ขออนุญาตเอาบทความของอาจารย์ตุ๋ยมาให้อ่านนะครับ
ระบบ Anti-lag และอื่นๆ
บทความนี้ มีประโยชน์ มากๆคับ จาก จารย์ ตุ๋ย กระทิงแดง จุนเนอร์ และนักแข่งแรลลี่ชื่อดังคับ
วงการมอเตอร์สปอร์ตเหมื่อนวงการโทรมือถือหรือคอมพิวเตอร์แหละครับ หยุดวันไหน ล้าหลังทันที มีอยู่ช่วงหนึ่งชอบทำรีสอร์ท ไปมั่วอยุ่ไม่ถึงปี กลับมากอีกที เค้าไปดาวอังคารกันแล้ว แต่ก็ใช้เวลาไม่นานครับ กลับมาเหมื่อนเดิมได้ถ้าหาความรู้ ไม่ปิดกั้นความคิดและยึดติด ส่วนใหญ่คนเรามักจะยึดติดกับความรู้เก่าๆที่ได้เรียนมา
อันนี้ความเข้าใจของผม ผิดถูกไม่รุ้
ครั้งแรกที่รู้จัก antilag ก้หลายปีมาแล้วจำไม่ได้ตอนนั้นอายุประมาณ 20 ขวบ ยังใช้กล่องไม้ขีดอยู่ เห็นรถWRC เค้าดังๆกันเลยลองค้นหาดูบ้าง ก็ไปรู้จักเจ้า วันเวย์วาล์ว อันนั้นก็คือแอนตี้แล็คชนิดแรกๆที่เรารู้จักกัน ทำงานโดยเอาไอดีที่มีกำลังอัดจากท่ออินเตอร์ถูกปล่อยออกโดยโบอ๊อฟ ควบคุมการไหลกลับจากวันเวย์วาล์ว สามารถทำงานได้จริงเทอร์โบรอรอบน้อยลง แต่สั้นมากเพราะต้องรอกำลังอัดจากท่อไอดีหลังจากยกคันเร่งมาปั่นเทอร์ไบด์หลัง ผลที่ได้รับคือการระเบิด เนื่องจากมีอ๊อกซิเจนเข้าไปเติมไอเสียนอกห้องเผาไหม้(ท่อร่วมไอเสีย)
ต่อมาเพียง 1 ปี ก็มีการระเบิดแบบต่อเนื่องเสียงดังมาก มาให้ดูเป็นของใหม่สำหรับตอนนั้น บางค่ายมีไฟออกมายาวและต่อเนื่องมากๆ เช่นทีมฟอร์ด แต่สังเกตุจากรถแล้วไม่ค่อยไปเลย (เข้าใจเอาเองว่าน่าจะเทน้ำมันออกไปเป็นจำนวนมาก ทำให้เครื่องยนต์ตอบสนองช้าลง) อันนี้ก็
antilag เหมื่อนกัน แต่เริ่มต่อเนื่องและยาวขึ้น คนไทยเมื่อก่อนทั้งผมด้วย ชอบอธิบายกันว่าเป็นการจุดระเบิดนอกรอบ ซึ่งที่จริงมันคือการจุดระเบิดการจุดระเบิดหลังศูนย์ตายบน ถ้าคนเชื่อตามที่นักแข่งไทยเล่าให้ฟังสมัยแรกๆแล้วไม่คิดต่อก็คือการจุดระเบิดนอกรอบจริงๆ แต่เมื่อมองจากความเป็นจริงแล้ว จะมีประโยชน์อะไรในการให้หัวเทียนจุดอีกครั้งขณะที่มีการเผ่าไหม้แบบรุนแรงอยุ่แล้ว และจะเป็นไปได้หรือที่จะฉีดน้ำมันเข้าไปเพิ่มขณะที่วาล์วไอดีปิดอยู่ (กรณีจุดครั้งเดียว)
อันนี้แน่นอนก็เป็นระบบ antilag ที่ดีขึ้นสมบูรณ์มากขึ้น โดยการจุดระเบิดหลังศูนย์ตายบนถ้าจะให้มีเสียงดังปังก็ต้องจ่ายน้ำมันลงไปด้วยแต่ให้มีปริมาณที่น้อยไม่ใช่มากน่ะครับ อันนี้ชัดเจนว่ารถพุงไปและตอบสนองดีกว่าเดิมเยอะเมื่อถอนคันเร่งและเร่งใหม่ แต่ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกครับทุกอย่างต้องพัฒนา ต่อไป
ต่อมาคราวนี้ไม่มีเสียงระเบิดแล้วครับมีแต่เสียง ปรื๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่รถพุ่งไปได้ดีกว่าเดิมอีก เดียวมาอธิบายต่อ
ต่อเลย
ต่อมาก้จะได้เห็นว่าระบบ antilag หรือ Boost Enhancement ก็พัฒนาต่อไป แต่ยังคงต้องอยู่ในพื้นฐานเดิม ที่ถูกเปลี่ยนไปหรือเพิ่มขึ้นก็คือ มีใครเลือกว่าจะตัดด้วยน้ำมัน หรือ ตัดด้วยการจุดระเบิด อันนี้แล้วแต่คนจะเลือกผลที่ได้รับแตกต่างกัน (ผมยังเข้าใจไม่ได้ดีเท่าไหร่)
แต่ผมเลือกตัดที่จุดระเบิด เพราะคิดว่าน่าจะปลอดภัยหน่อย
