มีรถจดประกอบ หัวตัด อะไหล่ = คนซื้อมีทางเลือกเพิ่ม คนมีงานทำเพิ่ม รายได้เข้ารัฐเพิ่ม คนกลุ่มเล็กๆไม่พอใจ
ยกเลิกรถจดประกอบ หัวตัด อะไหล่ = เอาใจคนกลุ่มเล็กๆที่เสียผลประโยชน์ แต่แค่เป็นพวกตัวเอง[/size]
อีกหน่อยรถพัง จะเอาอะไหล่ที่ไหน ของใหม่อย่างเดียว หรือพังเเล้วทิ้งเลย
Evo กับ Subaru สั่งหัวสับของ ก็หมดสิทธิ์ครับ เเย่จังเเบบนี้
จากที่ทราบมา ตอนนี้มีมติ ครม. ถึงกระทรวงพาณิชย์ ให้ห้ามนำเข้าตัวถังเก่าใช้แล้วทั้งรถยนต์และมอไซค์ รวมไปถึงอะไหล่เก่าด้วย เหลือแค่เพียงเครื่องยนต์เก่าเท่านั้นที่สามารถเอาเข้าได้
จะว่าไปตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้ว การอนุญาติให้นำเข้าโครงรถยนต์, มอเตอร์ไซค์และอะไหล่เก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ จะทำให้ประชาชนได้ใช้รถในราคาถูกลง ทั้งที่เป็นผลกระทบทางตรงโดยการซื้อรถประเภทนี้ และผลกระทบทางอ้อมจากการแข่งขันที่สูงขึ้นที่จะบังคับให้ผู้นำเข้าหรือประกอบรถยนต์ภายในประเทศต้องทำราคาที่ถูกลงให้ได้เพื่อรักษาศักยภาพทางการแข่งขัน และในทางเดียวกัน สำหรับอะไหล่เก่าที่ใช้แล้ว การอนุญาติให้นำเข้าได้อย่างอิสระ ก็จะทำให้ประชาชนทั้งหมดซ่อมรถได้ในราคาถูกลงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ซื้ออะไหล่มือสองตรงนี้หรือผู้ที่ซื้ออะไหล่มือหนึ่งจากศูนย์ ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
นอกจากนั้นแล้วปรากฏการณ์เช่นนี้ก็จะทำให้คุณภาพของอะไหล่ทั้งหมดในตลาดดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเมื่อมีอะไหล่เก่าจากต่างประเทศเป็นตัวเลือก หนทางเดียวที่อะไหล่ใหม่หรืออะไหล่เก่าในประเทศจะขายได้ราคาเหมือนเดิม ก็คือต้องมีการคัดมากกว่าเดิม มีคุณภาพมากกว่าเดิม ตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ส่วนเหตุผลที่บอกว่ารถที่ประกอบจะไม่ได้มาตรฐานนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วย เพราะเมื่อมีการเปิดเสรีตรงนี้ จำนวนผู้นำเข้าและประกอบรถก็จะมีมากขึ้น เมื่อจำนวนมีมากขึ้น การแข่งขันก็จะมีสูงขึ้น เมื่อการแข่งขันสูงขึ้น ผู้บริโภคก็ได้สินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาที่เท่าเดิมหรืออาจจะน้อยลง นี่คือเสน่ห์ของ Free Economy
ดังนั้นไม่ว่าจะมองจากมุมไหน ก็จะเห็นได้ว่าการนำเข้าอะไหล่หรือชิ้นส่วนรถยนต์นั้นเป็นการสร้างเสริมประสิทธิภาพของตัวตลาดเอง ไม่เห็นจะต้องมีข้อวิตกอะไร คนเดียวที่จะเสียผลประโยชน์จริงๆจากในกรณีนี้ ก็คือพวกพ่อค้าที่อาศัยกฏหมายหาเงินให้กับตัวเอง หวาดกลัว free economy เข้าไส้ ซึ่งตรงนี้มั่นใจเหลือเกินว่าหากข้อมูลนี้ได้ถูกเผยออกไปสู่สาธารณะมากขึ้น ก็จะย่อมมีแรงต้านมากขึ้นแน่นอน เพราะประชาชนเสียประโยชน์โดยตรง ประโยชน์ทั้งหมดไปตกลงที่นายทุน ที่อาศัยอยู่ในชายคาของกฏหมายตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมานี้...
