ผู้เขียน หัวข้อ: พาณิชย์ บ่มเพาะผู้ประกอบการภาคเหนือใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนสินค้า-บริการ ภายใต้ BCG Model  (อ่าน 441 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
พาณิชย์ บ่มเพาะผู้ประกอบการภาคเหนือใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนสินค้า-บริการ ภายใต้ BCG Model

นายเอกฉัตร ศีตวรรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ มอบหมายให้กรมฯ ขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio Circular and Green) สู่การปฏิบัติ กรมฯ จึงได้ร่วมมือกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STeP) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมฝึกอบรมผู้ประกอบการเชิงลึกเพื่อเพิ่มมูลค่าด้านธุรกิจ ภายใต้โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการไทยที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมสู่ตลาดสากล (The Future of Thai Innovation : Future Lab - Enhanced Thailand?s BCG) ณ โรงแรม เลอ เมอริเดียน เชียงใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการในกลุ่มหัตถอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์ ในพื้นที่ภาคเหนือ

"การจัดทำโครงการนี้ มีเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย การออกแบบ การสร้างความแตกต่างของสินค้า เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมถึงพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและสร้างตราสินค้า ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ และการค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด BCG Economy Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติในการขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และสอดคล้องกับแผนงานหลักของกรมฯ และกระทรวงพาณิชย์"นายเอกฉัตร กล่าว
น.ส.ประอรนุช ประนุช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กล่าวว่า โครงการ Future.Lab เป็นโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการในกลุ่มหัตถอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์ อาทิ แฟชั่นและเครื่องหนัง ของขวัญของชำร่วย เครื่องใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน สปาและสุขภาพ ในพื้นที่ภาคเหนือที่มีนวัตกรรม มีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 15 แบรนด์ จาก จ.เชียงใหม่ น่าน และแพร่ จากผู้สมัครทั้งสิ้น 45 ราย โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการเกิดองค์ความรู้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการสร้างแบรนด์ และแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด BCG Economy Model

โดยการอบรมครั้งนี้ จะมี 5 กิจกรรม ได้แก่ การอบรมเชิงลึกเพื่อเพิ่มมูลค่าธุรกิจ (Workshop) จำนวน 3 วัน การอบรมเชิงปฏิบัติการและพัฒนาเชิงลึก (Brand Consultation) ในรูปแบบอบรมรวมกลุ่มจำนวน 4 วัน การให้คำปรึกษาเชิงลึกด้านการสร้างแบรนด์ และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Brand Consultation) ในรูปแบบให้คำปรึกษาเชิงลึกตัวต่อตัวระหว่างผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญ ระยะเวลา 3 เดือน การจัดทำคู่มือการสร้างแบรนด์รายบริษัท (Brand Book) และแค็ตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (E-Catalogue) และการนำเสนอกลยุทธ์ด้านการสร้างแบรนด์ และการพัฒนาของผู้ประกอบการ

ที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า ได้จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมให้มีศักยภาพทางการแข่งขันสูงขึ้น อาทิ ในปี 2563 การบ่มเพาะด้านการสร้างแบรนด์ ในกลุ่มสินค้านวัตกรรมทางการเกษตรไทย (IDEALAB : Thai Agricultural Innovation) ปี 2564 การพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมให้มีการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยแนวทาง BCG อาทิ ยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Circular Packaging) เป็นต้น และยังได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านหน่วยงานนวัตกรรม (จากการ MoU) เพื่อยกระดับภาคการส่งออกของไทยด้วยงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม และได้ขยายโอกาสไปยังกลุ่มผู้ประกอบการ BCG ในภูมิภาค จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้