คราวนี้ antilag มีประสิทธิภาพมากขึ้นเนื่องจากกล่องฉลาดขึ้นเรื่อยๆ เราสามารถเปิดลิ้นปีดผีเสื้อให้มากขึ้น เพื่อให้อากาศเข้าห้องเผ่าไหม้ได้มากขึ้น แน่นอนเมื่อเราถอนคันเร่งสุด ยังมีอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์มากและมีการจุดระเบิดหลังศูนย์ตายบนเหมื่อนเดิม การระเบิดย่อมรุนแรงกว่าเดิม แต่รอบเครื่องยนต์ก็จะเร่งสูง รอบเครื่องยนต์จะถูกจัดการโดยการโปรแกรมของจูนเนอร์ให้รอบอยู่ที่เท่าไหร่ โดยการเข้าไปบอกที่ระบบ antilag ของกล่องและจะต้องจัดการเรื่องการจุดระเบิดและการจ่ายน้ำมันรอบเดินเบาช่วยพอสมควร
เริ่มงงเหมื่อนกันจัดลำดับก่อนหลังไม่ค่อยถูกแฮะ ทำความเข้าใจเอาเองน่ะ
คราวนี้เมื่อเราเปิดลิ้นมาก antilag ก็มีประสิทธิ์มากระเบิดขึ้นเสียงดังขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสมบูรณืที่สุด จะต้องMIX เชื้อเพลิงเข้าไปด้วย ให้การจุดระเบิดหลังศูนย์ตายบนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการจ่ายน้ำมันเข้าไปให้พอเหมาะ ถ้าน้อยมีเสียงระเบิดแต่ไม่มีประสิทธิ์ภาพเนื่องจากไม่ต่อเนื่อง ถ้าใส่น้ำมันมากก็จะตอบสนองช้าและไม่มีเสียงอะไรเลย ถ้าพอดีจะมีเสียงดัง "ปรื๊ดๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ" พร้อมกับไอเสียที่มีความร้อนถึง 1200-1400 องศาเซลเซียล สาเหตุที่ทำให้ความร้อนสูงเนื่องมาจากการจุดระเบิดหลังศูนย์ตายบนมากๆ อาจจะมากถึง 60-80 องศา ฉนั้นก็เหลือจังหวะระเบิดแค่ 100-120 องศา ก่อนที่จะถึงจังหวะคาย แน่นอนการเผ่าไหม้ยังไม่ทันหมด วาล์วไอเสียก็เปิดแล้ว ทำให้เราเห็นไฟพ่นออกมาพร้อมกับค่าความร้อนที่ท่อไอเสียที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นเองครับ
ถึงตอนนี้ antilag ก้ยังคงมีการพัฒนาต่อเพียงแต่อยู่ในพื้นฐานเดิม จูนเนอร์ก็ MIX กันไปตามที่ชอบ จะได้ประโยชน์สูงสุดของระบบ antilag หรือไม่ อันนี้ไม่รู้ เพราะบางทีความชอบเสียงระเบิดของลูกค้าก็ทำให้ระบบไม่เต็มประสิทธิภาพเช่นกัน เนื่องจากใบเทอร์บายหมุนไม่ต่อเนื่องอย่างนี้เป้นต้น
เชื่อไหมว่าการใช้ antilag กับการแข่งขันแบบทางตรง (402) ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เร็วขึ้นแต่ทำให้ช้าลงด้วยซ้ำ หรืออาจจะไม่ได้ใช้งานเลยสักครั้งก็เป็นได้ ส่วนให้การขับทางต่อนักขับมักจะไม่ยกคันเร่งกันอยู่แล้ว แล้วantilagจะทำงานได้อย่างไร
เค้าถึงคิดระบบ Gear Change ignition cut ขึ้นมาเพื่อช่วยให้เร็วขึ้นขณะเปลี่ยนเกียร์ หลักการคือตัดรอบเครื่องให้ต่ำลง เท่ากับอัตราทดเกียร์ที่เราต้องการ โดยที่คนขับไม่ต้องยกคันเร่ง แถมด้วยเทอร์โบที่ยังคงบูสสูงสุดอยู่ อันนี้ก็หลักการเดียวกับ antilag นั้นแหละ แตกต่างกันตรงที่ใช้การเหยียบคลัชเป็นตัวสั่งงานว่าเราจะเปลี่ยนเกียร์เมื่อไหร่ เครื่องจะถูกลดรอบลงตามที่เราสั่งงานไว้ ที่ยังคงบูสอยู่เนื่องจาก เรายังเหยียบคันเร่งอยู่ 100% พร้อมกับที่กล่องสั่งให้จุดระเบิดที่หลังศูนย์ตายบนมากๆ เมื่อเราปล่อยคลัชระบบก็จะถูกตัดออกเท่านั้นเอง
การออกตัวที่มีประสิทธิ์ภาพเราก็ใช้หลัการเดียวกันแต่เปลี่ยนชื่อเป็น Dual RPM หรือ MissFiring อันนี้เอาไว้ช่วยตอนออกตัว สามารถมีบูสมารอได้เช่นกัน ถ้ารู้จักปรับแต่งให้ดี
Dual RPM เรียกง่ายว่า ล็อครอบออกตัวก็แล้วกัน เมื่อเราบอกกล่องว่าเราจะเริ่มใช้งาน กล่องก็จะตัดรอบตามที่เรากำหนด การตัดรอบก็ทำได้หลายวิธีเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหรือไฟ แต่ยังคงใช้หลักการของ antilag ในการทำให้มีการบูสเกิดขึ้นโดยไม่มีโหลดได้เช่นกัน