อัตราภาษีการนำเข้าสินค้า ( อันนี้ใช้งานอยู่ด้วย เลยอเามาลงให้ดูกัน)
1.โค, กระบือมีชีวิต อัตราอากร 5% และไม่เกิน 200 บาทต่อตัวไม่ว่าจะมีราคาเท่าใด
2.สุกรมีชีวิต 10%
3.แพะ,แกะ มีชีวิต 30%
4.ไก่, เป็ด, ห่าน มีชีวิต 30%
5.แมว,สุนัข มีชีวิต 30%
6.เนื้อสัตว์จำพวกโค,กระบือ 50%
7.เนื้อหมู 30 – 40%
8.ปลาเลี้ยงสวยงาม 30% ถ้านำเข้าทางด่านฯที่ไม่ใช่สนามบิน 5%
9.ปลาสดหรือแช่เย็น 5%
10.ปลาแห้งหรือแช่เกลือ 5%
11.ปู, กุ้ง, หอย 5%
12.นมและครีม 40%
13.นมผงใช้เลี้ยงทารก 18%
14.เนย, เนยแข็ง 30%
15.ไข่ไก่, ไข่เป็ด 27%
16.น้ำผึ้ง 30%
17.ผมคน 1%
18.เขี้ยวและงาสัตว์ 30%
19.เปลือกหอย 30%
20.แมลงวันสเปน 30%
21.ชะมดเชียง 30%
22.หัว, หน่อ, แขนงของพืช 30%
23.ต้นไม้ 30%
24.ดอกไม้ 54%
25.มันฝรั่งสด, แช่เย็น 60% หรือ กก.ละ 6.25 บาท
26.มะเขือเทศ 40%
27.หอม, หอมแดง, กระเทียม 60% หรือ กก.ละ 6.25 บาท
28.มะพร้าว 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
29.กล้วย 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
30.องุ่น 30% หรือ กก.ละ 25 บาท
31.แอปเปิ้ล 10% หรือ กก.ละ 3 บาท
32.กีวี 40% หรือ กก.ละ 33.50 บาท
33.เมล็ดกาแฟ 40% หรือ กก.ละ 4 บาท
34.ชา 60%
35.ชาปรุงกลิ่น, ชามาเต้ 30%
36.ไส้กรอก 30%
37.หมากฝรั่ง 30%
38.ลูกกวาด 30%
39.ช็อกโกแลต 10%
40.โอวัลติน 5%
41.พาสต้า, สปาเก็ตตี้ 30%
42.คอร์นแฟล็ก 20%
43.ขนมปัง 30%
44.บิสกิต, แวฟเฟิล, เวเฟอร์ 20%
45.เนสกาแฟ 60%
46.คอฟฟี่เมท 5%
47.ซอสถั่วเหลือง 30%
48.ซอสมะเขือเทศ 30%
49.ซอสพริก 5%
50.กะปิ, น้ำปลา 5%
51.ไอศกรีม 30%
52.น้ำอัดลม 30%
53.ไวน์ 60%
54.สุรา 60%
55.น้ำส้มสายชู 60%
56.อาหารสัตว์ 9%
57.บุหรี่ 60%
58.เกลือ 10%
59.น้ำทะเล 10%
60.ทรายธรรมชาติ ยกเว้นอากร
61.สินแร่ 1%
62.น้ำมันดีเซล, เบนซิน 0.01 บาทต่อลิตร
63.พลังงานไฟฟ้า ยกเว้นอากร
64.ยารักษาและป้องกันโรค 10%
65.ปุ๋ยอินทรีย์ ยกเว้นอากร
66.ปุ๋ยเคมี 5%
67.สบู่ 10%
68.ยาขัดเงา, ขัดรองเท้า 10%
69.เครื่องสำอาง 40%
70.แชมพู, ครีมโกนหนวด 20%
71.ยาสีฟัน 20%
72.ไหมขัดฟัน 10%
73.น้ำหอม 40%
74.ระเบิด 20%
75.ดอกไม้ไฟ, ไม้ขีดไฟ 20%
76.ฟิล์มภาพยนตร์ที่ถ่ายแล้ว 10 บาทต่อเมตร
77.ถุงยางคุมกำเนิด 10%
78.กระเป๋าถือ, กระเป๋านักเรียน, กระเป๋าเดินทาง 40%
79.ไม้ซุง, ไม้แปรรูป 1%
80.หน้าต่าง, ประตู, เสาบ้าน 30%
81.กระดาษคาร์บอน ยกเว้นอากร
82.ซองจดหมาย 10%
83.กระดาษชำระ, กระดาษผ้าอ้อม 10%
84.สมุดบัญชี, สมุดบันทึก 10%
85.หนังสือพิมพ์เป็นเล่ม ยกเว้นอากร
86.หนังสือพิมพ์, วารสาร ยกเว้นอากร
87.แผนที่, ลูกโลก ยกเว้นอากร
88.แสตมป์ใหม่, ธนบัตร ยกเว้นอากร
89.พรม 30% หรือ 21 บาทต่อ กก.
