Article > Article

วิธีฝึกขับรถบนถนน (โดย จารย์อั๋น)

(1/3) > >>

ValenDear:
การฝึกขับบนท้องถนน

เบรค
วิธีฝึกก็คือ เราจะต้องคุมน้ำหนักเบรค ให้หัวทิ่มเท่าเดิมตลอด ตั้งแต่เริ่มเบรค จนถึงตอนที่รถเกือบจะหยุด จะต้องค่อยๆคลาย ให้หัวทิ่มน้อยลงอย่างต่อเนื่อง จนหัวไม่ทิ่มเลยตอนที่รถหยุดพอดี
ที่จะยากก็คือ
๑. เราจะต้องเบรค แรง/เบา ขนาดไหน ถึงจะได้ระยะเบรคที่พอดี กับความหัวทิ่มที่จะต้องคงที่ตลอด คือ ไม่ทิ่มน้อยลง หรือ มากขึ้น จนกว่าจะถึงจุดที่เกือบจะหยุด
๒. พอความเร็วเริ่มลดลง ด้วยน้ำหนักเบรคเท่าเดิม หัวมันจะทิ่มมากขึ้น ดังนั้น เราจะต้องปรับน้ำหนักเบรคให้น้อยลง ถึงจะทำให้หัวทิ่มเท่าเดิมได้
๓. ตอนที่ค่อยๆลดน้ำหนักเบรคก่อนจะหยุด จะค่อนข้างคุมยาก เพราะต้องให้หัวค่อยๆทิ่มน้อยลงเรื่อยๆ
ผลทางตรงของการฝึกอันนี้ คือ การที่เราจะสามารถคุมเบรคได้ดีขึ้น ถ้าคนที่อยากจะไปวิ่งในสนาม ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก และ คนที่นั่งด้วย ก็จะนั่งสบายแน่ๆ  แต่ก็ยังได้ผลทางอ้อมอื่นๆ เช่น การรับรู้เรื่องของ G-Force ที่เกิดขึ้นจากการเบรค และ สามารถปรับน้ำหนักของเท้า ตามแรง G-Force ที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สามารถคุมน้ำหนักการเบรค ให้ได้แรง G-Force ตามที่ต้องการ

Engine Break ที่มิทพูด พี่เคยได้ยินมาสองแบบ ที่ต่างกัน แต่ไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว เรียกเหมือนกันหรือเปล่า
๑. แบบแรก คืออย่างที่มิทพูด ปล่อยคลัทช์ ในช่วงที่รอบเครื่องมันน้อยกว่าที่ควรจะเป็น พอคลัทช์เริ่มจับ มันก็จะดึงรถให้ช้าลง ผมว่า ที่เค้าไม่ทำ เพราะว่า ถ้าเบรคสุดจริงๆ แล้วทำ มันอาจจะทำให้ล้อล๊อกได้ ควบคุมยาก หรือถ้าค่อยๆปล่อย ก็เปลืองคลัทช์
๒. แบบสอง ที่นิชิเค้าใช้ตลอด คือการทำ heel&toe ให้ไปจบในรอบสูงๆ ทำให้เครื่องมีแรงฉุดมากกว่า เหมือนกับ สมมุติว่าเราวิ่งเกียร์สามที่สองพันรอบ แล้วยกคันเร่ง อันนี้คือมี engine brake น้อย กับ ถ้าวิ่งเกียร์สามที่เจ็ดพันรอบ แล้วยกคันเร่ง อันนี้คือ engine brake เยอะ อันนี้เค้าทำ เพราะว่า ช่วยลดภาระของเบรค และ วิธีนี้ จะกะน้ำหนักได้ง่ายกว่า เพราะว่ามันจะไม่ได้ดึงหนัก แต่ค่อยดึง สามารถปรับตัวได้ทัน ด้วยการปรับน้ำหนักเบรค ให้ได้ G-Force ที่คงที่
   
"การเบรคบนลูกกระเด้ง" ต่อเลยละกันนะครับ
ไอ้ลูกกระเด้งเนี่ย เรามักเจอตามซอย หรือทางเข้าสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า หรือ ตึกที่ทำงาน ฯลฯ
หน้าที่ของมัน คือ ดักความเร็ว  ทำให้รถที่วิ่งมาต้องเบรค หรือ ชะลอความเร็วลง เพื่อความปลอดภัยของผู้ที่ต้องใช้ทางร่วมกับรถ
ทีนี้ ไอ้เจ้าลูกกระเด้งเนี่ย มันน่ารำคาญอยู่ซะหน่อย  คือ ถ้าเจอไม่เยอะ  เราคงไม่รู้สึก แต่ในบางสถานที่ โอ้โห  เจอถี่เกินไปนี่ เป็นเรื่อง
คือระยะทาง 50 เมตร บางที่มีไอ้ลูกระเด้ง5-6จุด  กว่าจะผ่านไปได้ ต้องช้าสุดๆ เกิดใจร้อน อยากรีบไป ต้อง"รูด"  อาจมีเหตุให้ต้องซ่อมล้อ/ช่วงล่างกันได้

