีเรือประมาณ 8 หมื่นลำ/ปี จากการประมาณการณ์คาดว่าอีก 10 ปี จะเพิ่มเป็น 1.2 แสนลำ ซึ่งช่องแคบมะละกาจะแน่น ดังนั้นการพัฒนาแลนด์บริดจ์ของไทยคือนำวิกฤติดังกล่าวมาสร้างโอกาส

"ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง อยู่ในอันดับ 20 ของโลก โดยมีปริมาณสินค้าที่ 8 ล้านทีอียู การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เสร็จในปี 2568 ขีดความสามารถรองรับเป็น 18 ล้านทีอียู ส่วนแลนด์บริดจ์เสร็จปี 2572 รองรับประมาณ 19-21 ล้านทีอียู รวม 2 แห่ง รองรับได้เพิ่มอีกเท่าตัว หรือประมาณ 40 ล้านทีอียู คาดหวังว่าไทยจะขึ้นเป็นท่าเรืออันดับ 1 ใน 10 ของโลก" รมว.คมนาคม กล่าว
สำหรับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ต้องดำเนินการให้เป็นระบบ โดยมีการประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และวางแผนบริหารจัดการทั้งด้าน Demand และ Supply เพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ได้เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ โดยการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่า 95% ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หลักธรรมาภิบาล และการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

สำหรับผลการดำเนินงานด้านการเงินในปี 2564 กทท. มีรายได้โดยรวมเฉลี่ย 15,613 ล้านบาท กำไรสุทธิ 6,270 ล้านบาท และค่าใช้จ่าย 9,343 ล้านบาท ซึ่ง กทท. มีรายได้สูงสุดเกี่ยวกับสินค้า 70.75% รายได้เกี่ยวกับเรือ 11.91% รายได้เกี่ยวกับค่าเช่าที่ดิน อาคารและคลังสินค้า 9.54% รายได้เกี่ยวกับบริการ 2.91% และรายได้อื่น ๆ 4.98%