ผู้เขียน หัวข้อ: แอสชัวร์ เทคโนโลยี จ่อเปิดตัว PEER.Money แพลตฟอร์ม Non-bank บนโลกเงินดิจิทัล  (อ่าน 408 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • *
  • กระทู้: 861
  • Popular Vote : 0
แอสชัวร์ เทคโนโลยี จ่อเปิดตัว PEER.Money แพลตฟอร์ม Non-bank บนโลกเงินดิจิทัล

นายศิวนัส ยามดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสชัวร์ เทคโนโลยี จำกัด บริษัทผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์เกี่ยวกับบล็อกเชน (Blockchain), คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และฟินเทค (FinTech) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมพัฒนาแอปพลิเคชัน ภายใต้ชื่อว่า PEER.Money หรือ เพียร์ดอทมันนี่ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรับจำนำคริปโทเคอร์เรนซี ด้วยสินเชื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน โดยลูกค้าสามารถนำคริปโทเคอร์เรนซี มาวางค้ำประกันเพื่อแลกเป็นเงินเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ที่ต้องการเงินด่วนบนโลกแห่งความเป็นจริง ทำธุรกรรมบน PICO Chain ซึ่งนับเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน

และในอนาคตวางแผนให้ PEER. Money สามารถขอสินเชื่อได้ ทั้งสินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต เพื่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำรองให้กับบุคคลทั่วไปโดยไม่ผ่านระบบธนาคารแบบเดิม ๆ ทั้งนี้ จึงมั่นใจว่าแอปพลิเคชัน "PEER.Money" จะได้รับกระแสตอบรับที่ดี คาดว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะเสร็จพร้อมเปิดตัวในช่วงเดือน ต.ค.65 นี้

นายศิวนัส กล่าวในฐานะหนึ่งในอดีตผู้ก่อตั้งกระดานเทรดสินทรัพย์ Coin Asset ว่า ได้มีโอกาสกลับเข้าสู่วงการบล็อกเชนอีกครั้ง โดยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แอสชัวร์ เทคโนโลยี ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของบริษัท บอสเวลล์ ดิจิทัล โฮลดิ้ง จำกัด (Boswell Digital Holding Co., Ltd.) ขณะที่การกลับมาในครั้งนี้ ถือเป็นความท้าทายใหม่ที่ตนได้เตรียมความพร้อมเป็นอย่างดีสำหรับธุรกิจใหม่ จากการพัฒนาต่อยอดจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโลกสกุลเงินดิจิทัล

สำหรับแนวโน้มตลาดการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล มีการเติบโตขึ้นมากในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ทางเลือกในการลงทุนสำหรับผู้ที่สนใจถือสินทรัพย์ดิจิทัลภายในประเทศมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แอสชัวร์ เทคโนโลยี จึงเล็งเห็นถึงโอกาสของตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่ยังไม่ได้รับการเติมเต็ม ขณะที่การปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-bank) เป็นการขยายขีดความสามารถเดิมที่เคยมีอยู่ให้กว้างขึ้น เนื่องจากในภาพรวมต้องยอมรับว่าความสามารถในการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อของคนไทยยังทำได้ไม่มากนัก และด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จึงทำให้ความต้องการสินเชื่อในช่วง 3-5 ปี ข้างหน้า น่าจะยังอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งเห็นได้จากกลุ่มอุตสาหกรรม Non-bank ในปัจจุบันที่มีมูลค่าสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ จึงมองเป็นโอกาสที่บริษัทจะเข้ามาทำธุรกิจในอุตสาหกรรมดังกล่าว

"การที่ผมกลับมาครั้งนี้จะกลับไปโตในสังเวียนเดิม คงเป็นไปได้ยาก เพราะทุกวันนี้ ตลาดคริปโทฯ เดิม ขยายตัวไปมาก จึงมาวิเคราะห์ถึงช่องทางและโอกาสการเติบโต และด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีถือว่าก้าวไกลและมีความพร้อม เงินทั่วโลกในระบบสินเชื่อมีมูลค่ามหาศาล จึงเป็นจุดเริ่มต้นสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ในลักษณะ Non-bank โดยเป้าหมายการกลับมาของผมจริง ๆ ในรอบนี้คือ ต้องการสร้างธุรกิจที่เชื่อมโยงโลกคริปโทฯ เข้ากับโลกจริง ๆ ในปัจจุบัน นั่นคือเรื่องสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคล โดยมีการพัฒนาระบบเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อมาเป็นหลักค้ำประกัน (Asset-Backed) สำหรับสินเชื่อดังกล่าวจะสำเร็จได้ ก็ต้องมีผู้ใช้งานและพันธมิตรจำนวนมาก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2-3 ราย" นายศิวนัส กล่าว
ขณะที่ความคืบหน้าคดีความเรื่อง JFin Coin ตนเองไม่ได้นิ่งนอนใจกับเรื่องดังกล่าว ภายหลังจากที่ตนเป็นคนออกมาช่วยผู้เสียหายที่ยังไม่ได้โทเคนคืนและจะดำเนินทุกวิธีการทางด้านกฎหมาย รวมไปถึงได้แสดงความบริสุทธิ์ใจของตนเอง ปัจจุบันได้มีการติดต่อเจรจากับนักลงทุนที่ได้รับความเสียหายและดำเนินการทำข้อตกลงร่วมกันและขอพักชำระหนี้เป็นที่เรียบร้อย รวมถึงการสร้างแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการชดเชยโทเคนที่คงค้างไว้

อนึ่ง บริษัท บอสเวลล์ ดิจิทัล โฮลดิ้ง จำกัด มีเป้าหมายคือการสร้าง Start Up รายต่อไปให้เกิดในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นไปที่ 2 รูปแบบการเติบโต นั่นคือการปลุกปั้นเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นมา เพื่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ ในวงการ และมุ่งหาพาร์ทเนอร์ที่เป็นบริษัท Start Up ในการเข้าไปร่วมพัฒนาและร่วมทุนเพื่อให้เกิดระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ที่แข็งแกร่ง จนปัจจุบันได้ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจไปสู่การส่งเสริมและพร้อมสนับสนุนด้านธุรกิจและเงินทุนแก่ แอสชัวร์ เทคโนโลยี อย่างเป็นทางการ