วิธีผ่านลูกกระเด้ง ให้ได้ความเร็วพอควร และไม่ทำลายล้อ+ยาง/ช่วงล่าง มันพอมีครับ  หลักการก็คล้ายๆกับการผ่านคอสะพานนี่หละ
คือต้องใช้วิธี"เล่น"กับน้ำหนักเบรคกันหน่อย     
     สเตปแรก            มองให้ขาดก่อนว่า  ขนาดและรูปร่างของลูกกระเด้ง เป็นแบบไหน  ถ้ากลมๆ ไม่สูงมาก    อันนี้ผ่านได้เลย ไม่ต้องเบากันมากหรือเป็นแบบ ทั้งชัน ทั้งเหลี่ยม  อ่ะ  อันนี้ต้องมีการเตรียมการกันนิดนึง   ก็คงเป็นหลักๆแค่สองแบบนี้หละ
    สเตปที่สอง           เริ่มเล่นกับเบรค   พอใกล้ถึงลูกกระเด้งปั๊บ  เราไม่ต้องเบรคหนักมากครับ เบรคให้พอชะลอความเร็วลงก่อนเป็นอย่างแรกอย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วใช่มั้ยครับ ว่า เวลาเบรค น้ำหนักรถมาอยู่ด้านหน้า ช๊อคอับหน้า ยุบตัวลง  คือ ถ้าเบรคมาก-ยุบมาก
เบรคน้อย-ยุบน้อย  ลองนึกภาพตามกันดูนะครับ
    สเตปสาม             พอเริ่มแตะลูกกระเด้ง  น้ำหนักเบรคของเรายังไม่เปลี่ยนครับ  คือยังไม่เบรคหนักมาก เบรคเท่าเดิม ตามสเตปสองนี่หละแต่พอรถเริ่มไต่ขึ้นนี่หละครับ สำคัญเลยทีเดียว เพราะเราจะเล่นกับระยะยุบของช๊อคอับกันแถวๆนี้หละ 
     กล่าวคือ เมื่อถึงจุดสูงสุดของลูกกระเด้ง  ถ้าเราไม่คุมด้วยเบรค  ช๊อคอับจะดีดรถขึ้นอย่างแรง  ทำให้เกิดอาการ"กระเด้ง"ตามชื่อกันไป
     วิธีทำคือ   เมื่อถึงจุดนั้น(จุดสูงสุด) ให้เพิ่มน้ำหนักเบรค สู้กับการดีดของช๊อคอับครับ     อ่า...... งงกันหรือเปล่า ลองนึกภาพตาม   ถ้าไม่เบรคเลย    รถวิ่งผ่าน   กระแทกลูกกระเด้ง ช๊อคยุบก่อน  พอขึ้นจุดสูงสุด ช๊อคดีดแรง  ผลคือ "กระเด้ง"
    เล่นกับเบรค     รถวิ่งผ่าน เบรคก่อนให้ช๊อคยุบเล็กน้อย  พอขึ้นจุดสูงสุด  เพิ่มน้ำหนักเบรค ไม่ให้ช๊อคดีดมาก  ผลคือ "นุ่มๆ"
    สเตปสี่   ขาลง   อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้ขาขึ้นครับ  เพราะอะไร?    ตอนที่จะลง  ช๊อคก็ทำงานเร็วเช่นกัน ถ้าไม่คุมด้วยน้ำหนักเบรคเอาไว้
    นึกภาพครับ(อีกแล้ว) ไม่เบรคเลย  รถกระเด้งตั้งแต่ขาขึ้น ไปถึงจุดสูงสุด ช๊อคดีดขึ้นสุด  แล้วตกลงมาอีกฝั่งของลูกกระเด้งช๊อคยุบสุดอีกที  โอ้โห ถ้าไม่ช้าจริงๆ  คนที่นั่งมาด้วยมีหันมาแบ๊คแฮนด์แน่นอน
    ถ้าทำตามสามสเตปแรก  คือคุมน้ำหนักเบรคมาตลอด หลังจากสุดสูงสุด ช๊อคยุบ  ขาลง เราค่อยๆคลายเบรค  คือค่อยๆคุมระยะดีดของช๊อคอับ ไม่ให้ดีดแรงนั่นเอง เราก็ลงจากลูกกระเด้งได้อย่างสง่างาม เอ๊ย!! นุ่มนวล   
    เสร็จขั้นตอนล้อหน้า  ทำซ้ำที่ล้อหลังได้อีกด้วย   ทีนี้ เราก็สามารถผ่านลูกกระเด้งได้อย่างสบายๆ ถ้าทำเนียนๆ คนนั่งไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราผ่านมาตอนไหน



