ผู้เขียน หัวข้อ: ก.อุตฯ เดินหน้ายกระดับนักธุรกิจเกษตรด้วยเทคโนโลยีโดรนสู่เกษตรอุตสาหกรรม  (อ่าน 385 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Jessicas

  • *
  • กระทู้: 511
  • Popular Vote : 0
ก.อุตฯ เดินหน้ายกระดับนักธุรกิจเกษตรด้วยเทคโนโลยีโดรนสู่เกษตรอุตสาหกรรม

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ DIPROM ขานรับนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG Model (Bio economy - Circular Economy - Green Economy) ด้วยการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายควบคู่ไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) โดยการช่วยเหลือและให้คำแนะนำผู้ประกอบการ ตลอดจนการยกระดับศักยภาพภาคการเกษตรไปสู่เกษตรอุตสาหกรรมด้วยการนำหลักเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตามโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG Model ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำองค์ความรู้มาผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาต่อยอดการประกอบการธุรกิจ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกร

ซึ่งที่ผ่านมา ได้ดำเนินการครอบคลุมในหลากหลายมิติ ทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมในการพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะมุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพนักธุรกิจเกษตรสู่ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม เนื่องจากมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการพัฒนาจากเกษตรกรรมสู่เกษตรอุตสาหกรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาต่อยอดการผลิต

"DIPROM จึงได้จัดทำกิจกรรมพัฒนาผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรม (DIPROM Agro-Tech Productivity) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน นักธุรกิจเกษตร เข้าถึงเทคโนโลยีโดรน รวมทั้งยกระดับกระบวนการผลิตจากเกษตรกรรมสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยนำเทคโนโลยีโดรนสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและช่วยให้เพิ่มผลผลิตได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนมีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการ วางแผนการผลิต และดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม" นายณัฐพล กล่าว
นอกจากนี้ ยังจะสามารถประเมินสุขภาพพืชที่เพาะปลูกโดยใช้ภาพถ่าย Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) จากดาวเทียมในการประเมินข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ก่อนปรับปรุงและสนับสนุนให้เกิดการทดลองพัฒนาต่อไป โดย DIPROM จะเข้าไปให้บริการคำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม และสำรวจแปลงเกษตร พร้อมทั้งออกแบบการพัฒนาปรับปรุง ดังนี้

1. การประเมินสุขภาพพืชที่เพาะปลูกโดยใช้ภาพถ่าย Normalized Difference Vegetation Index (NDVI) จากดาวเทียม เพื่อประเมินข้อมูลพื้นฐาน (Baseline) ก่อนการปรับปรุง 2. การสนับสนุนในการทดลองพัฒนา อาทิ การส่งทีมโดรนเกษตรเพื่อทำการฉีดพ่นสารเสริมประสิทธิภาพการเจริญเติบโต โดยหลังการฉีดพ่นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จะทำการประเมินผลการพัฒนาปรับปรุงโดยภาพถ่าย NDVI และ 3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงผลของเทคโนโลยีที่ได้ทดลองใช้ต่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงานการเพิ่มประสิทธิภาพความสม่ำเสมอของการเจริญเติบโตของพืชผล จากการประเมินด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพสม่ำเสมอและสามารถเข้าถึงได้ทุกพื้นที่และจะช่วยส่งเสริมความยั่งยืนให้แก่ธุรกิจเกษตรได้

นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2565 ได้ดำเนินงานภายใต้ นโยบาย DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติ และสอดรับกับบริบททั้งในชิงเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ซึ่งหนึ่งในดีพร้อมแคร์ (CARE) คือ การพัฒนาและยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ภายใต้สถานการณ์ทุกการเปลี่ยนแปลง (Reformation) โดยเฉพาะการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ส่งผลให้การประกอบธุรกิจต้องตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ซึ่งปัญหาที่พบเจอของผู้ประกอบการ เช่น เทคโนโลยี การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์กับแต่ละตลาด หรือแม้แต่กระทั่งความสามารถของแรงงานในแต่ละภูมิภาคที่กลับคืนถิ่น DIPROM จึงตระหนักและได้ปฏิรูปกลไกการดำเนินงานในภาพรวมของทุกโครงการและกิจกรรมให้มีรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับยุค New Normal หรือเศรษฐกิจวิถีใหม่ โดยได้วางรูปแบบและโปรแกรมสนับสนุนภาคธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงนักธุรกิจเกษตรสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 ด้าน ซึ่งหนึ่งนั้น คือ การสนับสนุนปัจจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการการดึงเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจด้วยการนำ Digital SI-for-SME โดยการเชื่อมโยงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพด้านออโตเมชันมาสนับสนุนการประกอบการ เพื่อเป็นการสร้างธุรกิจที่ตอบโจทย์บริบทการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน และสามารถช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของนักธุรกิจเกษตรสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างดี และส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตต่อไป