ผู้เขียน หัวข้อ: ช้อป ชิม แชร์ กับ ภูษาพาจร"  (อ่าน 464 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
ช้อป ชิม แชร์ กับ ภูษาพาจร"
« เมื่อ: มกราคม 04, 2022, 02:50:35 am »
ช้อป ชิม แชร์ กับ "ภูษาพาจร" 3 เส้นทางท่องเที่ยว สานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จ. น่าน

ทีมอาจารย์นักออกแบบรุ่นใหม่จากจุฬาฯ รวมพลังสร้างแบรนด์ผ้าทอเมืองน่านยึดหลักเก่าผสานใหม่ออกแบบผลิตภัณฑ์ร่วมสมัย ส่งเสริมช่องทางตลาดพร้อมปักหมุดเส้นทางการท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมผ้าทอ


ผ้าทอพื้นเมืองเป็นคุณค่าทางวัฒนธรรมซึ่งหากจัดวางหรือออกแบบให้ร่วมสมัยก็จะเป็นต้นทุนสำคัญที่ช่วยต่อลมหายใจให้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น

นี่เป็นแนวคิดสำคัญที่ศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล หัวหน้าหน่วยวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดมพลังอาจารย์นักออกแบบรุ่นใหม่พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมือง นำการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Cultural Creative Tourism) ด้วยความหวังจะช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

"เราผนึกองค์ความรู้จากคณาจารย์จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแฟชั่นสิ่งทอและนฤมิตศิลป์ เพื่อพัฒนาสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีเอกลักษณ์จำเพาะจากทุนวัฒนธรรมของจังหวัดน่านสู่การผลิตเชิงอุตสาหกรรมในระบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะกับทุนนวัตกรรมพื้นถิ่น" ศ.ดร.พัดชา อธิบายจุดมุ่งหมายของโครงการนวัตกรรมอุสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์จังหวัดน่านสู่สากล เพื่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการสร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 (C2F)


8 คลัสเตอร์ รีแบรนด์เอกลักษณ์ผ้าทอเมืองน่าน

โครงการวิจัยเริ่มต้นด้วยการศึกษาปัญหาของอุตสาหกรรมผ้าทอพื้นเมือง ซึ่ง ศ.ดร.พัดชา และทีมอาจารย์นักวิจัยได้ลงไปสำรวจปัญหาในพื้นที่ 5 อำเภอจังหวัดน่าน ได้แก่ อ.เมือง อ.เวียงสา อ.ท่าวังผา อ.สองแคว และ อ.ปัว

"หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เราพบคือคนรุ่นใหม่ไม่สนใจสานต่ออุตสาหกรรมการทอผ้าจากบรรพบุรุษ เพราะมองไม่เห็นโอกาสในการสร้างรายได้ ไม่เห็นช่องทางการตลาดหรือแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัย" ศ.ดร.พัดชา เผย

จากปัญหาดังกล่าวนำมาสู่แนวทางการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอ
"ผ้าไทยไม่จำเป็นต้องสวมใส่แบบเดิมอย่างโบราณ เราพยายามดึงไอเท็มร่วมสมัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมไว้ด้วยกันออกแบบให้เป็นแฟชันสมัยนิยม มีความร่วมสมัยที่คนอยากหยิบจับมาสวมใส่ เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายคนเมืองที่จะสวมใส่ได้ในโอกาสต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งลำลอง เดรส แจ็กเก็ต สเกิร์ตชุดพิธีการ เป็นต้น"

ใน 5 อำเภอที่เป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการฯศ.ดร.พัดชา แบ่งกลุ่มผู้ผลิตและประกอบการผ้าทอเป็น 8 คลัสเตอร์โดยนำเสนออัตลักษณ์ผ้าทอและผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว ได้แก่

