ผู้เขียน หัวข้อ: BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ที่ 33.00-33.50  (อ่าน 391 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ hs8jai

  • *
  • กระทู้: 769
  • Popular Vote : 0
BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ที่ 33.00-33.50
« เมื่อ: มกราคม 18, 2022, 05:33:35 pm »
BAY คาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ที่ 33.00-33.50 จับตาข้อมูลเศรษฐกิจจีน

กลุ่มงานโกล.มาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.00-33.50 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทปิดแข็งค่าที่ 33.21 บาท/ดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 33.14-33.74 บาท/ดอลลาร์ เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินสำคัญในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยดัชนีดอลลาร์แตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือน

ขณะที่ถ้อยแถลงของประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และข้อมูลเงินเฟ้อสอดคล้องกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ของตลาดที่ว่าเฟดมีแนวโน้มจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปีนี้ ค่าเงินดอลลาร์จึงขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ ทั้งนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคมของสหรัฐฯ พุ่งขึ้น 7.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 40 ปี

ทางด้านดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธันวาคมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ส่งผลให้นักลงทุนคาดว่าปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานอาจเริ่มคลายตัวลงและอัตราเงินเฟ้ออาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ขณะที่ท้ายสัปดาห์ สหรัฐฯ รายงานยอดค้าปลีกเดือนธันวาคมลดลงเกินคาด แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 5,278 ล้านบาท และ 27,041 ล้านบาท ตามลำดับ

กลุ่มงานโกล.มาร์เก็ตส์ฯ มองว่า ตลาดจะให้ความสนใจกับข้อมูลเศรษฐกิจจีน ซึ่งรวมถึงจีดีพีไตรมาส 4/64 การผลิตภาคอุตสาหกรรมและยอดค้าปลีกเดือนธันวาคม เพื่อประเมินสัญญาณการชะลอตัวและโมเมนตัมต่อเนื่องในช่วงต้นปีนี้ นอกจากนี้คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) จะคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับติดลบ 0.1% ตามเดิมหลังการประชุมวันที่ 18 มกราคม อย่างไรก็ตาม บีโอเจอาจปรับเพิ่มประมาณการเงินเฟ้อตามราคาพลังงานในตลาดโลกที่สูงขึ้น

อนึ่ง BAY คาดว่าแรงขายดอลลาร์ในช่วงนี้ สะท้อนการปรับสถานะการลงทุนและปัจจัยทางด้านเทคนิคเป็นสำคัญ อีกทั้งตลาดไม่แน่ใจว่าในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าเฟดจะสามารถขึ้นดอกเบี้ยไปสู่จุดสูงสุดของวัฏจักรนี้ที่ 2.5% ตามที่เฟดเคยประมาณการไว้ได้หรือไม่

สำหรับปัจจัยในประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ยังเปราะบาง โดยคาดว่าการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนจะกระทบจีดีพีราว 0.3% ขณะที่เศรษฐกิจจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโรคระบาดในไตรมาส 1/66 ขณะที่ ธปท.ไม่กังวลกับเงินเฟ้อในประเทศ ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยและการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด รวมถึงธนาคารกลางชั้นนำของโลกจะมีผลต่อตลาดการเงิน แต่ผลต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวมจะค่อนข้างจำกัด ท่าทีดังกล่าวสนับสนุนมุมมองของกรุงศรีที่ว่าดอกเบี้ยนโยบายของไทย จะถูกตรึงไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% ตลอดปีนี้