LFB (Left Foot Breaking)
ไอ้ผมนี่ไม่รู้เป็นยังไง นึกออกทีไร ไม่พ้นเรื่องเบรค(อีกแล้ว) อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ
ที่ผ่านๆมา ผมเคยพูดถึง seemless transition ถ้าจำไม่ได้ ลองย้อนกลับไปอ่านดูก่อน  เรื่องของการบาลานซ์รถให้ไม่มีอาการ เวลาเปลี่ยนจากเบรคมาคันเร่ง
ผมพูดถึง LFB Left-foot brake ไว้นิดหน่อย  วันนี้เลยเอามาเล่าให้ฟัง
เรื่องของเรื่อง ไอ้ LFB เนี่ย ถ้าทำได้ มันจะเหมาะกับรถรุ่นใหม่ๆในอนาคต ที่เป็นเกียร์แบบ semi-auto เปลี่ยนเกียร์กันบนแป้นหลังพวงมาลัย
ไม่ต้องมีคลัทช์มาให้เหยียบให้เมื่อยตุ้มกันละ  ทีนี้ ในเมื่ออีกหน่อย จะไม่มีรถเกียร์ธรรมดากันแล้ว เราก็เตรียมตัวหัดใช้เท้าซ้ายเบรคกันดีกว่ามั้ย?
ก่อนอื่น ผมไม่แนะนำให้ลองบนรถเกียร์ธรรมดานะครับ เพราะแป้นเบรคของรถเกียร์ธรรมดาจะค่อนข้างเล็กไป ไม่สะดวกเหมือนรถเกียร์ออโต้
แป้นเล็ก การเหยียบการหัด อาจจะไม่ถนัด และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เอาเป็นว่าลองกับรถเกียร์ออโต้ตามที่บอกดีกว่า 
ลองหนแรก ต้องนึกเอาไว้ก่อนนะครับว่า เราใช้เท้าซ้ายเหยียบแต่คลัทช์มานาน แน่นอนว่า น้ำหนักที่เหยียบ ถ้าเอามาใช้กับแป้นเบรคละก็ หัวทิ่มแน่ๆ
ลองครั้งแรกๆ หาถนนโล่งๆ ความเร็วไม่ต้องสูง แล้วลองเบรคด้วยเท้าขวาตามถนัดก่อน ลองจำอาการให้ได้  หลังจากนั้น ลองใช้เท้าซ้ายดู
อย่าพรวดพราดทำนะครับ  ถ้ารีบทำ มีหัวทิ่มตามที่ผมเตือนไว้แหงๆ ลองหลายๆครั้งครับ ค่อยๆเบรคบ้าง เบรคหนักหน่อยบ้าง สลับๆกัน
    ทีนี้ก็เป็นเรื่องของการคุมน้ำหนักละ คือ ทำยังไง จะเบรคด้วยเท้าซ้ายให้ได้พอๆกับกับเท้าขวา เกือบลืมว่า เน้นช่วงปล่อยเบรคด้วยนะครับ อย่ารีบยกลองสังเกตอาการรถเอาไว้หลายๆแบบ   พอเริ่มชิน ทำได้คล่อง ทีนี้ก็ลองไปใช้กับชีวิตประจำวันครับ  ขับเข้าเมือง เจอรถติดบ้าง
ลองดูว่า ใช้ LFB แล้วคนนั่งไปกับเรารู้สึกได้รึเปล่า  ทำจนคนไม่สังเกต นั่นหละครับ แปลว่าเราทำได้ไม่เลวแล้ว
อีกเรื่องครับ   ผมเคยได้ยินคนพูดว่า จะหัดใช้เท้าซ้ายเบรค ก็ไปหัดกับรถโกคาร์ทดิฟะ  ผมอยากจะถามกลับว่า
ไอ้โกคาร์ทเนี่ย มันมีหม้อลมเบรคมั้ยเพ่  มันไม่มี!! ละถ้ามันไม่มี อาการเบรคมันจะเหมือนรถบ้านๆได้ไง  สรุป ไปลองกับโกคาร์ทได้ แต่จำมาใช้ไม่ได้ โอ่เค๊?   

ValenDear:
ฮีล แอนด์ โทว์
Heel and Toe ก่อนละกันนะครับ   ตามหลักการง่ายๆ มันคือการบาลานซ์รถ เวลาที่เราต้องการลดเกียร์ลง
ตามที่เสธ.เอ๋ถามไว้ ว่า จะทำ down shifting ยังไง ไม่ให้รถมีอาการกระชาก หรือกระตุก หรือเสียอาการ
ในขณะที่เรา down shifting หรือ ลดเกียร์ลง รอบเครื่องจะตีขึ้นสูง เนื่องจากอัตราทดของเกียร์ที่ต่ำกว่า 
ทีนี้ การจะทำให้มันนุ่มนวล ก็ต้องอาศัยการ Blip throttle(แย๊บคันเร่ง) เพื่อช่วยเร่งรอบเครื่องขึ้นไปรอ ในจังหวะที่เรากำลังจะปล่อยคลัทช์ แล้วถามว่า เกี่ยวกับคำว่า Heel and Toe ได้ไง?  ก็นี่หละครับ  กระบวนการลดเกียร์ลง มักจะอยู่ในขั้นตอนการลดความเร็วก่อนเข้าโค้ง 
โดยที่(ส่วนมาก) 1.เราจะใช้ด้านบนของเท้า(ตั้งแต่บริเวณนิ้วโป้งหรือ Toe)เป็นตัวกดแป้นเบรค---2.เท้าซ้ายเหยียบคลัทช์---ลดเกียร์ลง---3.ใช้ส้นเท้า(Heel)เป็นตัวแย๊บคันเร่ง
เพื่อเร่งรอบขึ้นไปรอ---4.ปล่อยคลัทช์   ทำซ้ำจะไปถึงเกียร์จะเราจะใช้ออกจากโค้งก็เป็นอันเสร็จพิธี  ขั้นตอนทั้ง 4 ดูเหมือนจะง่ายนะครับ แต่ว่ามันจะต่อเนื่องกันหมด
โดยมาก ผู้ที่หัดใหม่ๆ มักจะคุมน้ำหนักเบรคเท้าไม่อยู่ เวลาใช้ส้นเท้าแย๊บคันเร่ง ก็จะเผลอกดน้ำหนักปลายเท้าที่เบรคลงไปด้วย ไม่ต้องตกใจครับ เป็นอาการปกติของคนหัดใหม่