90.ผ้าทอเป็นผืน 5% หรือ 3.75 ต่อ กก.
91.ผ้าถักเป็นผืน 5% หรือ 4 บาทต่อ กก.
92.เสื้อ, กางเกง, กระโปรง ผ้าถัก 30%
93.เสื้อ, กางเกง, กระโปรง ผ้าทอ 60%
94.เสื้อยืด 30%
95.ยกทรง 60%
96.ผ้าห่ม 30%
97.ผ้าปูโต๊ะ, ปูเตียง 30%
98.ผ้าใบ 30%
99.รองเท้ากีฬา 30%
100.รองเท้าอื่นๆ 40%
101.หมวก 30%
102.ร่ม 30%
103.วิกผม 30%
104.เพชรเจียระไน ยกเว้นอากร
105.แหวนเพชร 20%
106.เครื่องยนต์รถ, เรือ 10%
107.เครื่องปรับอากาศ 10%
108.เครื่องดับเพลิง 5%
109.รอก, เครื่องผ่อนแรง 5%
110.ปั้นจั่น 5%
111.ลิฟท์ 10%
112.บูลโดเซอร์ 5%
113.เครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร 5%
114.เครื่องรีดนม 1%
115.เครื่องพิมพ์ ยกเว้นอากร
116.เครื่องทอผ้า 5%
117.เครื่องซักผ้า 30%
118.คอมพิวเตอร์ ยกเว้นอากร
119.โรลเลอร์, แบริ่ง 1%
120.มอเตอร์ 10%
121.เครื่องกำเนิดไฟฟ้า 10%
122.หม้อแปลงไฟฟ้า 10%
123.แบตเตอรี่ 10%
124.ไมโครโฟน, ลำโพง 10%
125.เครื่องขยายเสียง 10%
126.โปรเจคเตอร์ 20%
127.เครื่องรับโทรทัศน์ 20%
128.ตัวเก็บประจุ, ตัวต้านทานไฟฟ้า ยกเว้นอากร
129.กล้องวิดีโอ 3%
130.กล้องถ่ายรูปดิจิตอล 3%
131.กล้องถ่ายรูปใช้ฟิล์ม 5%
132.รถไฟ 1%
133.รถแทรกเตอร์ 5%
134.รถยนต์ 80%
135.รถโกคาร์ต 80%
136.รถพยาบาล 10%
137.รถบรรทุก 40%
138.รถดับเพลิง 10%
139.รถถัง ยกเว้นอากร
140.รถจักรยานยนต์ 60%
141.รถจักรยาน 30%
142.บอลลูน 1%
143.เครื่องบิน ยกเว้นอากร
144.ร่มชูชีพ 5%
145.เรือโดยสาร 10%
146.เรือยอชต์ ยกเว้นอากร
147.แว่นตา 5%
148.กล้องจุลทรรศน์ 3%
149.เข็มทิศ 3%
150.เทอร์โมมิเตอร์ ยกเว้นอากร
151.แท็กซี่มิเตอร์ 10%
152.นาฬิกาข้อมือ 5%
153.นาฬิกาแขวน 20%
154.เครื่องดนตรี 10%
155.ปืนใหญ่ ยกเว้นอากร
156.ปืนพก 30%
157.ที่นั่ง (เก้าอี้) 20%
158.เฟอร์นิเจอร์ 20%
159.อาคารสำเร็จรูป 20%
160.ตุ๊กตาและของเล่น 20%
161.วิดีโอเกม 20%
162.โบว์ลิ่ง 20%
163.ม้าหมุน, ชิงช้า 20%
164.ไม้กวาด 20%
165.ปากกา 5%
166.ดินสอ 20%
167.กล้องซิการ์, กล้องยาเส้น 20%
168.หุ่นโชว์ 20%
169.แสตมป์สะสม 20%
170.โบราณวัตถุที่อายุเกิน 100 ปี ยกเว้นอากร