Siam Subaru Webboard
General Discussion => Siam Subaru Society Forum => ข้อความที่เริ่มโดย: jeedz ที่ พฤษภาคม 04, 2013, 01:03:25 am
-
ขอความรู้หน่อยครับระหว่างผ้าเบรก เซรามิก กับ คาบอน เนื่อแบบใหนดีกว่ายังไง
ตามนั้นเลย
-
คาร์บอนเหนือกว่าครับ เบรคได้ตั้งแต่อุณหภูมิต่ำมาก ถึง7-800องศา แรงเสียดทานตั้งแต่0.3x-0.6x พวกเซรามิคทำได้ไม่เกิน0.5xยิ่งร้อนยิ่งต่ำลงเรื่อยๆครับ
เนื้อผ้าเบรคเรียงลำดับ ตามการทนความร้อนคือ ออร์แกนิคกับเซรามิค เมทัล คาร์บอน ครับ :bbbear_19:
Editข้อความตกหล่น1ทีครับ
-
ตามข้างบนที่ตอบมาครับ
เนื้อคาร์บอนดีกว่าครับ
เซรามิคทำงานได้อุณหภูมิช่วงกลางๆ แต่ได้เรื่องฝุ่นหรือเขม่าที่น้อย
ยกตัวอย่างผ้าเบรคของ Dixcel นะครับ
Type EC (0-450) เป็น non asbestos organic
Type M (0-500) เป็น ceramic fiber แต่ให้ฝุ่นหรือคราบเขม่าน้อยมาก
Type Z (0-850) เป็น graphite Metallic
Type R (200-900) เป็น Carbon เน้นสำหรับการแข่งขัน
-
ขึ้นกับลักษณะของการใช้เป็นหลักเลยครับ
1.ใช้งานทั่วไป, ในสนามแข่งขัน
2.ระยะวงรอบของการบำรุงรักษา
3.feeling ที่ต้องการ เมื่อทำการเบรค
4.การสึกหรอของผ้าเบรค และจานเบรค ที่แตกต่างกัน
5.Operating temp for peak performance ที่เราต้องการ
ลอง list ออกมาดู ก็จะทราบว่าแบบใหนเหมาะกับเรา
โชคดีครับ
-
ตามมาดู :bbbear_16:
-
ตามข้างบนที่ตอบมาครับ
เนื้อคาร์บอนดีกว่าครับ
เซรามิคทำงานได้อุณหภูมิช่วงกลางๆ แต่ได้เรื่องฝุ่นหรือเขม่าที่น้อย
ยกตัวอย่างผ้าเบรคของ Dixcel นะครับ
Type EC (0-450) เป็น non asbestos organic
Type M (0-500) เป็น ceramic fiber แต่ให้ฝุ่นหรือคราบเขม่าน้อยมาก
Type Z (0-850) เป็น graphite Metallic
Type R (200-900) เป็น Carbon เน้นสำหรับการแข่งขัน
เคยใช้Type Mสมัยยังทำตลาดในญี่ปุ่นในชื่อAPครับ เป็นผ้าเบรคไม่กี่ยี่ห้อที่ใช้จนหมด สำหรับใช้งานบ้านๆถือว่าดีมากๆแล้ว :bbbear_34:
-
เคยใช้Type Mสมัยยังทำตลาดในญี่ปุ่นในชื่อAPครับ เป็นผ้าเบรคไม่กี่ยี่ห้อที่ใช้จนหมด สำหรับใช้งานบ้านๆถือว่าดีมากๆแล้ว :bbbear_34:
ดีเลยครับ
สมัยก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น Dixcel เคยใช้ชื่อ AP Japan ในช่วงแรกที่ AP Racing มาทำ Product ให้
-
ดีเลยครับ
สมัยก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น Dixcel เคยใช้ชื่อ AP Japan ในช่วงแรกที่ AP Racing มาทำ Product ให้
คอนโดหรา ap :bbbear_43:
-
ตามข้างบนที่ตอบมาครับ
เนื้อคาร์บอนดีกว่าครับ
เซรามิคทำงานได้อุณหภูมิช่วงกลางๆ แต่ได้เรื่องฝุ่นหรือเขม่าที่น้อย
ยกตัวอย่างผ้าเบรคของ Dixcel นะครับ
Type EC (0-450) เป็น non asbestos organic
Type M (0-500) เป็น ceramic fiber แต่ให้ฝุ่นหรือคราบเขม่าน้อยมาก
Type Z (0-850) เป็น graphite Metallic
Type R (200-900) เป็น Carbon เน้นสำหรับการแข่งขัน
TYPE Z มีสำหรับเบรค AP หน้า 6 หลัง 4 ไหมครับ
-
TYPE Z มีสำหรับเบรค AP หน้า 6 หลัง 4 ไหมครับ
มีในคาลิเปอร์บางรุ่นครับ ต้องเช็คว่าคาลิเปอร์รุ่นไหน จานขนาดเท่าไรครับ
-
งั้นถามเพิ่ม. . .. ถ้าผ้าเบรกหน้าหลังต่างกันมาก จะมีผลยังไงมั้ย เช่นคู่หน้าเป็น Type R แต่คู่หลังเป็น Type M
-
งั้นถามเพิ่ม. . .. ถ้าผ้าเบรกหน้าหลังต่างกันมาก จะมีผลยังไงมั้ย เช่นคู่หน้าเป็น Type R แต่คู่หลังเป็น Type M
ผ้าหน้าหลังต่างกัน อาจไม่มีผลมากนักครับ ถ้าผ้าเบรคหน้าดีกว่าหลัง เพราะเบรคหน้าใช้งานหนักและมากกว่าเบรคหลังอยู่แล้วครับ
อาจมีผลในเรื่องของฝุ่นหรือ คราบเขม่าที่ต่างกันเห็นได้ชัด จนอาจดูขัดตา