ผู้เขียน หัวข้อ: ธปท. เปิดวงเสวนารับฟังมุมมองภาคเอกชนต่อภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย  (อ่าน 333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Naprapats

  • *
  • กระทู้: 931
  • Popular Vote : 0
ธปท. เปิดวงเสวนารับฟังมุมมองภาคเอกชนต่อภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทย

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภูมิทัศน์ใหม่ของภาคการเงินไทยว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การวางทิศทางนโยบายเพื่อปรับภูมิทัศน์การเงินใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ ธปท.ต้องดำเนินการ ทั้งในส่วนของการปรับวิธีคิด และการปรับวิธีการ โดยในเรื่องการปรับวิธีคิด คือ การปรับสมดุล เรื่องประโยชน์จากการสนับสนุนนวัตกรรมกับการดูแลความเสี่ยง ส่วนการปรับวิธีการ คือ จะต้องสื่อสารในวงกว้างขึ้น และยืดหยุ่นขึ้น โดยสามารถปรับเปลี่ยน หรือทบทวน ทิศทางหรือแนวนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 65 ธปท. ได้เปิดตัวภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยได้สื่อสารมุมมอง และการปรับวิธีคิดของ ธปท. เกี่ยวกับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทยในระยะข้างหน้า เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณชน ซึ่งในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ธปท.ได้รับความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทาง และแนวนโยบายของ ธปท. ในเรื่องนี้ ทั้งทางอีเมล ทางเว็บไซต์ จากประชาชน และจากการเดินสายหารือกับผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่างๆ เช่น สมาคมธนาคารไทย, สมาคมธนาคารนานาชาติ สมาคมฟินเทค ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคล สมาคมสินทรัพย์ดิจิทัล ตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพบว่าคนให้ความสนใจเรื่อง virtual bank และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ เช่น สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) กันมาก

ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ เช่น การผลักดัน open data และ risk-based pricing ให้ผู้ให้บริการนำข้อมูลลูกค้าที่เก็บหลายที่ มาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ โดยเฉพาะข้อมูลทางเลือก เช่น การจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อให้ลูกค้าที่ไม่มี track record กับ สถาบันการเงินมีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อในระบบมากขึ้นด้วยราคา risk-based pricing

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการวางรากฐานให้ภาคการเงินช่วยเศรษฐกิจปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Thai taxonomy การจัดหมวดหมู่กิจกรรมตามระดับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ standard practice ให้ธนาคารประเมินความเสี่ยง และมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุนธุรกิจให้ปรับตัว และการช่วยครัวเรือนปรับตัวสู่โลกการเงินดิจิทัล และช่วยคนที่มีหนี้ให้ไปต่อได้

นายรณดล กล่าวว่า ธปท.จะยังเดินสายเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายจนถึงวันที่ 28 ก.พ.นี้ โดยจะนำความเห็นและข้อแนะนำที่ได้รับไปปรับปรุงทิศทาง และแนวนโยบายการปรับภูมิทัศน์ภาคการเงินไทย เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละภาคส่วนได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งนำไปกำหนดแนวทางการร่วมกันผลักดันให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมขึ้นต่อไป เช่น การกำหนดขอบเขตและ เกณฑ์การขอใบอนุญาตจัดตั้ง virtual bank ที่ชัดเจน และแนวนโยบาย open banking

นางขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองว่า ที่ผ่านมาภาคการเงินการธนาคารของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด แต่เมื่อมองไปข้างหน้า จะพบว่ายังมีความท้าทายและต้องปรับตัวกันอีกมาก ไม่เฉพาะการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ แต่หน่วยงานที่กำกับดูแลก็ต้องมีการปรับตัวด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เห็นว่าถ้ามีการกำกับดูแลแบบรวมศูนย์ มีความเห็นออกมาในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจตรงกันนั้น เชื่อว่าจะเป็นสิ่งแรกที่ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่ภูมิทัศน์ใหม่ของภาคการเงินไทยสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น

สำหรับ Virtual bank ที่จะมีมากขึ้นในอนาคตนั้น ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในระบบมากขึ้น อีกทั้งมีข้อดีที่การใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้นจะช่วยลดต้นทุนให้ต่ำลง และทำให้เกิดการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น และหลากหลายขึ้น

