ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าปรับตัวขึ้นต่อรับแรงหนุนน้ำมันพุ่ง-ศบค.เล็งผ่อนคลายเพิ่ม  (อ่าน 488 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดหุ้นไทย: แนวโน้มดัชนีเช้าปรับตัวขึ้นต่อรับแรงหนุนน้ำมันพุ่ง-ศบค.เล็งผ่อนคลายเพิ่ม

นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสายงานวิเคระห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยเช้านี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่ขึ้นมายืนเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมีการคาดการณ์ว่าอุปทานน้ำมันในตลาดโลกจะเผชิญภาวะตึงตัว หลังจากชาติตะวันตกประกาศคว่ำบาตรรัสเซีย

นอกจากนี้ยังคาดหวังสถานการณ์ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างรัสเซีย และ ยูเครน จะสามารถเจรจาได้โดยเร็ว ในขณะเดียวกันต้องติดตามการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่คาดจะส่งสัญญาณผ่อนคลายมาตรการควบคุมอย่างต่อเนื่อง

แต่อย่างไรก็ตามแนะนำให้ระมัดระวังแรงขายทำกำไรที่จะเกิดขึ้น หลังจากดัชนีปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดมีการปรับตัวขึ้นมาเกือบ 100 จุดแล้ว และในวันนี้ FTSE rebalanceลดน้ำหนักลงทุนหุ้นไทยลงเล็กน้อย

พร้อมให้แนวรับไว้ที่ 1,670-1,675 จุด และแนวต้าน 1,690-1,700 จุด

ประเด็นพิจารณาการลงทุน

ตลาดหุ้นนิวยอร์ก (17 มี.ค.) ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 34,480.76 จุด เพิ่มขึ้น 417.66 จุด หรือ +1.23%, ดัชนี S&P500 ปิดที่ 4,411.67 จุด เพิ่มขึ้น 53.81 จุด หรือ +1.23% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 13,614.78 จุด เพิ่มขึ้น 178.23 จุด หรือ +1.33%
ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดวันนี้ ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 26,649.50 จุด ลดลง 3.39 จุด หรือ -0.01%, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 21,232.88 จุด ลดลง 268.35 จุด หรือ -1.25% และดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 33,207.15 จุด ลดลง 7.89 จุด หรือ -0.25%
ตลาดหุ้นไทยปิดล่าสุด (17 มี.ค.) ที่ระดับ 1,681.76 จุด เพิ่มขึ้น 13.84 จุด, +0.83%
นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 7,281.66 ล้านบาท เมื่อวันที่ 17 มี.ค.65
ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย.(17 มี.ค.) พุ่งขึ้น 7.94 ดอลลาร์ หรือ 8.35% ปิดที่ 102.98 ดอลลาร์/บาร์เรล
ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ปิดล่าสุด (17 มี.ค.) อยู่ที่ 9.53 ดอลลาร์/บาร์เรล
เงินบาทเปิด 33.26 ทรงตัวจากวานนี้ จับตาประชุมศบค.-ทิศทาง Flow-สถานการณ์ยูเครน
"สุพัฒนพงษ์" กางแผนหนุนประเทศไทยก้าวสู่ธุรกิจสีเขียว ลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2045 ภาคครัวเรือน พลังงาน ขนส่ง ย้ำความจำเป็นหลังเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาพุ่ง เพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานทดแทน 50% สร้างความมั่นคงพลังงานดัน "อีวี" ตามแผน 2030 เร่งลงทุนโรงงานแบตเตอรี่ 8 Gwh พร้อมเทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน
"ผู้จัดการตลท." คาดกำไรบจ. ปี 65 เติบโตจากปีก่อน หวังคุมระบาดโควิดได้ดี หนุนทุกกลุ่มอุตสาหกรรมฟื้นตัว แต่มี ปัจจัยเสี่ยงราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกพุ่งกระทบต้นทุน "บล.เอเซีย พลัส" เพิ่มเป้ากำไร เป็น 1.05 ล้านล้าน มองเศรษฐกิจ-น้ำมันพุ่ง เป็นแรงหนุน
"กกพ." เคาะปรับขึ้นค่าเอฟทีงวด พ.ค.-ส.ค.65 ที่ 23.38 สตางค์/หน่วย ส่งผลเรียกเก็บกับประชาชน 4 บาท/หน่วย สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เหตุรับผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาพลังงานพุ่ง แจงแผนบริหารยื้อแบบสุดทาง โยน กฟผ. แบกรับต้นทุน 3.89 หมื่นล้านบาท
กทม.กางแผนเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีเทาช่วง 'วัชรพล-ทองหล่อ' วงเงิน 2.78 หมื่นล้านบาท เปิดทางเอกชนร่วมลงทุน คาดขออนุมัติโครงการปี 66 เปิดประมูลปี 67-68 เริ่มสร้างปี 69 เปิดให้บริการในปี 73
ส.อ.ท. ชงรัฐเปิดประเทศ ผ่อนปรนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะเกิดรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 6 แสนล้านถึง 1 ล้านล้านบาท
*หุ้นเด่นวันนี้

AP (ฟินันเซีย ไซรัส) "ซื้อ" เป้าหมายจาก FSSIA 13 บาท โมเมนตัมการเติบโตปี 2565 ยังแกร่ง สะท้อนผ่านการเปิดโครงการใหม่รวม 7.8 หมื่นลบ. สูงสุดเป็นประวัติการณ์และเน้นที่แนวราบที่ยังมีแนวโน้มโตดี ปัจจุบันมี Backlog รองรับคาดการณ์รายได้แล้ว 53% คาดกำไรปี 2565 +7% Y-Y ทำ New High ต่อเนื่อง ส่วน Valuation ปัจจุบันยังถูก เทรด PER เพียง 7 เท่าและจ่ายปันผลปีละครั้ง Yield 5%
BGRIM(เคทีบีเอสที) เป้าเชิงกลยุทธ์ 37.50 บาท รายได้จากการขายไฟจะเพิ่มขึ้น หลังรัฐปรับเพิ่มค่า FT ขึ้นอีกราว 23.38 สตางค์ต่อหน่วย นับตั้งแต่เดือน พ.ค. ตามค่าก๊าซที่เพิ่มขึ้น , ทยอย COD โรงไฟฟ้าใหม่ 5 โครงการ 700 MW ช่วงครึ่งหลังปี 65 และจะได้สัญญาซื้อขายไฟใหม่ (PPA) อีกราว 1000 MW ระหว่างปีติดตามการ M&A ประเมินกำไรสุทธิปี 2022-2023 ที่ 2.6 พัน ลบ. และ 3.27 พัน ลบ. +15%YoY, 25%YoY ตามลำดับ
MINT (เมย์แบงก์) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 37 บาท คาดการณ์กำไรปีนี้ขยายตัวสู่ระดับ 1.6 พันล้านบาท จากปี 64 ที่ขาดทุนกว่า 9.5 พันล้านบาท โดยมีปัจจัยหนุนจากธุรกิจโรงแรมในยุโรปที่ฟื้นตัวเด่น คาดอัตราการเข้าพักเพิ่มเป็น 54% จาก 36% ในปี 64 และคาดราคาห้องพักเฉลี่ยเพิ่ม 2% ผสานการผ่อนคลายมาตรการในประเทศเป็นแรงหนุนเพิ่มเติม