ผู้เขียน หัวข้อ: SSI วางเป้าปริมาณขายปี 65 เพิ่ม 15% ดันส่งออกยุโรปเพิ่มรับอานิสงส์ราคาพุ่ง  (อ่าน 396 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
SSI วางเป้าปริมาณขายปี 65 เพิ่ม 15% ดันส่งออกยุโรปเพิ่มรับอานิสงส์ราคาพุ่ง

นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) เปิดเผยว่า จากปัจจัยหนุนของภาพรวมปริมาณการใช้เหล็กในประเทศที่เติบโตขึ้น ทำให้บริษัทตั้งเป้าปริมาณขายเหล็กแผ่นรีดร้อนปีนี้เติบโตขึ้น 15% หรือมาอยู่ที่ 1.39 ล้านตัน โดยที่กลุ่มงานก่อสร้างโครงการของภาครัฐยังเป็นกลุ่มที่มีการใช้เหล็กเป็นกลุ่มหลัก รวมถึงบริษัทยังมีการขยายการส่งออกไปยังในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่ราคาเหล็กในปัจจุบันค่อนข้างสูง คาดว่าปริมาณส่งออกเหล็กปีนี้จะเพิ่มเป็น 40,000 ตัน จากปีก่อนอยู่ที่ 10,000 ตัน

จากสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อราคาขายเหล็กที่ปรับตัวขึ้นตาม เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนต่างเป็นประเทศที่มีสินแร่เหล็กที่ใช้ในการผลิตเหล็ก และเป็นผู้ผลิตเหล็กที่มีการส่งออกรายใหญ่ของโลก ทำให้สินแร่เหล็กที่เป็นวัตดุดิบในการผลิตเหล็กขาดแคลน และส่งผลต่อราคาต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น และมีผลตามมาถึงราคาขายเหล็กที่ปรับเพิ่มขึ้นตามมา

ขณะเดียวกันความต้องการใช้เหล็กทั้งโลกในปีนี้ยังคงเพิ่มขึ้นมาต่อเนื่อง ทั้งความต้องการในภูมิภาคเอเชียและยุโรป ซึ่งมีการกลับมาลงทุนในโครงการต่างๆเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากหลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย โดยประเมินว่าความต้องการใช้เหล็กในตลาดโลกปีนี้จะเพิ่มขึ้น 2.2% จากปีก่อน หรือมาอยู่ที่ 1.89 พันล้านตัน จากปีก่อนที่ 1.85 พันล้านตัน ซึ่งประเทศที่มีการใช้เหล็กมากที่สุดยังคงเป็นจีน

อย่างไรก็ตาม จากสถานการ์สงครามรัสเซียและยูเครนที่เกิดขึ้น ทำให้ประเทศในยุโรปไม่สามารถสั่งซื้อเหล็กจากรัสเซียได้ ซึ่งตามปกติยุโรปพึ่งพิงการนำเข้าเหล็กจากรัสเซียเป็นหลัก ทำให้กลุ่มประเทศยุโรปต้องหันมาสั่งซื้อเหล็กจากผู้ผลิตฝั่งเอเชียแทน โดยเฉพาะในอินเดีย ซึ่งทำให้ราคาขายเหล็กจากอินเดียเพิ่มขึ้นมาที่ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน ถือเป็นระดับที่สูงกว่าราคาขายในภูมิภาคเอเชีย เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาเหล็กในท้องตลาดปรับเพิ่มขึ้น แต่ถือว่ายังต่ำกว่าจุดสูงสุดของปีก่อน เพราะไม่ได้เกิดจากปัญหาที่โรงงานผลิตเหล็กที่กลับมาผลิตไม่ทัน เนื่องจากผู้ผลิตได้ปรับตัวหลังเรียนรู้การรับมือจากโควิด-19 ได้ดีแล้ว

สำหรับราคาเหล็กในประเทศไทยมองว่าในช่วงไตรมาส 1/65 คงยังไม่เห็นการปรับขึ้นราคาของผู้ผลิตในประเทศมากนัก เพราะปัจจุบันราคาเหล็กในประเทศปรับขึ้นให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกทั้งเหล็กยังเป็นสินค้าควบคุม ทำให้การปรับขึ้นราคาขายน่าจะทำได้แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่คาดไตรมาส 2/65 จะเห็นราคาขายเหล็กเพิ่มขึ้นสูงเฉลี่ย 20-30% สะท้อนต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือน มี.ค.65 ที่พุ่งขึ้นสูงอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กจะยังคงมีความผันผวนค่อนข้างมากในช่วงนี้ จะเห็นได้จากราคาเหล็กในช่วง 10 วันที่ผ่านมาปรับขึ้นมา 7-8 วัน และลดลง 2 วัน เนื่องจากการเจรจาระหว่างรัสเซียและยูเครนยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งหากได้ข้อยุติอย่างรวดเร็วก็จะทำให้ราคาเหล็กจะกลับมาเป็นไปตามกลไกตลาด และเข้าสู่จุดสมดุล แต่หากสงครามยืดเยื้อออกไปจะส่งผลให้ราคาเหล็กปรับเพิ่มขึ้นไปได้อีก และอาจจะกระทบต่อภาพรวมต้นทุนการก่อสร้างโครงการต่างๆ

ส่วนแนวโน้มความต้องการใช้เหล็กในประเทศในปี 65 มองว่าจะเติบโตขึ้น 5% หรือมาอยู่ที่ 19.6 ล้านตัน โดยมีปัจจัยหนุนมาจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเดินหน้าเร่งผลักดันการลงทุนก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งมีผู้ประกอบการภาคเอกชนเริ่มกลับมาลงทุนโครงการใหม่ๆกันมากขึ้นในปีนี้ ทำให้ความต้องการใช้เหล็กในประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้