ในขณะที่หลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้ให้บริการนั้น มองว่า อาจจะเป็นการวางหลักเกณฑ์การกำกับดูแลในลักษณะเดียวกัน เพียงแต่หากผู้ให้บริการใดก็ตาม ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่ากระบวนการทำงาน หรือระบบทำได้ตามมาตรฐานหรือมากกว่า ก็อาจได้รับการผ่อนคลาย หรือมีการกำกับดูแลอีกแบบ

"ต้องมีเกณฑ์ apply เท่ากัน แต่หากใครสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารยืดหยุ่น ปกป้องความเสี่ยงให้ลูกค้า และตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่า คุ้มครองผู้บริโภค มี market conduct ที่ดี ตอบโจทย์ผู้ถือหุ้นได้ และดูแลสังคมได้ด้วย ก็อาจจะผ่อนคลายเกณฑ์ให้" นางขัตติยา ระบุ
ด้านนายสันติธาร เสถียรไทย ประธานทีมเศรษฐกิจ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท SEA Group กล่าวว่า ภาคการเงินของไทยมีช่องว่างถึง 3 ประเภท ได้แก่ 1. ช่องว่างตั้งแต่เมื่อวานนี้ เช่น ธุรกิจ SMEs บางรายไม่มีหลักประกัน 2. ช่องว่างใหม่ของวันนี้ เช่น กลุ่มคนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งกลุ่มที่ขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ หรือกลุ่มฟรีแลนซ์ ที่ไม่มีเอกสารทางการเงิน เนื่องจากไม่สามารถใช้ระบบทางการเงินแบบดั้งเดิมได้ และ 3. ช่องว่างของวันพรุ่งนี้ ซึ่งเริ่มเห็นการวางแผนอนาคต เช่น เว็บ 3.0 และการมุ่งสู่ความเป็นสีเขียว (Green Transition)

ดังนั้น แสดงให้เห็นว่า ช่องว่างไม่ได้มีเพียงประเภทเดียว และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งภาคการเงินต้องปรับเปลี่ยน โดยต้องให้มีความหลากหลายของทั้งจากธนาคาร, Non-Bank และ Financial Technology (FinTech) ที่มีจุดแข็งและจุดอ่อนที่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อรวมตัวกันก็จะสามารถสนับสนุนเศรษฐกิจให้ยั่งยืนได้

ในส่วนของ Non-Bank ที่ยังมีการควบคุมอยู่ คือ 1. Agility ที่สามารถปรับเปลี่ยนบริการและโปรดักชั่นได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการและบริบทที่เปลี่ยนไปเสมอ ซึ่งในส่วนนี้อยากเห็น ธปท. มีการกำกับที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และ 2. Access การเข้าถึงทรัพยากร โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การทำ eKYC สามารถยืนยันตัวตนได้โดยไม่ต้องไปที่สาขา ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่สามารถทำได้ 100% ซึ่งต้องใช้ ND/ID ถึงจะสามารถทำได้ 100% แต่ก็มีราคาค่อนข้างสูง, ระบบชำระเงิน และฐานข้อมูลเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่ำ

"สุดท้ายคือไม่มีใครดีกว่าใคร แต่ต้องเปิดให้มีความหลากหลาย จึงจะสามารถทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่เรื่อยๆ รวมทั้งช่วยปิดช่องว่างที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา" นายสันติธาร กล่าว
นายสันติธาร กล่าวถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินว่า สามารถทำให้ทุกคนทั้ง Non-Bank และแบงก์ Win-Win ได้ อย่างไรก็ดี ระบบการเงินปัจจุบันนั้น เปรียบเสมือนตึกสูง ที่บริการทางการเงินบางอย่างสามารถเข้าถึงได้ยาก และเข้าถึงได้เพียงคนบางกลุ่มเท่านั้น เนื่องจากไม่มีบันไดเพื่อเข้าสู่ระบบทางการเงิน ดังนั้น บางรายจึงต้องพึ่งพาการเงินนอกระบบ

ทั้งนี้ หากมีระบบโครงสร้างทางการเงินที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย เช่น การยืนยันตัวตนด้วย ND/ID การเข้าถึงระบบ Payment ต่างๆ ก็จะทำให้การเข้าถึงระบบทางการเงินเกิดได้ง่ายขึ้น ซึ่งเมื่อมีธุรกรรมทางการเงินมากขึ้น ทั้ง Non-Bank และแบงก์ก็จะได้ประโยชน์ทั้งหมด เช่น ในประเทศอินเดีย มีระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ดี เปิดให้ Non-Bank มาใช้ระบบการเงินของธนาคารพาณิชย์ได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว ทำให้ปริมาณการเงินทางธุรกิจเติบโตถึง 45% ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

