ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.33 คาดกรอบวันนี้ 33.25-33.50 ตลาดกังวลราคาน้ำมัน-โควิด-ยูเครน  (อ่าน 433 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.33 คาดกรอบวันนี้ 33.25-33.50 ตลาดกังวลราคาน้ำมัน-โควิด-ยูเครน

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.33 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเมื่อ เย็นวันศุกร์ที่ระดับ 33.28 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากมีความกังวลต่อ สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง, สถานการณ์โควิด-19 ในจีนที่อาจมีการล็อกดาวน์ประเทศอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ การฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวของไทย รวมถึงสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน

"บาทอ่อนค่าต่อเนื่องจากเย็นวันศุกร์จากความกังวลเรื่องราคาน้ำมัน สถานการณ์โควิด-19 ในจีนที่อาจมีการล็อกดาวน์อีกซึ่ง จะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวด้านท่องเที่ยว และการสู้รบในยูเครน" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.25 - 33.50 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (11 มี.ค.) อยู่ที่ระดับ 0.44403% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 0.63386%

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.57 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 117.00 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0924 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0965 ดอลลาร์/ยูโร
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.225 บาท/ดอลลาร์
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย (KTB) ประเมินผลกระทบความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนหลัก
ต่อเศรษฐกิจไทยว่า หากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อหนุนให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงเกิน 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลต่อเนื่อง
ตลอดทั้งเดือน มี.ค. เพียง 1 เดือน ก่อนที่สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวใกล้เคียงกับมุมมองเดิมที่
3.8% และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ หนุนราคาน้ำมันเพิ่มสูงต่อเนื่องไปจนถึงเดือน มิ.ย.-ก.ค. อาจทำให้เศรษฐกิจปรับลงมาอยู่ที่ระดับ 3%
แต่หากลากยาวถึง 6 เดือนหลังจากนี้ โอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่า 3% ค่อนข้างสูง
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีความกังวลว่าไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด
(stagflation) เพราะผลกระทบจากราคาน้ำมันตลาดโลกที่สูงขึ้น อาจทำให้เศรษฐกิจไทยถดถอย อัตราว่างงานสูงขึ้น ความต้องการ
สินค้าและบริการลดลง และเกิดภาวะเงินฝืดได้ว่า เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแล้ว พบว่า โอกาสที่จะเกิดในไทยน้อยมาก
แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปัจจุบันสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลก แต่คาดว่าในระยะต่อไปราคาน้ำมันจะมีอิทธิพลต่อเงินเฟ้อน้อยลง
ตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน และความตึงตัวด้านอุปทานน้ำมันที่มีแนวโน้มจะคลี่คลาย
พลังงานเร่งหารือพาณิชย์ สรุปมาตรการผสม B100 ในดีเซล 5% ที่จะสิ้นสุด 31 มี.ค.นี้ หลังราคาปาล์มตลาดโลกพุ่ง
และต้องคำนึงถึงการบริโภคก่อน ด้านผู้ผลิตน้ำมันแนะรัฐเลิกผสมบี 100 ในดีเซลเป็นศูนย์ชั่วคราว
กรมสรรพสามิตนัดผู้ผลิตรถยนต์ "เกรทวอลล์-เอ็มจี-ฮอนด้า" ร่วมวงมาตรการส่งเสริม "อีวี" ปักธงขายทันงานมอเตอร์
โชว์ ให้ส่วนลด 3 เด้ง ทั้งภาษีสรรพสามิต อากรนำเข้า และเงินอุดหนุน 7 หมื่น-1.5 แสน คาดรถราคา 9 แสนบาท จะเหลือ 7 แสน
บาท
"พาณิชย์" เผยเวทีการค้าโลกใช้มาตรการสิ่งแวดล้อมกีดกันการนำเข้า "อียู" เอาจริงเริ่มปี 66 บังคับแจ้งข้อมูลปล่อย
ก๊าซในสินค้า แนะทางรอดผู้ส่งออกไทย ใช้โมเดล BCG สร้างจุดขายจากเทรนด์ลดโลกร้อน "นักวิชาการ" แนะหาโอกาสธุรกิจจากการลด
คาร์บอน
รัฐบาลจีนประกาศล็อกดาวน์เมืองเซินเจิ้นเป็นเวลาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดการแพร่ระบาดของโรค
โควิด-19 โดยมาตรการล็อกดาวน์อาจส่งผลให้เกิดภาวะติดขัดด้านการขนส่งและการผลิตในเมืองเซินเจิ้น ซึ่งเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของ
จีนและมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 17.5 ล้านคน
ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนในวันศุกร์ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 59.7 ในเดือนมี.
ค. จากระดับ 62.8 ในเดือนก.พ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอาจอยู่ที่ระดับ 61.4 ในเดือนมี.ค.
นักลงทุนจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 15-16 มี.ค.นี้ โดยนายเจอโรม พา
วเวล ประธานเฟดส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งนี้
นอกจากนี้ ตลาดยังจับตาการประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในปลายสัปดาห์นี้