ผู้เขียน หัวข้อ: กร.กอ.มีมติหนุนประกันราคาสินค้าเกษตรโมเดลใหม่  (อ่าน 410 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ deam205

  • *
  • กระทู้: 1,097
  • Popular Vote : 0
กร.กอ.มีมติหนุนประกันราคาสินค้าเกษตรโมเดลใหม่-โครงการนิคมฯเกษตรอาหาร

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กร.กอ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 ว่า ที่ประชุมกรกอ.มีมติสนับสนุนโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโมเดลใหม่โดยภาคเอกชน และให้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการมีเป้าหมายประกันราคาสินค้าเกษตรสำหรับภาคอุตสาหกรรมเกษตรอาหารเพื่อให้ราคาสินค้าเกษตรมีเสถียรภาพและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มใหม่และจะเป็นการปฏิรูปครั้งใหญ่ของภาคเกษตร ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ "ก่อนหน้านี้อุตสาหกรรมกุ้งตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ร่วมกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้ง และกรมประมง โดยกระทรวงเกษตรฯ เริ่มทดลองโครงการประกันราคากุ้งเฟสแรกตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว และขณะนี้กำลังขยายผลโครงการไปกลุ่มผลไม้เศรษฐกิจภายใต้ฟรุ้ทบอร์ด ในอดีตที่ผ่านมาภาครัฐใช้เงินงบประมาณอุดหนุนสินค้าเกษตรกว่าแสนล้านต่อปี ขณะที่ผลิตภาพการผลิตภาคเกษตรยังเป็นปัญหาเช่นเดียวกับราคาสินค้าเกษตรก็ไม่มีความแน่นอน การเอาเปรียบทางการค้ากับเกษตรกรยังมีอยู่ ถ้าโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรโดยภาคเอกชนสำเร็จ ต่อไปภาครัฐจะได้ใช้งบประมาณไปทุ่มเทกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเมดอินไทยแลนด์ การพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) ทั้งระบบ การพัฒนาการศึกษาด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม การเพิ่มทักษะ (Reskill & Upskill) บุคคลากรภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการภาคเกษตรกร และการโปรโมทสินค้าเกษตรอาหารของไทยในต่างประเทศ โครงการนี้ไม่ง่ายเลยแต่มีความเป็นไปได้ขึ้นกับความร่วมมือแบบหุ้นส่วนของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและความกล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ เราต้องช่วยกันปลดกระดุมแล้วกลัดใหม่ สร้างคานงัดใหม่ๆ ในการอัพเกรดประเทศไทยของเรา" นายอลงกรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมกร.กอ.ยังเห็นชอบโครงการนิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร 9 กลุ่มจังหวัดแรก หวังสร้างฐานอุตสาหกรรมเกษตรสู่หมุดหมายเกษตรมูลค่าสูงและ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-Curve) ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณา "แนวทางการดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดนำร่อง" และมีมติเห็นชอบให้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อหารือแนวทางการจัดทำมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อม 9 กลุ่มจังหวัด ตลอดจนมอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ระดับภาค และหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการปรับปรุงและเพิ่มเติมรายละเอียดแนวทางการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของกลุ่มจังหวัดที่มีความพร้อมบางส่วน และกลุ่มที่ไม่มีความพร้อมให้มีสอดคล้องกันในแนวทางการส่งเสริม