บ้านซาวหลวง: ประยุกต์ลายน้ำไหลจากชาวไทลื้อโบราณ เน้นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน และเฟอร์นิเจอร์
ร้านวราภรณ์ผ้าทอ: ลายผ้าเรียบง่าย สีสันสดใสผสมโทนสีเทา มีความเป็นยูนิฟอร์มร่วมสมัย
ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน: พัฒนาลวดลายเดิมด้วยการจัดวางใหม่ จากวัฒนธรรมม้ง เน้นความคล่องตัวใส่สบาย สไตล์มินิมอล
ร้านฝ้ายเงิน: ลวดลายวัฒนธรรมไทลื้อ เน้นสีสันสดใส ดีไซน์สนุกกับแนวเสื้อโอเวอร์ไซส์
บ้านปางกอม: ลวดลายไทลื้อ ที่มีความเป็นสากล ด้วยเอิร์ทโทน เหมาะกับGen Y สายรักษ์โลก
โกโก้วัลเล่ย์: กลุ่มทอผ้าไทลื้อ เน้นกลุ่มไลฟ์สไตล์ชอบเที่ยว อินดี้ ไม่เหมือนใคร
ไทมูล: ลวดลายท้องถิ่นไทลื้อ เน้นความแปลกตาผสมกับรูปทรงเรขาคณิต อิสระและเรียบง่าย
มีสเอ โปรดักส์: ลายไทลื้อที่มีความสตรีทแวร์ สวยสบาย คล่องตัว
นวัตกรรมเส้นใยจากขยะการเกษตร สู่แฟชั่น

"ทุกวันนี้เราใส่ขยะรีไซเคิลอยู่นะ" ศ.ดร.พัดชาให้แง่คิดในฐานะผู้อยู่ในวงการแฟชั่น ซึ่งปัจจุบ้นเริ่มตั้งคำถามกับ "Fast Fashion"การซื้อเสื้อผ้าตามกระแสนิยม ที่มาเร็วไปไว้ ใช้แล้วทิ้ง จนสร้างปัญหาขยะ

"ปัจจุบัน ความยั่งยืนเป็นกระแสสังคมและสิ่งแวดล้อมในโครงการฯ เราจึงพยายามทำงานแบบข้ามศาสตร์เพื่อสร้างนวัตกรรมบนสิ่งทอ แปรรูปขยะทางการเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่ม เช่น นำมาทอเป็นเส้นใย เป็นต้น" ศ.ดร.พัดชา

"ในจังหวัดน่าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพตัดไผ่เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ เวลาตัดไผ่หนึ่งต้นด้านบนขอไผ่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นตะเกียบ ไม้จิ้มอาหาร แล้วเหลือเศษไผ่ฝอยๆ ที่ได้จากการเหลาไม้เราจึงนำเศษฝอยเหล่านี้มาปั่นและตีจนเป็นเส้นใยเพื่อทอเป็นผ้าร่วมกับเส้นไหมหรือฝ้าย เพิ่มมูลค่าและลดปัญหาอันเกิดจากขยะได้ในอีกทาง" ดร.พัดชาอธิบายแนวทางของหน่วยวิจัยนวัตกรรม ซึ่งได้ชักชวนกลุ่มชาวบ้านให้เห็นโอกาสจากการแปรรูปเศษไผ่ และสร้างเครือข่ายผู้ผลิตรายย่อยและกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอท้องถิ่น

3 เส้นทางท่องเที่ยวสายผ้าทอ "ภูษาพาจร"
หนึ่งในวิธีที่จะช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมสิ่งทอของจังหวัดน่านให้พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและครบวงจรคือการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยมีจุดเน้นที่ผ้าทอ ทั้งนี้ โครงการฯ ได้ปักหมุดทริปท่องเที่ยว 3 เส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวหลากหลายแนว ได้แก่