เรื่องของการหัดเบรคบนถนน วิธีการกดเบรคตอนแรก ผมขอให้หัดแบบที่กดแรงเลยครับ แต่ที่ว่ากดแรงเนี่ย มันมีความหมายของมันอยู่ คงต้องอธิบายเพิ่มเติมเล็กน้อย
ที่ว่ากดแรงเลย มีความหมายอยู่ตรงที่ว่า เราต้องการไปให้ถึง peak G-force ให้เร็วที่สุด  ความหมายของ peak G-force ในกรณีนี้ ไม่ได้หมายถึงล้อล๊อกอย่างเดียวนะครับ หมายถึง ว่า เป็น G-force ที่เยอะที่สุด ที่เราจะต้องการใช้ ในการเบรคครั้งนี้ พูดง่ายๆก็คือ หัวเรา จะทิ่มมากที่สุด เท่ากับเท่านี้แหละ ไม่มากไปกว่านี้อีกแล้ว
ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพเพิ่มเติมอีกนิด ข้อมูลอันนี้ เป็นการสมมุติให้เห็นภาพเฉยๆนะครับ ไม่ได้อิงตามหลัก Physics เพราะว่าลืมสูตรไปหมดแล้ว 
    ลองนึกภาพว่า เราวิ่งมา 100km/h เราตั้งใจว่าจะกดเบรคที่ระยะทาง 40 เมตร จากไฟแดง ถ้าทำตามวิธีฝึก ก็คือ ภายให้ 1-2 sec  เราจะไปถึงน้ำหนักเบรคสูงสุดที่จะต้องใช้แล้ว สมมุติว่า ในกรณีนี้ เท่ากับ 0.3G หลังจากกดเบรคไปแล้ว เราต้องพยายาม รักษาแรงนี้ไว้ให้คงที่ตลอดทาง สมมุติว่า ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 10 sec ก่อนจะถึงจุดที่จะต้องเริ่มคลายเบรค ในช่วงนี้ ไม่ใช่ว่า จะต้องให้เท้านิ่งนะครับ ที่ต้องนิ่งคือ หัวของเรา ที่จะต้องไม่ทิ่มมากขึ้นหรือน้อยลง อาจจะต้องมีการปรับน้ำหนักเบรคบ้างเล็กน้อยมากๆ เพื่อที่จะให้หัวนิ่ง หลังจากผ่านไปถึงจุดที่เริ่มจะใกล้ถึงไฟแดง คราวนี้ เราต้องค่อยๆคลายเบรค จาก 0.3G => 0G โดยอาจจะใช้เวลาอีก 4 sec โดย หัวเรา จะค่อยๆยกขึ้น จนรถก็จะหยุดพอดีที่หน้าไฟแดง
    คราวนี้ มาลองนึกแบบอื่นๆดู เริ่มที่ความเร็วเท่าเดิม คือ 100km/h  แต่เปลี่ยนระยะทาง จาก 40 เมตร เป็น 80 เมตร  หรือ 20 เมตร จากไฟแดง สิ่งที่จะต้องเปลี่ยนอย่างเดียว คือ ช่วงกลาง จากที่จะใช้เวลา 10 sec  ก็ อาจจะเปลี่ยนเป็น 20 sec กับ 5 sec  peak G-force ก็จะเปลี่ยนเป็น 0.15G กับ 0.6G แทน และก็ แน่นอนว่า หัวของเราก็จะทิ่มไม่เท่ากัน คือ ระยะเบรคเยอะ หัวก็ทิ่มน้อย ระยะเบรคน้อย ต้องเบรคแรงขึ้น หัวก็ทิ่มเยอะขึ้น
ที่ให้ทำแบบนี้ ก็เพราะว่า ส่วนใหญ่ สำหรับคนที่หัดใหม่ๆ จะติดนิสัยเสียเรื่องของการเบรคในสนาม ที่เกิดมาจากการขับบนถนน คือ เราจะชินแบบที่เปาพูดถึงอีกแบบ เรื่องของการค่อยๆเบรค พอไปวิ่งในสนาม ก็จะมีอยู่สองแบบ คือ ไม่ติดเบรคแบบวิ่งถนน คือ ค่อยๆเบรค ก็ กลายเป็นแบบกระทืบเบรคแรงเลย คือ เหมือนเปิดปิด ไม่สามารถควบคุมได้  ที่ให้ฝึกแบบนี้ ก็คือ ฝึกการควบคุมการกดเบรคตอนแรก ให้ได้ G-force ไปถึงจุดที่เราต้องการ ในเวลาที่สั้นที่สุด
    G-force ที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นในสนามแข่ง หรือว่า ในถนน จะต่างๆกันไปในแต่ละกรณี ถ้า ยกตัวอย่างในสนาม ถ้าเราวิ่งมาตรงๆ เบรคตรงๆ ก็อาจจะเยอะ เอาให้หัวทิ่มสุดๆเลย ใกล้ๆกับ 1G  แต่ถ้า เราโดนบังคับให้ต้องเบรคตอนที่เลี้ยวอยู่ เราจะต้องเบรคให้เบาลง เพราะถ้าเบรคแรงไป รถอาจจะหมุน หรือ ถ้าเบรคแรงไปมากๆ รถก็จะตรงลงข้างทางไปเลย  ถ้ายกตัวอย่างบนถนน น้ำหนักเบรค ก็อาจจะปรับตามผู้โดยสาร ถ้านั่งคนเดียว ก็ อาจจะเบรคได้แรงหน่อย แต่ถ้ามีคนอื่นนั่งไปด้วย ก็อาจจะเบรคเบาหน่อย
    ถ้าจะพูดกันถึงเรื่องความสบายของคนนั่ง จริงๆแล้ว ผมว่า ถ้าเบรคทีเดียวแบบที่ให้ฝึก น่าจะทำให้เหนื่อยน้อยกว่า เนื่องจาก จังหวะแรก คนนั่งคงไม่รู้ ว่าเราจะเริ่มเบรคตอนไหน ดังนั้น คงจะเกร็งไม่ทัน หลังจากเริ่มเบรคแล้ว ถึงจะเริ่มเกร็ง ถ้าเรายิ่งเพิ่มน้ำหนัก เค้าจะต้องยิ่งเกร็งเพิ่มขึ้น ถ้าเราไม่เพิ่มเลย ตอนแรก อาจจะดูเหมือนว่า เค้าหัวทิ่มลงมาเยอะ แต่เนื่องจากยังไม่ทันได้เกร็ง เลยไม่เหนื่อยเท่า  ถ้าอยากจะให้นั่งสบาย ผมว่า น่าจะใช้วิธี เพิ่มระยะเบรคแทน จะได้ไม่ต้องหัวทิ่มเยอะ (G-force น้อย)
    ผมว่า แค่เรื่องเบรคเรื่องเดียวเนี่ย ก็คุยกันได้ยาวเลยนะ จริงๆแล้ว มันมีอะไรเยอะมากๆ ตอนที่นิชิฮาร่า เค้าสอนว่าให้ทำอะไร เค้าก็ไม่ได้อธิบายอะไรมากมาย แต่พอเราเอามาทำจริงๆ จะรู้เลย ว่าได้อะไรกลับไปอีกเยอะ จากเรื่องที่ดูเหมือนกับเป็นเรื่องพื้นๆนี่แหละครับ ที่จะทำให้เราเข้าใจเรื่องยากๆได้ 

