ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ วิกฤตยูเครน-รัสเซียกดดันราคาน้ำมันพุ่ง  (อ่าน 336 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดลบ วิกฤตยูเครน-รัสเซียกดดันราคาน้ำมันพุ่ง

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดแดนลบเช้านี้ ตามทิศทางดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์ที่ปิดทรุดตัวลงเกือบ 800 จุดในวันจันทร์ (7 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นเนื่องจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนนั้น จะผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 24,974.35 จุด ลดลง 247.06 จุด หรือ -0.98%, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 3,372.55 จุด ลดลง 0.31 จุด หรือ -0.01% ส่วนดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,082.39 จุด เพิ่มขึ้น 24.76 จุด หรือ -0.12%

นักลงทุนยังคงวิตกกังวลราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากที่นายแอนโทนี บลิงเกน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐให้สัมภาษณ์ว่า สหรัฐและชาติพันธมิตรในยุโรปกำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะระงับการนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากรัสเซีย เพื่อตอบโต้รัสเซียที่ใช้กำลังทหารบุกโจมตียูเครน

ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. พุ่งขึ้น 3.72 ดอลลาร์ หรือ 3.2% ปิดที่ 119.40 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2551 ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนพ.ค. พุ่งขึ้น 5.10 ดอลลาร์ หรือ 4.3% ปิดที่ 123.21 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับปิดสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2555

นอกจากนี้ รายงานยังระบุว่า รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดนพร้อมที่จะออกมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย แม้จะไม่ได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรในยุโรป

โมนา มาฮาจาน นักวิเคราะห์จากบริษัทเอ็ดเวิร์ด โจนส์กล่าวว่า ตลาดวิตกกังวลว่าการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น และอาจจะนำไปสู่ภาวะ Stagflation หรือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงเวลาที่อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้น นอกจากนี้ ตลาดยังกังวลว่าปัญหาราคาน้ำมันแพงจะส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นปัจจัยขัดขวางการเติบโตของเศรษฐกิจ

นักลงทุนยังคงจับตาสถานการณ์ยูเครนอย่างใกล้ชิด ขณะที่ สำนักข่าวอินเทอร์แฟกซ์ของรัสเซียรายงานว่า ตัวแทนจากยูเครนและรัสเซียได้เจรจาสันติภาพรอบที่ 3 เพื่อหาทางออกต่อวิกฤตการณ์ในยูเครนเมื่อคืนวานนี้ แต่ยังไม่มีความคืบหน้าที่มีนัยสำคัญ

สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจในภูมิภาคที่จะรายงานวันนี้ ได้แก่ ความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนก.พ. ของออสเตรเลียจากเนชันแนล ออสเตรเลีย แบงก์ (NAB) และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนม.ค. ของญี่ปุ่น