ผู้เขียน หัวข้อ: ธปท.คาดผลกระทบโควิดโอมิครอนชัดเจนขึ้นใน Q1/65  (อ่าน 432 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
ธปท.คาดผลกระทบโควิดโอมิครอนชัดเจนขึ้นใน Q1/65 ย้ำให้ความสำคัญศก.ฟื้นตัว

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในการประเมินเบื้องต้นของที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะยังไม่ส่งผลที่ชัดเจนต่อเศรษฐกิจไทยเดือน ธ.ค. และภาพรวมของไตรมาส 4/64 โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะในปี 64 จะยังขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 0.9%

ทั้งนี้ ธปท.มองว่าผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนต่อเศรษฐกิจไทยจะชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 1/65

"GDP ทั้งปีนี้ เรายังมองที่โต 0.9% ไม่ต่างจากที่เคยคาดไว้ ถ้าจะมีเรื่องผลกระทบโอมิครอน ก็คงจะไป่สงผลในไตรมาส 1/65 มากกว่า เพราะสัญญาณในช่วง 20 กว่าวันของเดือน ธ.ค.ยังเห็นไม่ชัดเจนนัก" น.ส.ชญาวดี กล่าว
พร้อมมองว่าหากในประเทศยังมีการระบาดของโอมิครอนต่อเนื่องอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปี 65 ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากนัก เพราะ กนง. มองว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามามากตั้งแต่ช่วงครึ่งปีหลังเป็นต้นไป อย่างไรก็ดี กนง.ได้รวมปัจจัยเรื่องกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบไว้แล้วในการประมาณการของปี 65 ที่ล่าสุดปรับลดลงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมาอยู่ที่ 3.4% จากเดิมที่ 3.9%

ขณะที่ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือน ธ.ค. 64 ว่าจะยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจากการสอบถามความเห็นจากผู้ประกอบการจะพบว่าภาคการผลิต-การค้ามีการผลิตสินค้ามากขึ้น ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค และการส่งออกดีขึ้นจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ส่วนการบริการ (โรงแรม ร้านอาหาร การขนส่งสินค้า และขนส่งผู้โดยสาร) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

"แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในเดือนธ.ค. กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยปรับตัวดีขึ้น แต่ต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ปัญหา supply disruption ทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบ ชิ้นส่วนการผลิต และตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งปัญหาราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง" น.ส.ชญาวดี กล่าว
ส่วนกรณีการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้น น.ส.ชญาวดี กล่าวว่า ประเทศไทยมีความแตกต่างจากประเทศอุตสาหกรรมหลักในเรื่องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศเหล่านั้นอยู่ในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น และเศรษฐกิจกลับไปเติบโตได้เท่ากับในช่วงก่อนมีโควิดได้ก่อนประเทศไทย อีกทั้งสัดส่วนการพึ่งพาการท่องเที่ยวยังไม่มากเท่ากับไทย

"กนง. จะยังให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลัก อยากให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ไม่สะดุดก่อน ดังนั้นในแง่ของอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้น อาจจะต้องดูสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นหลักด้วย ถ้าคนอื่นขึ้นดอกเบี้ย เราอาจไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นตาม เพราะสถานการณ์ทางเศรษฐกิจต่างกัน"
อย่างไรก็ดี การดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs นั้น ธปท. ได้มีมาตรการมาอย่างต่อเนื่องในช่วงตลอด 2 ปีที่ผ่านมา และในช่วงต่อไป ก็จะพยายามปรับมาตรการให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะในการแก้หนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อแบ่งเบาภาระให้ทั้งประชาชน และผู้ประกอบการ SMEs ให้มีภาระหนี้ที่สอดคล้องกับรายได้ และสามารถบริหารจัดการได้