ValenDear:
คันเร่ง
วิธีฝึกก็คือ คุมรอบให้ได้สามพันรอบเป๊ะ ตลอดเวลา
เรื่องนี้ฟังดูเหมือนว่าง่าย แต่จริงๆ ไม่ง่ายอย่างที่คิด ขนาดอาจารย์นิชิฮาร่ายังบอกเลย ว่าเรื่องเบรค เค้าว่า ยังไม่ยากเท่าคันเร่ง เรื่องคันเร่ง เค้าบอกว่า ยังกำลังหัดอยู่เหมือนกัน     ผมว่า เรื่องพื้นฐานนี่แหละ สำคัญนัก
ที่จะยากก็คือ
๑. โจทย์คือต้องทำให้ได้สามพันเป๊ะๆ มันจะเหนื่อยตรงที่ ถ้าเกินสามพันไปนี๊ดดนึง เราจะปรับคันเร่งยังไงให้มันเหลือสามพัน ต้องละเอียดมากๆ
๒. ถนนไม่ได้เรียบราบตลอด ดังนั้น พอขึ้น/ลงเนินที ก็ต้องปรับกันใหม่
สิ่งที่ได้จากการฝึกนี้ก็คือ
๑. จะทำให้เราละเอียดมากขึ้นกับหลายๆเรื่อง เรื่องของแรง g-force เรื่องของคันเร่ง และ ยังมีเรื่องของการสังเกตุถนนด้วย เรื่องนี้ ทำให้เราเนียนขึ้นในสนามด้วย เพราะสามารถคุมคันเร่งได้หลายระดับ
๒. เราจะชินกับการเช็ครอบเครื่อง อันนี้ จะมีประโยชน์กับเรื่องอื่นๆต่อไปอีกในอนาคต รวมทั้งเรื่องของการทำ heel&toe ด้วย
๓. อันนี้ก็อีกเหมือนกัน ทำให้ขับปลอดภัย ประหยัดน้ำมัน และ นั่งสบายด้วย

การจับความรู้สึกจากพวงมาลัย
วีธีฝึกก็ง่ายๆ ไม่มีอะไรซับซ้อน ก็แค่ เวลาขับรถในชีวิตประจำวัน จับพวงมาลัยเบาๆ ที่ 3 โมง กับ 9 โมง โดยใช้นิ้วชี้กับนิ้วโป้งแค่สองนิ้ว จบ   
(ผมไม่ได้คิดเอาเองมั่วๆนะ อาจารย์นิชิฮาร่าเค้าบอกว่าเค้าฝึกแบบนี้จริงๆ  )
ความยากก็คือ
๑. ขับไปขับมาแล้วจะเผลอ ลืมทำ
๒. เลี้ยวไปเลี้ยวมา อาจจะหนัก และ ทำให้เมื่อย
สิ่งที่ได้จากเรื่องนี้ สำคัญมากๆครับ เพราะว่า เราจะได้รับข้อมูลหลายๆอย่าง มาจากพวงมาลัย  ถ้าคนที่เคยเห็นนิชิฮาร่าขับ มือเค้า จะมีการปรับตัวไวมากๆ เกิดจากน้ำหนักของพวงมาลัยที่เปลี่ยนไป ทำให้เค้าปรับพวงมาลัย เพื่อให้ได้ traction ที่สูงที่สุด เรื่องทฤษฏี ผมไม่อยากจะพูดมาก เอาเป็นว่า ลองไปทำดู แล้วก็จะเข้าใจเอง ลองสังเกตุน้ำหนักของพวงมาลัยที่เปลี่ยนไปตามสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจากตัวเราเอง และ จากสภาพถนน  ถ้าทำจริงๆ ยังไงต้องรู้สึกอะไรบ้างแน่ๆครับ 

