พอเราจะเพ่ิม A/R เราไปเพิ่ม R ใช่มั๊ยครับ แต่ A เท่าเดิม คราวนี้แหล่ะ
gas flow แม้จะเร็ว เพราะรูเล็ก แต่ มวล กลับน้อย เลยไปปั่น ใบเทอร์ไบ R ที่ใหญ่และหนักขึ้นไม่ไหว มันเลย อั้น ไง
เทอร์ไบปั่นไม่เร็วขึ้น คอมเพรสเซอร์ ก้อดันต่อไม่ได้ ............ เค้าเลยบอกมันอั้น
แต่ถ้า รูใหญ่่ A ใหญ่ flow มาไม่เร็ว แต่ mass มาก ต้องรอบสูง flow ค่อยปั่นใบได้ แต่ปั่นที ขี้เยี่ยวแตก แถมไม่ยอมหยุดด้วย โมเมนตัมใบเทอร์ไบใหญ่ๆมันมาก
เราสามารถปรับเพิ่มหรือลดที่ A ไม่ใช่หรอคับพี่ เพราะสมมุติเรามีเทอร์โบอยู่ลูกนึง โข่งหลังติดมาเดิมเป็น 0.63 เราสามารถเปลี่ยนเป็น 0.48 หรือ 1.00 โดยการเปลี่ยนโข่งหลังให้เป็นโข่งที่มี A เพิ่มหรือลดลงนะคับพี่
R เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มากเนื่องจากส่วนนึงมัน Fix โดยขนาดของใบหลังอยู่แล้ว
- ในกรณีเปลี่ยนไปใช้โข่งที่มี AR น้อยลง มันก้อเหมือนเป็นบีบท่อน้ำ, Flow เท่าเดิม แต่ Pressure จะเพิ่มขึ้น ก้อจะมีแรงไปปั่น turbine มากขึ้นที่รอบเท่าเดิม (หรือที่มักเรียกกันว่าเทอร์โบมาไวขึ้น), แต่ที่นี้พอ A มันเล็กลง ที่รอบสูง Flow มีมาก ระบายไม่ทัน มันเลย อั้น หรือที่เรียกว่าปลายหมด
- ในกรณีเปลี่ยนไปใช้โข่งที่มี AR มากขึ้น มันก้อเหมือนเป็นขยายท่อน้ำ, Flow เท่าเดิม แต่ Pressure น้อยลง ก้อจะมีแรงไปปั่น turbine น้อยลงที่รอบเท่าเดิม ทำให้ต้องใช้รอบมากขึ้น (หรือที่มักเรียกกันว่าเทอร์โบมาช้า), แต่ที่นี้พอ A มันใหญ่ ที่รอบสูง Flow มีมาก ระบายดี มันเลย ไม่ค่อยอั้น หรือที่เรียกว่าปลายไหล
เพราะนั้น ... ถ้า R ใหญ่ A ต้องใหญ่ตาม จะมา แบ่งสอง ให้เล็ก ได้แต่ไม่ดี
ผมกลับคิดว่า ถ้าเราเลือก R ใหญ่แล้ว เราจะเลือก A ให้ใหญ่หรือเล็ก, แบ่งสองหรือเดี่ยวๆ ก้อเป็นไปตามจุดประสงค์ที่เราต้องการมากกว่าคับ อยากให้มาเร็วๆแต่ปลายตื้อๆก้อ A เล็ก ถ้าแบ่งสองด้วยก้อยิ่งมาไวขึ้นอีก ถ้าอยากให้ปลายยาวๆไม่เน้นต้น ก้อ A ใหญ่
ผิดถูกอย่างไร รบกวนพี่ๆแนะนำด้วยนะคับ ผมเองก้อมั่วๆมึนๆไปเรื่อย