เส้นทางช้อป-ชิม-แชร์ (Shop, Taste, Share) จับกลุ่มนักเดินทางทั่วไปที่อยากชิมประสบการณ์ เยี่ยมชมกลุ่มผู้ประกอบการผ้าทอ ซื้อสินค้าของฝากของที่ระลึก และรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มท้องถิ่นหรือพักแบบโฮมสเตย์
เส้นทางสัญจร ได้แก่ กลุ่มทอผ้าบ้านชาวหลวง อำเภอเมือง, ร้านฝ้ายเงิน อำเภอเมือง, กลุ่มทอผ้าไทลื้อ บ้านเก็ต อำเภอปัว และร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา เป็นต้น
เส้นทาง "สิ่งทอและงานฝีมือ" (Textile and Craft Destination) เส้นทางนี้เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบเรียนรู้และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ทดลองทำงานฝีมืออาทิ ทอผ้าหรือย้อมสีผ้าเป็นของที่ระลึก
เส้นทางสัญจร ได้แก่ กลุ่มผ้าทอบ้านซาวหลวง อำเภอเมือง ร้านรัตนาภรณ์ผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว กลุ่มผ้าทอไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว, ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา และร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
เส้นทาง "ต่อยอดเชิงธุรกิจ" (Creative Entrepreneur Route) เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่หรือนักออกแบบ ที่กำลังมองหาวัตถุดิบ แรงบันดาลใจ
เส้นทางสัญจร ได้แก่ กลุ่มทอผ้าบ้านซาวหลวง อำเภอเมือง ร้านวราภรณ์ผ้าทอ อำเภอเวียงสา ร้านรัตนพรผ้าเขียนเทียน อำเภอปัว ร้านฝ้ายเงิน อำเภอเมือง กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านปางกอม อำเภอสองแคว ผ้าไทลื้อบ้านเก็ต อำเภอปัว ศูนย์ผ้าทอไทลื้อบ้านดอนมูล อำเภอท่าวังผา และร้านมิสเอโปรดักซ์ อำเภอปัว
ตลาดผ้าทอถักทอโอกาสเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อมีแหล่งทอผ้าคุณภาพแล้ว นักออกแบบก็พร้อมผลิตสินค้า คนใส่ก็พร้อมทดลอง แต่ทำไมกลุ่มคนเหล่านี้ไม่เจอกัน? ศ.ดร.พัดชา มองเห็นปัญหาจากโครงการวิจัยที่ผ่านมา และเกิดไอเดียต่อยอดที่จะทำให้วงการผ้าไทยไหลเวียนอย่างเป็นวงจร

"เราต้องสร้างโรงงานนำร่องผลิตเส้นใยให้กับชุมชน ผลิตเส้นใยธรรมชาติเหลือใช้ต่างๆ" ศ.ดร.พัดชา กล่าว

"เราพบว่าดีไซเนอร์ท้องถิ่นหรือผู้ประกอบการขนาดย่อมไม่สามารถผลิตผ้าเป็นของตัวเองได้เนื่องจากการผลิตผ้าในระดับโรงงานต้องมีออเดอร์จำนวนมากถึงจะสั่งทอผ้าได้ แล้วหากจะตีไผ่ปั่นด้ายเองก็ล่าช้าใช้กำลังคนจำนวนมาก ดังนั้น หากเราสามารถทำโรงงานนำร่องผลิตเส้นใยได้ ดีไซเนอร์ที่ต้องการผ้าจำนวนไม่มาก เช่น ออเดอร์เพียง 50 หลา ก็สามารถผลิตผ้าและสร้างสรรค์คอลเลกชันของตัวเองได้"

ศ.ดร.พัดชา กล่าวว่าหากโครงการวิจัยฯ ได้รับการสนับสนุนต่อเนื่อง ระยะต่อไปที่จะลงมือสานต่อคือการให้แต่ละชุมชนมีเครื่องมือที่ดีดเส้นใยได้ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนขายได้ทั้งเส้นด้ายและผ้าทอ เป็นการเพิ่มโอกาสทางอาชีพมากขึ้น อีกทั้งดีไซเนอร์รุ่นใหม่จะได้สร้างสรรค์แฟชันที่ตอบโจทย์ยุคสมัยและกระแสความยั่งยืน และยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพสู่สากลด้วย