ทำไมเค้าถึงให้ใช้แค่สองนิ้ว (นิ้วชี้กับนิ้วโป้ง) ในการฝึกแบบนี้
เรื่องของเรื่อง การคุมพวงมาลัย มันก็เหมือนกับเล่นกีฬาอื่นๆที่ต้องอาศัยข้อมูลผ่านมือ เช่น กอล์ฟ
วิธีจับไม้กอล์ฟ ถ้ากำแน่น หรือหลวมเกินไป จะทำให้ความแม่นยำ/การสื่อสารผิดเพี้ยนไป ทำให้ควบคุมทิศทางไม่ได้
ขับรถก็เหมือนกันครับ เราใช้มือ คุยกับล้อหน้า ซึ่งเป็นล้อที่ใช้บังคับเลี้ยวโดยตรง
ถ้าเราสื่อสารกับล้อหน้าไม่ได้ หรือไม่ดีพอ ก็เป็นไปไม่ได้ ที่เราจะพารถไปในทิศทางที่เราต้องการ
ดังนั้นวิธีการสื่อสารที่ฝึกได้ง่ายสุด คือ การจับพวงมาลัยโดยใช้แค่สองนิ้ว เพื่อรับรู้ข้อมูลที่เข้ามาโดยไม่มีแรงของฝ่ามือ+แขนเข้ามาเกี่ยวข้องมากเกินไป
น้ำหนักพวงมาลัย จะมีหนักมีเบาตามองศาของล้อ ซึ่งตามปกติ เราแทบไม่ได้สังเกต เพราะเราจับแบบเต็มมือ
จริงๆ สิ่งเหล่านี้ เป็นแบบฝึกหัดเบื้องต้นที่ทำได้ง่ายที่สุด  และส่งผลให้เราเป็นนักขับที่ดีขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปแข่งรถด้วยซ้ำ 

ValenDear:
ช่วงรอยต่อ ของเบรค กับ คันเร่ง
วิธีการ ก็น่าจะต่อเนื่องมาจาก การฝึกเบรค ตามที่ก้องโพสไว้ตั้งแต่แรก คือให้ความสำคัญของการคลายเบรคเท่าๆกับตอนเหยียบเบรค
แล้วค่อยๆเติมคันเร่งลงไป  ให้คนนั่งไม่รู้สึก ว่าปล่อยเบรคออกมาเหยียบคันเร่งตอนไหน 
มีวิธีที่นักแข่งรุ่นใหม่ๆใช้กันในสนาม หรือใช้กับรถแข่งที่ไม่ต้องพะวงเรื่องเหยียบคลัทช์มากนัก เช่นรถ Formula ต่างๆ
นั่นคือการใช้เท้าซ้ายเบรค (Left-foot braking) หรือ LFB   จุดประสงค์จริงของการใช้วิธีนั้น ก็คือ การถ่ายน้ำหนักจากเบรคมาคันเร่งให้ไร้รอยต่อเช่นกัน
เพื่อความสมดุลย์(balance)ของตัวรถ เมื่ออยู่ในโค้ง
โดยส่วนตัว ผมเคยถามอาจารย์ว่าแกทำ LFB รึเปล่า  แกบอกว่าไม่จำเป็น  ทีแรก ผมก็คิดว่า สงสัยแกคงไม่ได้ฝึกมา เลยไม่ได้ทำ
แต่พอได้นั่งแกขับจริงๆ รู้เลยว่า ทำไมถึงใช้แค่เท้าขวา เพราะแกทำได้เนียนกว่าคนถนัด LFB หลายๆคนซะอีกแน่ะ
และในเมื่อเราไม่ได้หัดกันเพื่อไปเป็นนักแข่งแรลลี่ หรือนักแข่งรถสูตร ผมเลยมองว่า ใช้แค่เท้าขวานี่หละให้ชำนาญดีกว่า

การฝึกเรื่องประสาทสัมผัส
ความสำคัญของความรู้สึกดังกล่าว ว่าการที่เราทำความคุ้นเคยกับอะไรนานๆ หรือบ่อยๆ มันจะส่งผ่านข้อมูลไปให้สมอง ความรู้สึกที่ผ่านมือไปก็เช่นกัน มันจะไปเก็บไว้ใน ดาต้าของเราเอง
เค้าเคยทำการสาธิตประเภทนี้ด้วยการให้อาสาสมัครมาแข่งกันถอดถุงเท้าผู้หญิงกัน  ไม่ได้ทะลึ่งนะครับ กติกาคือ ต้องปิดตา ใส่ถุงมือหนาๆเป็นไปตามคาดครับ พอตัดประสาทสัมผัสทางตา(การมองเห็น) ทางมือ(การสัมผัส)ไป ก็ทุลักทุเลกันน่าดู คนที่ทำได้เร็วที่สุด กลายเป็นหมอฟันครับ เพราะเป็นอาชีพที่ต้องทำงานละเอียดๆด้วยการใส่ถุงมือเสมอๆ ทำให้เค้าพัฒนาสัมผัสด้านนั้นมาตลอดผู้เขียนบอกต่อว่า  ถ้าเราลองใส่ถุงมือหนาๆ ขับรถซักพัก จนเริ่มจับอาการได้ แล้วลองเปลี่ยนมาใส่ถุงมือแข่งที่ให้ความรู้สึกได้ไวกว่า
จะทำให้ ประสามสัมผัสเราพัฒนาไปได้อีกระดับ  นี่ผมก็ว่าจะเอาไปลองดูซะหน่อย โชคดีที่รถติดฟิล์ม ไม่งั้นคงดูแปลกๆรึเปล่าไม่รู้

