ผู้เขียน หัวข้อ: กำชับตรวจสต็อกปาล์มน้ำมัน สั่งห้ามกักตุน  (อ่าน 389 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
นายกฯ กำชับตรวจสต็อกปาล์มน้ำมัน สั่งห้ามกักตุน เดินหน้าตามกม.เคร่งครัด

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ติดตามสถานการณ์สินค้าราคาแพง หลังสถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันน้อยกว่าปกติอย่างมาก จึงได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจ สต็อกปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์ม โดยหวั่นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จะกักตุนสินค้า ทำให้ราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบพุ่งสูงขึ้นไปอีก ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภคอุปโภคเป็นวงกว้าง

โดยล่าสุด ตำรวจร่วมบูรณาการกับพาณิชย์จังหวัด จัดชุดตรวจลงพื้นที่ตรวจสต๊อกปาล์มน้ำมัน โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ตลอดจนคลังน้ำมันปาล์ม ซึ่งจะดำเนินการกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายอย่างเด็ดขาด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากราคาปาล์มน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ จะกำหนดดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละ 2,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะแจ้ง หรือหากมีการแจ้งการครอบครองไม่ตรงกับความเป็นจริง ก็จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.137 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายกรัฐมนตรี ยังได้ติดตามการดำเนินงานตามข้อสั่งการเรื่องการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ซึ่งกรมปศุสัตว์ ได้ลงพื้นที่สำรวจปริมาณซากสุกรในห้องเย็นทั่วประเทศอย่างเข้มงวด โดยข้อมูลพื้นที่เข้าดำเนินการ ระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2565 (จำนวน 773 แห่ง) ตรวจพบซากสุกรสะสม จำนวน 18,727,824.545 กิโลกรัม

กรมปศุสัตว์ มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการลักลอบนำสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้าประเทศ ค้นหาโรคเชิงรับและเชิงรุก เช่น การเฝ้าระวังทางอาการในฟาร์ม การเฝ้าระวังในโรงฆ่าสัตว์ การเฝ้าระวังในซากและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาด การประเมินความเสี่ยงระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายโดยทำฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM: Good Farming Management) เพื่อเป็นการลดความเสียหายสามารถป้องกันการเกิดโรคได้และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเพื่อยกระดับเป็นฟาร์มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP)

"นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญการแก้ไขปัญหาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพงในขณะนี้ โดยกำชับไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้บูรณาการร่วมมือกันเร่งบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว