ผู้เขียน หัวข้อ: KBANK เชื่อศก.ไทยปี 65 ฟื้นจากปีก่อน ได้แรงหนุนท่องเที่ยว-ส่งออก  (อ่าน 318 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
KBANK เชื่อศก.ไทยปี 65 ฟื้นจากปีก่อน ได้แรงหนุนท่องเที่ยว-ส่งออก

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 65 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ด้วยแรงหนุนสำคัญจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มกลับมาเที่ยวประเทศไทยเพิ่มขึ้น ท่ามกลางความกังวลต่อโควิด-19 ที่ลดลง ความคืบหน้าการกระจายวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางในหลายประเทศ ในขณะที่การบริโภคในประเทศที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น และคาดการณ์การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มขยายตัวขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และรายได้การท่องเที่ยวที่กลับมา ในขณะที่คาดการณ์การส่งออกจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตเข้าใกล้ระดับก่อนเกิดโควิดมากยิ่งขึ้น

"เศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโนมฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน...แรงหนุนสำคัญในปีนี้ จะมาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยความกังวลต่อโควิด-19 ที่ลดลง แรงหนุนจากการกระจายวัคซีน และการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการเดินทางของหลายประเทศทั่วโลก"
ด้านค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าในปีนี้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ประกอบกับในปี 2564 เงินบาทอ่อนค่าที่สุดในสกุลเงินเอเชีย หากไม่นับเงินเยน ทำให้โอกาสที่เงินบาทจะกลับมาแข็งค่ามีเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางการเก็งกำไรของตลาด แม้ว่าเงินบาท จะได้รับแรงกดดันจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง

วันนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) คงคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% (ค่ากลางที่ 4.0%) โดยเพิ่มคาดการณ์นักท่องเที่ยวเป็น 5.5 ล้านคน จาก 5 ล้านคน คาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5% ต่อ GDP เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์เดิมที่ 1.0% ต่อ GDP และปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อ เป็น 1.5-2.5% จากคาดการณ์เดิม 0.9-1.9%

พร้อมประเมินปัจจัยเสี่ยงสำคัญในปี 65 ได้แก่ ความไม่แน่นอนของโควิด-19, เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น, ภาวะหนี้ครัวเรือน, ภาวะชะงักงันภาคอุปทานที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก และความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลก รวมทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย และเป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่อง