 เรื่องประสาทหู
    ที่ก็ต้องนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับ ประสาทตา+มือ+เท้า+หลัง เพื่อนำมาประกอบเป็นดาต้าเก็บไว้ในสมอง เพื่อจะงัดมาสั่งการทีหลังปกติ เราใช้หูฟังเสียงอะไรกันบ้างเวลาขับรถ?  ผมเดาว่า 80% คนขับอิม ไม่ค่อยเน้นเครื่องเสียงแน่ๆ ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าหน่อยก็คงจะชอบ Boxer sound
รุ่นใหม่ๆ เหยี่ยวหรือหมูขึ้นมา ก็คงจะฟังเสียงแผดแบบแว้ดๆของเฮดเดอร์รุ่นใหม่ๆ  แต่ใครเคยสังเกตเสียงยางบ้าง?วิ่งบนถนนในเมือง รถติดๆ คงไม่ได้ยินแน่ๆ แต่ถ้าเป็นทางด่วนช่วงมืดๆ หรือทางต่างจังหวัดที่มีโค้งเยอะๆหน่อย  ใครขับเร็วก็น่าจะได้ยินอยู่บ้าง
กลับมาเข้าเรื่อง Exercise นี้ดีกว่าครับ
จากการที่ ปกติ ระดับการได้ยินของเรานั้น เป็นตัวประเมินผลประกอบกับประสาทด้านอื่นๆตามที่เกริ่นไปแล้ว
เราจะทำการหรี่การใช้งานมันซะ  แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่า สถานที่ที่จะไปลองเล่น นอกจากในสนาม ก็คงต้องเลือกถนนที่รถน้อยๆเพราะประสาทหูที่เราจะหรี่มันลง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ถ้าเราไม่ได้ยินเสียงแตรของเพื่อนร่วมทาง หรือเสียงอื่นๆ
วิธีการคือ หา Earplug หรือ อุปกรณ์ง่ายๆเช่น Headphone เครื่องเสียง หรือแม้กระทั่งกระดาษทิชชูก็ได้ เอามาอุดหูเราซะเวลาขับ
ทีนี้ พอหรี่วอลลุ่มหูเรียบร้อย  เอาละสิ ลองสังเกตุกันดูครับว่า  เราแทบจะไม่ได้ยินอะไรเท่าไหร่  คือปกติ เราไม่ค่อยสนใจจะฟังอะไรมาก
แต่พอปิดมันเข้าไป  มันจะทำให้เราต้องเพ่งสมาธิไปที่การฟังมากขึ้น  ลองขับดูซักพัก แล้วสังเกตตัวเองว่าได้ยินชัดขึ้นมั้ย หลังจากลองซักพัก ทีนี้เปิดวอลลุ่มหู เอาอุปกรณ์ต่างๆออก ผมแน่ใจว่า เสียงที่เคยได้ยินปกติ จากแผ่วๆ มันจะกลายเป็นเสียงที่ชัดเจน

แบบที่เราไม่เคยสังเกตมาก่อนแน่นอน  ลองโฟกัสไปที่เสียงเครื่อง เสียงท่อ เสียงยาง ลองทำแล้วสังเกตดูหลายๆแบบ หลายๆเสียง
เหมือนกับการเปิดประสาทสัมผัสใหม่ๆให้กับตัวเราเอง  รับรองว่าจะสนุกกับการขับไปฟังไปขึ้นอีกแน่ครับ   

ValenDear:
เรื่องการมอง
เรื่อง "การมอง"
การมอง มีความสำคัญอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะขับรถอะไร ขับที่ไหน ขับยังไงก็ตาม  การมองที่ถูกต้อง ถูกวิธี ช่วยทำให้เราตัดสินใจในการขับได้อย่างแม่นยำ
ตรงกันข้าม ถ้ามองผิดๆ อาจทำให้เราอยู่ในสถานการณ์ลำบากได้โดยไม่รู้ตัว ยกตัวอย่าง  ขับบนถนนไฮเวย์  ข้างหน้าเกิดมีอุบัติเหตุ รถใหญ่หมุนอยู่กลางถนน
คนส่วนใหญ่มักตกใจ มองไปที่จุดเกิดเหตุ แล้วเบรคอย่างแรง ซึ่งอาจทำให้รถเสียการควบคุม และในที่สุดก็เลยร่วมเป็นส่วนหนึ่งของอุบัติเหตุตรงนั้นซะเลย
ขณะเดียวกัน การมองอย่างมีสติ มองหาช่องทางที่จะหลบ/เลี่ยง ทำให้เรารอดพ้นเหตุการณ์ตรงนั้นมาได้
จริงๆ ไม่มีวิธีแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง 100% นะครับ มีแต่วิธีฝึก ที่จะช่วยป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้
1. มองให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้               ใช้ได้กับทุกที่ ทุกโอกาส ไม่ว่าจะวิ่งบนถนน รถติดๆ ทางด่วนรถโล่ง หรือในสนามแข่งที่ต้องแย่งกันอยู่ข้างหน้า กล่าวคือ ถ้าเรามองได้ไกล ภาพที่เราได้จะส่งไปยังสมอง สมองก็จะสั่งการให้เราเตรียมตัวต่อเหตุการณ์นั้นๆได้ก่อน เท่ากับเรามีเวลาพอที่จะตัดสินใจ ในขณะเดียวกัน ถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เรายังมีเวลาพอจะแก้ไขได้ทัน
2. ผ่านแล้ว ให้ผ่านเลยหลายครั้งครับ ที่เราเผลอไปมองอะไรก็ตามข้างทางนานๆ ทำให้เราละสายตาจากถนน สมาธิหลุดไปชั่วขณะ ถ้าข้างหน้าไม่มีอะไรก็คงไม่เท่าไหร่ แต่ถ้ามีขึ้นมาละก็  ไอ้ที่มองไกลๆไว้ทีแรก กลับมาดูอีกที กลายเป็นอยู่ตรงหน้าเราซะ ถ้ามาช้าๆ คงไม่เท่าไหร่  แต่ถ้ามาเร็วๆหละเป็นเรื่องได้ง่ายๆ รวมไปถึงไม่ต้องหันกลับไปมอง หรือแอบชำเลืองมองผ่านกระจกด้วย
3.มองในที่ที่เราจะพารถไปต่อเนื่องมาจากข้อแรกครับ  แต่บางครั้งเราอาจเจอถนนที่เป็นมุมอับ เช่นถ้าเป็นในเมืองก็อาจจะมีตึก หรือสิ่งกีดขวางบังตา ไม่สามารถจะมองได้ไกล หรือมองได้เคลียร์  หรือถนนบนภูเขา ที่มีขึ้นมีลง มีมุมบังตา มุมอับ มุมลับเฉพาะมากมาย  อย่างแรกเลยคือ มองให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน  หลังจากนั้น ถึงจะเป็นเรื่องของการตัดสินใจ   ที่ผมบอกว่า มองในที่ที่จะพารถไป ก็คือ โดยธรรมชาติของคนขับรถปกติ  ลองสังเกตดูได้ครับ เรามองทางไหน สมองจะสั่งให้มือพาไปโดยอัตโนมัติกลับมาที่กรณีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นข้างหน้า  ถ้าเรามัวแต่มองไอ้ที่เค้าจะเป็นเหตุกัน เราก็จะพารถเข้าไปหาโดยไม่รู้ตัว
 สิ่งที่ควรทำ คือ ต้องมองหาจุดที่ปลอดภัย ที่เราจะสามารถหลุดออกมาได้
ผมยกตัวอย่างง่ายๆครับ  วิ่งในเมือง  ใครๆก็เจอหลุมแน่นอน  ซึ่งคนส่วนใหญ่ เวลาเห็นก็เห็นใกล้ๆ เท่านั้นไม่พอ
จ้องไปที่หลุมอีกต่างหาก หลังจากนั้นก็ ไม่รอดครับ โครม ซ่อมล้อกันไป ลองเปลี่ยนวิธีมองครับ พอใกล้หลุม ให้เล็งไปที่ที่จะหลบ ผมว่า เกิน 90% ที่เราจะผ่านไปได้  ถ้าขั้นตอนถูกต้อง


