ผู้เขียน หัวข้อ: ซื้อรถหนึ่งคัน ต้องเสียภาษีเท่าไหร (เค้าเล่าให้ฝัง)  (อ่าน 2133 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ricer

  • *
  • กระทู้: 837
  • Popular Vote : 2
  • PMP (Poor Man's Porsche) เห็นตูดปอร์ชอยู่ไวๆ
เห็นว่าอาจจะมีประโยชน์เลยเอามาให้อ่านเล่นๆกันครับ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องใดช่วยแนะนำได้นะครับ

ขอบคุณ http://www.mercedesmania.com/forum/index.php/topic,69895.0.html ที่ให้ยืมข้อมูลมานะครับ

กรณี ที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
       
     การคิดภาษีสำหรับรถนำเข้านั้น จะคิดจากราคา CIF (Cost + Insurance + Freight) ซึ่งก็คือ ราคาขายของรถ บวกด้วยค่าอากร ค่าประกันภัย และค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรื่อที่ประเทศไทย ราคา CIF นี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารการนำเข้า ในที่นี้สมมติให้ราคา CIF เท่ากับ 100 บาท ภาษีที่ต้องจ่ายจะประกอบไปด้วย
     
       1. อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศในอัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท
     
       2. ภาษีสรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะทำการเก็บภาษีนี้ พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูกเก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ (ดูตารางการคำนวณภาษีประกอบ) เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30%ของราคา CIF รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บที่เรียกว่า “ฝังใน” คือ

                        = {(100+80)x30%} 
                            1 –(1.1x30%)       
                               

       3. ภาษีมหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
     
       4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย
     
       ซึ่งเมื่อรวมภาษีทั้ง 4 ชนิดเข้าด้วยกันแล้ว จากราคารถสมมุติที่ 100 บาทจะกลายเป็น 287.5-428.0 บาท(ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้ยังไม่รวมอัตรากำไร และค่าดำเนินการอื่นๆ ของบริษัทผู้จำหน่าย ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นรถราคา 1 ล้านในเมืองนอกมาขายที่บ้านเราในราคา 3-4 ล้านบาท เพราะภาระภาษีมันสูงเช่นนี้นี่เอง

กรณี ที่ 2 รถที่ผลิตในประเทศไทย
     
       ผู้ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ ซึ่งปริมาณและสัดส่วนการนำเข้า มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทผู้ผลิต โดยรถแต่ละรุ่นภาระภาษีของผู้ผลิตจะมีความแตกต่างจากการนำเข้ารถทั้งคัน ดังนี้
     
       1. อากรขาเข้า จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด หรือพิกัดของชิ้นส่วนนั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของราคา CIF ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษีในส่วนนี้
     
       2. ภาษีสรรพสามิต จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ โดยคำนวณจากราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า 76% ของราคาขายปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2000 ซีซี) ก็จะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ 76 บาท มาคำนวณตามสูตร “ฝังใน” เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต
     
       3. ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย
     
       4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็น ผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1 สมมุติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่ 80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาทและภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีกเท่ากับ 201.9 บาท หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70% ของราคาขายปลีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูงตาม

       ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท หมายความว่า เราได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท

       ในขณะที่ภาษีรวมของรถนำเข้าจะคิดจากราคาขายปลีกไม่ได้เพราะยังไม่ได้รวมกำไร และค่าดำเนินการของผู้นำเข้า ฉะนั้นต้องคิดจากราคาทุน ซึ่งจะมูลค่าภาษีอยู่ที่ประมาณ 200-300 % ของราคาต้นทุน ตัวอย่าง เช่น ถ้ารถราคา 1 ล้านบาทในต่างประเทศ เมื่อนำเข้ามาขายที่เมืองไทย ต้องเสียภาษีรวมประมาณ 2 ล้านบาท ดังนั้น ผู้นำเข้าจึงต้องขายที่ราคา 3 ล้านขึ้นไปเพราะต้นทุนภาระภาษีที่สูงนี่เอง เพียงเท่านี้พอจะทำให้เข้าใจกันได้ว่า ทำไมเราถึงต้องซื้อรถที่แพงกว่าประเทศอื่นๆ อย่างมากมาย


Credit: www.pattanakit.net

กรณี ที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ

Cheapest Mercedes from MB-UK price at 28,000 Pound or 1.176 Million Baht

1.   Cost of Importing
      Cost = 1.176 M
      Insurance + Freight = 0.2 M
      CIF = 1.176 M + 0.2 M = 1.376 M

2.  อากรขาเข้า
     80% Tax of CIF
     = 1.376M*(0.8) = 1.1008 M

3.  ภาษีสรรพสามิต
     30% of CIF
     = 1.376M * (0.3) = 0.4128 M

4.  ภาษีมหาดไทย
    10 % of  ภาษีสรรพสามิต
    = 0.4128 * 0.1 = 0.04128 M

5.  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย
    = 7% of ( 1.376 + 1.1008 + 0.4128 + 0.04128 ) = 0.07 * 2.93088 M  = 0.2051616 M

6. Total = 1 + 2 + 3 + 4 + 5 = 3.136 M

So total price of IMPORTED E-CLASS lowest option is about 3.136 M baht

**ราคาที่ยกมาเป็นตัวเลขประมาณการ**
*** ฟอรั่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้ ***
All boxer engines, regardless of no. of cylinders, provide perfect balance because the movement of a piston is exactly counter by the corresponding piston in another bank...the usage is limited to Porsche and Subaru today.    However, we'll have a Toyobaru soon???

ออฟไลน์ SuBie NewBie

  • I <3 スバル !
  • *
  • กระทู้: 904
  • Popular Vote : 1
  • G37 Coupe / NISMO 350Z
    • อีเมล์
40% for domestically assembled cars is absurd!!!  emo51o
Z Z Z Z Z Z

ออฟไลน์ SnoozEviL

  • *
  • กระทู้: 415
  • Popular Vote : 5
  • ลัทธิสุขนิยม
ประมาณนี้แหละคับ เพื่อนผมเอารถใช้เองตอนอยู่เมืองนอกกลับมา ถูกก่าพอสมควร แต่ถ้าปกติแล้วก็ราคายังงี้เลย น่ากลัวโดยแท้
...รุ่น..ใหญ่...ใจ..ต้อง..นิ่ง...