นายสันติธาร ได้ให้ความเห็นในเรื่องของ Open DATA ว่า ระบบข้อมูลเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เช่น ในประเทศสิงคโปร์มี ID ของทั้งตัวบุคคล และของธุรกิจ ซึ่งมีการจัดระเบียบข้อมูล และเมื่อต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือต้องการตรวจสอบข้อมูลทางการเงิน ก็สามารถตรวจสอบจากข้อมูลที่กระจายไปเก็บไว้ยังกระทรวงต่างๆ ได้ จึงเป็นการอำนวยความสะดวกทางการเงิน และจะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจสีขาวที่สามารถต่อยอดได้อีกจำนวนมาก

พร้อมกันนี้ ยังเห็นว่าปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของการกำกับดูแลจาก Rule based สู่ Principle based คือ

1. Attract การดึงดูดคนให้เข้ามาสู่ระบบมากขึ้น ซึ่งจะต้องไม่มีการกำกับหรือออกกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเกินไปจนกลายเป็นการผลักดันให้คนออกไปนอกระบบ

2. Build การสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจให้เกิดขึ้น ทั้งฝั่งของ player และ regulator

3. Communication ต้องมีการสื่อสารอย่างเปิดใจ และรับฟังซึ่งกันและกัน

4. Diversity มีผู้เล่นที่หลากหลาย

ขณะที่นางเมธินี จงสฤษดิ์หวัง Thailand Country Consulting Leader and Executive Director บริษัท Deloitte Consulting กล่าวว่า ในส่วนของการทำแนวทางการเปิดโอกาสให้ภาคการเงินใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูล ภายใต้หลักการ 3 Open ของธปท. สามารถแบ่งคำแนะนำออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. Expectations คือ การทำแนวทาง 3 Open ของธปท. ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น ที่ประเทศอังกฤษ ตั้งเป้าว่าทำเพื่อนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามา และโครงสร้างหรือกรอบการดำเนินการของธนาคารก็จะวางตามแนวทางนั้น เป็นต้น

2. Enablement เช่น ประเทศสิงคโปร์มี Virtual Bank หรือการให้บริการโดยไม่มีสาขาหรือมีสาขาน้อยมาก โดยใช้ ND/ID และ eKYC มาใช้โดยไม่ให้ใช้ตู้ ATM ซึ่งในส่วนนี้ธปท. ได้เปิดกว้างในเรื่องนี้บ้างแล้ว แต่ต้องวางโครงสร้างพื้นฐานให้เท่าเทียมกับทั้งผู้เล่นรายเก่า และรายใหม่ นอกจากนี้ ยังต้องมี Supervisory เนื่องจากธุรกิจทางการเงินเป็นธุรกิจที่ต้องบริหารความเสี่ยง

3. Critical Success Factors จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนให้ชัดเจน เช่น ในประเทศบราซิล มีการจัดหมวดหมู่คนที่ใช้เครดิตการ์ด หรือ Kakao Bank ที่ใช้ Kakao Talk เป็นต้น

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า สิ่งที่ภาคธุรกิจอยากเห็นความชัดเจนในเรื่องของสินทรัพย์ดิจิทัลคือ จะสามารถมาแทนอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคส่งออกมี pain point ในเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้องการทำธุรกิจภายใต้ความเสี่ยงเช่นนี้ ต่อให้มีตัวช่วยจากธนาคารในเรื่องการประกันความเสี่ยง แต่ก็เป็นการประกันแค่จะไม่ขาดทุนไปมากกว่านี้ ไม่ใช่การประกันว่าจะได้กำไรต่อ

"ถ้าเป็น coin ที่ออกมาเพื่อทั้งโลก ซึ่งตอนนี้ธนาคารโลกก็คิดตัวนี้เหมือนกันว่าเป็น coin ของธนาคารกลางที่ร่วมกันทั่วโลกได้ไหม ถ้าออกมาในแบบนี้ มีธนาคารกลางของแต่ละประเทศแบคอัพด้วย ก็น่าจะใช้ในเชิงธุรกิจจริงจังมากกว่า แต่ในตอนนี้บิตคอยน์ที่มีหลายสกุล ก็คงเป็นการค้าในเชิง e-commerce แต่ในเชิงของภาคธุรกิจ คือต้องการเห็น stable coin" นายวิศิษฐ์ กล่าว