ผู้เขียน หัวข้อ: การสร้างห่วงโซ่อุปทานค้าปลีกในอนาคต  (อ่าน 405 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ fairya

  • *
  • กระทู้: 1,190
  • Popular Vote : 0

ขณะที่เราเข้าสู่ปี 2565 การคาดการณ์ว่าเหตุการณ์ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ถึงแม้ว่าการคาดการณ์นี้จะยากเป็นพิเศษภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ดิฉันชอบที่วิลเลี่ยม กิ๊บสัน (William Gibson) นักเขียนชาวอเมริกัน ได้เคยกล่าวว่า

"อนาคตอยู่ที่นี่แล้ว เพียงแต่ว่ามันไม่ได้กระจาย(ความมั่งคั่ง)อย่างเท่าเทียมกันให้กับทุกคน"

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้เปลี่ยนวิถีที่ผู้ค้าปลีกติดต่อและเข้าถึงผู้บริโภค เริ่มจากการนำเอาแพลตฟอร์มโซเชี่ยล มีเดีย (Social commerce) มาประยุกต์ใช้เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น มาจนถึงการก้าวขึ้นมาของโมเดลช่องทางขายออนไลน์ตรงถึงผู้บริโภค (D2C) ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ขายปลีกสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าในสังเวียนนี้จะต้องมีทั้งผู้ตาม ผู้นำ และผู้นำเทรนด์ บ่อยครั้งที่ความรู้ด้านดิจิตอลและนวัตกรรมได้กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้พวกเขาอยู่ในกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป

เมื่อร้านค้าปลีกออนไลน์เพิ่มข้อเสนอเมื่อบรรดาลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากยิ่งขึ้น สิ่งหนึ่งที่พวกเขามักมองข้ามอยู่บ่อยครั้งคือห่วงโซ่อุปทานของพวกเขาเอง ซึ่งห่วงโซ่อุปทานนี้มีความสำคัญเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซ ในโลกความเป็นจริงห่วงโซ่อุปทานที่มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการนำเอาประสบการณ์การซื้อขายออนไลน์ที่ราบรื่นให้กับลูกค้า ในเอกสาร White Paper ฉบับล่าสุด ได้กล่าวถึง 3 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (megatrends) ที่สามารถช่วยร้านค้าปลีกออนไลน์ปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานของตนเองให้ทันสมัยขึ้นและประสบความสำเร็จในโลกการค้าปลีกมีดังนี้

ให้บริการจัดส่งสินค้าแบบบูรณาการสำหรับผู้บริโภคที่มีเวลาจำกัด

ปัจจุบันเมื่อผู้บริโภคมีรายได้ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น พวกเขาจึงเต็มใจที่จะจ่ายค่าบริการให้กับผู้ให้บริการภายนอก (outsource services) เพื่อประหยัดเวลา ด้วยกระแสความนิยมของผู้บริโภคที่มีต่อบริการส่งอาหาร ซื้อของชำ (grocery shopping) หรือแม้กระทั่งบริการทำความสะอาดบ้านที่มีมากขึ้น ผลักดันให้ความต้องการการให้บริการแบบ on-demand เพิ่มสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่าภายในปีพ.ศ. 2568 เศรษฐกิจแบบ on-demand จะเติบโตมีมูลค่าสูงถึง 3.35 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (US$335 billion) ตัวอย่างเช่น อูเบอร์ (Uber) ได้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจของตัวเองอย่างรวดเร็วจากเป็นแค่เพียงผู้ให้บริการเรียกรถ ไปเป็นบริษัทจัดส่งแบบ on-demand ให้บริการจัดส่งอาหารและของชำให้กับลูกค้า

ธุรกิจต่างๆ จำเป็นที่จะต้องคิดแบบองค์รวมมากขึ้นในการเพิ่มคุณค่าการให้บริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าประหยัดเวลา ซึ่งรวมถึงการให้บริการจัดส่งที่ง่าย รวดเร็ว ปรับเปลี่ยนได้และสะดวกสบาย

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อจำกัดในด้านงบประมาณ การสร้างบริการจัดส่งแบบบูรณาการตามความต้องการตั้งแต่จุดเริ่มต้นนั้นไม่มีความเป็นไปได้ และไม่ได้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้องค์กร ดังนั้นร้านค้าปลีกออนไลน์จะสามารถใช้ประโยชน์จากแนวโน้ม 'on-demand' และให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร?

ธุรกิจขนาดเล็กควรมองหาการรวมบริการจัดส่งที่มีประสิทธิภาพเข้ากับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของพวกเขาโดยเป็นพันธมิตรกับผู้ประกอบการด้านการขนส่งที่มีชื่อเสียงในตลาดมาอย่างยาวนาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อมีการบูรณาการเชื่อมต่อระบบหลังบ้านของการให้บริการขนส่งนี้เกิดขึ้น จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงการดำเนินการตามคำสั่งซื้อจำนวนมากบนแพลตฟอร์มเดียวได้อย่างอัตโนมัติ ง่ายดายและประหยัดเวลา อีกทั้งผู้ประกอบการด้านการขนส่งยังสามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายพันธมิตรที่ขยายตัวเพื่อควบคุมพลังของห่วงโซ่อุปทาน นำนวัตกรรมภายในระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซมาประยุกต์ใช้

ลูกค้าต้องการสิ่งที่น่าตื่นเต้น เทคโนโลยีวีอาร์ (VR) และเออาร์ (AR) เป็นตัวช่วยของคุณ