เบื้องต้นสามวิธีนี้ก็เป็นหัวข้อหลักๆในการมองเวลาขับรถแล้วละครับ   ถ้าเป็นในสนามแข่ง ก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก แต่เอาเท่านี้ก่อนดีกว่า

การฝึกสายตา ฝึกการมอง ฝึกการกะระยะ และเก็บรายละเอียด ซึ่งถ้าจะว่าไป ในสนามแข่ง นักแข่งจำเป็นต้องมองให้เป็นมองให้ถูก  จึงจะสามารถประมวลผลเข้าสู่สมองได้ทัน และได้ประสิทธิภาพเต็มที่
เมื่อนำมาใช้กับการขับบนถนน แน่นอนว่า ความเร็ว ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมากมายขนาดวิ่งแข่งในสนาม แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญเรื่องนึงทีเดียว
อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการฝึก ก็ไม่ได้มีอะไรมากมายหรือพิศดารตรงไหน   แค่นิ้วหัวแม่มือข้างใดข้างนึง  โคมไฟสูงซักอัน และหิ้งหรือชั้นวางหนังสือ สามอย่างนี้ก็พอครับ
วิธีฝึก :  ยืนตรงสบายๆ ยกนิ้วหัวแม่มือสูงระดับเดียวกับจมูก  ลองเพ่งดูรายละเอียดบนนิ้วหัวแม่มือ เสร็จแล้ว ลองเปลี่ยนโฟกัสไปที่โคมไฟ ที่ห่างจากเราไปซักประมาณ10ฟุต
เพ่งดูรายละเอียดของโคมไฟ แบบเดียวกับที่เรามองหัวแม่มือ เสร็จแล้วเปลี่ยนไปมองชั้นวางหนังสือที่อยู่ไกลออกไปอีก เล็งรายอะเอียดเช่นเดียวกัน
หลังจากนั้น กลับมาโฟกัสที่นิ้วหัวแม่มืออีกครั้ง ทำซ้ำๆกันซักประมาณ 2-3 นาทีครับ  วิธีนี้ เป็นวิธีที่ช่วยในเรื่องของการกะระยะ การเก็บรายละเอียด และความยืดหยุ่นของ
เลนส์ในตาเราได้เป็นอย่างดี
ถามว่า ทำไมผมถึงเน้นในเรื่องของการมองเป็นพิเศษ  จากหน้าแรกๆ จนมาถึงตรงนี้?  ตอบได้เลยครับว่า  การขับรถบนถนน โดยเฉพาะถนนเมืองไทยนั้นต้องตาไว(และหูไว)อยู่เสมอ ประสาท และการทำงานของร่างกายต้องพร้อม  อะไรที่ไม่คาดคิด หรือไม่น่าจะมีบนถนนเมืองไทย มันมีให้เห็น ให้ตกใจตลอด
เพราะฉะนั้น ถ้าเราฝึกให้ตาเป็นอาวุธแรก  แน่นอนว่า ขับไปไหน เราก็ค่อนข้างได้เปรียบ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมเคยบอกให้มองให้ไกลสุดไปแล้ว คราวนี้ก็ลองมองแบบเก็บรายละเอียดในระยะต่างๆกันด้วย   ลองไปทำดูนะครับ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version