ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.29 อ่อนค่าน้อยกว่าภูมิภาค หลังศบค.ปรับมาตรการเข้าประเทศหนุนท่องเที่ยว  (อ่าน 414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • *
  • กระทู้: 1,059
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.29 อ่อนค่าน้อยกว่าภูมิภาค หลังศบค.ปรับมาตรการเข้าประเทศหนุนท่องเที่ยว

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.29 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าอยู่ที่ระดับ 33.26 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามทิศทางภูมิภาคและตลาดโลก โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.22 - 33.39 บาท/ดอลลาร์ แต่หลังมีมติผ่อนคลายมาตรการ Test&Go ซึ่งส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวทำให้บาทไม่อ่อนค่าไปมาก ส่วนเรื่องยูเครน นักลงทุนเริ่มชินยกเว้นมีประเด็นใหม่ที่ส่งผลกระทบเข้ามา

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 33.25 - 33.40 บาท/ดอลลาร์ โดยช่วงนี้ต้องจับ ตาดูทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศ

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 118.94 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 118.64 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1062 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1105 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,678.51 จุด ลดลง 3.25 จุด, -0.19% มูลค่าการซื้อขาย 98,135.25 ล้านบาท
สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,435.29 ล้านบาท (SET+MAI)
ศบค.มีมติเห็นชอบให้ปรับมาตรการการเปิดรับผู้เดินเข้าประเทศแบบ Test&Go ซึ่งได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว ไม่ต้องแสดง
ตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ในช่วง 72 ชั่วโมงก่อนเดินทางเข้าประเทศ แต่หลังจากเดินทางเข้ามาแล้วยังคงให้ตรวจ RT-PCR ในวัน
แรก จากนั้นในวันที่ 5 ให้ตรวจแบบ ATK ด้วยตัวเองแล้วแจ้งผลผ่านแอปพลิเคชั่น พร้อมทั้งเตรียมพิจารณาปรับลดวงเงินประกันเพื่อ
กระตุ้นการท่องเที่ยวในจังหวะที่เหมาะสม
คลัง เผยความคืบหน้ามาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศปี 2565 ประกอบด้วย โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้
มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 4, โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง
ระยะที่ 4 มีผู้ใช้สิทธิทุกโครงการรวม 40.85 ล้านราย และมียอดใช้จ่ายรวมทั้งหมด 61,284.74 ล้านบาท
ปลัดคลัง คาดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำเสนอมาตรการบรรเทาภาระประชาชนจากผลกระทบราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น
ให้ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาในวันที่ 22 มี.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้เห็นนโยบายที่ชัดเจนในการช่วยเหลือประชาชนทุกรูปแบบ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมในการใช้นโยบาย
การเงินที่เข้มงวด และส่งสัญญาณถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงนโยบายย่อมทำให้เกิดความเสี่ยง
สำหรับประเทศตลาดเกิดใหม่ ซึ่งต้องพึ่งพาเงินทุนในสกุลดอลลาร์
ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ระบุว่า BOJ ยังไม่เห็นถึงความจำเป็นในการคุมเข้มนโยบายการเงิน เนื่องจากอัตรา
เงินเฟ้อที่ดีดตัวขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์