การขายสินค้าออนไลน์มีวิวัฒนาการมากกว่าการใส่แค็ตตาล็อกง่ายๆ ลงบนเว็บไซต์ กลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตแบบดิจิตอลมาก่อนคาดหวังกับประสบการณ์ใหม่และสร้างสรรค์ตั้งแต่ต้นจนจบของการซื้อสินค้า

ตัวอย่างที่เห็นได้แก่ เจดี ดอท คอม (JD.com) ผู้นำธุรกิจอีคอมเมิร์ชสัญชาติจีน ได้พลิกโฉมรูปแบบการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ชแบบธรรมดาทั่วไปมาเป็นประสบการณ์การช็อปปิ้งอย่างเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ นักช็อปสามารถเพลิดเพลินกับประสบการณ์การ ช็อปปิ้งเสมือนจริง เพื่อค้นหา ซื้อสินค้า หรือดูตัวอย่างว่าเฟอร์นิเจอร์ชิ้นหนึ่งจะมีลักษณะอย่างไรในบ้านของตนเองผ่านทางการใช้แอป VR Shopping Galaxy ของ JD และแอปที่เปิดใช้งาน AR ได้

ตลาดค้าปลีกทั่วโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีวีอาร์ (VR) และ (AR) ตั้งเป้าที่จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 3,790 ล้านเหรียญสหรัฐ (US$3,790 million) ในปีพ.ศ. 2564 เป็น 1.78 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (US$17.8 billion) ภายในปีพ.ศ.2571 และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดนั้นจะยิ่งเพิ่มเร็วขึ้น โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตที่ 38.4% เปรียบเทียบปีต่อปี (YoY) และมีมูลค่าแตะ 1.728 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ($172.8 billion) ภายในปีพ.ศ. 2569 นอกจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงจาก 'สิ่งที่คุณเห็นคือสิ่งที่คุณจะได้รับ' เป็น 'ประสบการณ์ที่คุณสัมผัสคือสิ่งที่คุณได้รับ' ซึ่งนับเป็นการนำเสนอโอกาสใหม่ ๆ สำหรับบรรดาธุรกิจที่อยู่ภายในระบบนิเวศอีคอมเมิร์ซ

ในไม่ช้าเทคโนโลยีวีอาร์ (VR) อาจถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้กับบริการจัดส่งเอกสารและสินค้า เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการช้อปปิ้งที่ยั่งยืนและมีจริยธรรมมากขึ้น และเป็นไปได้สูงที่ในอนาคตผู้บริโภคจะสามารถมองเห็นวิธีการบรรจุผลิตภัณฑ์ในคลังสินค้า หรือมองเห็นสิ่งที่ทำให้กระบวนการจัดส่งในระยะสุดท้ายมีความยั่งยืนได้ผ่านแว่นตา 3 มิติ

ปลดล็อกโอกาสด้วยการเข้าไปรุกตลาดใหม่

ผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกลต้องการประสบการณ์การทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซที่สะดวกและราบรื่นไม่สะดุด ความต้องการดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มสูงขึ้นในเมืองรอง (ระดับ 2 และ 3) และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลขั้นสูง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (AMEA) ได้กลายเป็นผู้นำของตลาด อีคอมเมิร์ซไปเรียบร้อยแล้ว เฉพาะในประเทศอินเดียเพียงอย่างเดียว การเติบโตของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในเมืองรอง (ระดับ 2 และระดับ 3) แซงหน้าเมืองหลัก การใช้จ่ายออนไลน์ต่อลูกค้าหนึ่งรายในเมืองรองนี้ได้แสดงให้เห็นแรงผลักดันที่แข็งแกร่ง ดันสัดส่วนยอดขายของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศอินเดียได้เกือบ 50 เปอร์เซนต์

เมื่อธุรกิจจำนวนมากขึ้นมองเห็นโอกาสของตลาดเมืองรอง การแข่งขันก็จะยิ่งเข้มข้นขึ้น เพื่อที่จะเอาชนะในสังเวียนนี้ผู้ค้าปลีกสามารถพึ่งพาผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในตลาด เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าในเมืองหรือประเทศที่อยู่ห่างไกลได้มากขึ้น ในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน ด้วยศูนย์บริการกว่า 5,000 แห่ง เครื่องบินขนส่งสินค้า 680 ลำ และยานพาหนะเพื่อการขนส่งมากกว่า 200,000 คัน ในเครือข่ายทั่วโลก เฟดเอ็กซ์ได้เชื่อมโยงผู้คนและความเป็นไปได้ใน 220 ประเทศและเขตปกครองพิเศษทั่วโลก

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นกลไกสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์จึงได้ใช้โซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้มีการขยายตัว ด้วยประสบการณ์ที่ยกระดับและเป็นส่วนตัวมากขึ้นสำหรับผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกล เฟดเอ็กซ์ได้ร่วมมือกับนีโอลิกซ์ (Neolix) บริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติ (autonomous technology) เพื่อทดสอบบริการจัดส่งแบบไร้คนขับในประเทศจีน การใช้งานบริการจัดส่งแบบไร้คนขับที่ประสบความสำเร็จจะสามารถช่วยผู้ค้าปลีกออนไลน์แก้ปัญหาในการเข้าถึงลูกค้าพื้นที่ห่างไกลโดยไม่ทำให้ต้นทุนการจัดส่งสูงขึ้น

อนาคตคือตอนนี้ ผู้ชนะคือผู้ที่มองการณ์ไกลในการสร้างประสบการณ์การค้าปลีกที่ใช้เทคโนโลยี คุณพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าหรือไม่?
สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ธุรกิจสามารถควบคุมเทคโนโลยีและพึ่งพาโลจิสติกส์เพื่อการเติบโตในเอเชียแปซิฟิก สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ FedEx Business Insights