ผู้เขียน หัวข้อ: KBANK ชี้ศก.ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากโควิด  (อ่าน 332 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0
KBANK ชี้ศก.ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากโควิด
« เมื่อ: มกราคม 30, 2022, 08:56:55 am »
KBANK ชี้ศก.ไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากโควิด ยังไม่เหมาะใช้นโยบายการเงินตึงตัว

น.ส.กฤติกา บุญสร้าง ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ "Covid-19 ระลอกใหม่กับผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงิน ไตรมาสที่ 1/2565" ว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนระลอกใหม่มีสถิติสูงสุดวันละกว่า 4 ล้านราย แต่กลับไม่มีผลกระทบทางเศรษฐกิจเหมือนระลอกที่มีการระบาดของสายพันธุ์เดลตาก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีปริมาณการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น และรัฐบาลไม่ได้มีมาตรการที่เข้มงวด เช่น การล็อกดาวน์ ซึ่งช่วยให้สามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้

"ไม่ใช่สายพันธุ์โอมิครอนจะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจเลย อย่างน้อยก็กระทบต่อด้านบริการ แต่ยังมีการขยายตัวอยู่" น.ส.กฤติกา กล่าว
ส่วนผลประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ล่าสุดทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้ง โดยครั้งแรกในเดือน มี.ค.นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงที่ 7% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 2% และคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง

"การที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนมีนาคม ก็เหมือนการลองให้ยาคนป่วยโดสแรก พอไตรมาสที่สอง หากเงินเฟ้อชะลอตัวลงก็จะคลายแรงกดดันลงไป" น.ส.กฤติกา กล่าว
สำหรับระบบเศรษฐกิจของไทยที่ยังพึ่งพาการท่องเที่ยว ส่วนการส่งออกจะยังคงมีอัตราการเติบโตต่อไป แต่ไม่ขยายตัวในระดับ 16-17% เหมือนในปีก่อน น่าจะขยายตัวได้แค่ 3-4% และมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 4% ขณะที่การท่องเที่ยวต้องรอดูสถานการณ์หลังกลับมาใช้มาตรการ Test and Go

อย่างไรก็ตาม การที่ระบบเศรษฐกิจของไทยยังไม่ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ตามเดิม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาจากราคาน้ำมันหลังเกิดสถานการณ์ตึงเครียดในยูเครน ขณะที่ปัญหาราคาสินค้าแพงจะส่งผลกระทบในเรื่องค่าครองชีพ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะที่สูงขึ้นอยู่ที่ 64.8% ของจีดีพีในสิ้นปีนี้ ทำให้มีช่องว่างการกู้เงินน้อยลง หากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ภาครัฐมีภาระการจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย

"ระบบเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้ฟื้นตัวร้อนแรงจนจำเป็นต้องใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัว เพื่อชะลอการเติบโต" น.ส.กฤติกา กล่าว
สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้คาดว่าเงินบาทจะอยู่ที่ 32.00 - 32.50 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงไตรมาสแรกมีความผันผวนก่อนที่เฟดจะมีนโยบายการเงินชัดเจน โดยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยบวก ได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มกลับมาเป็นบวก ซึ่งปีก่อนเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าสุดในภูมิภาค

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนฯ กล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท โดยในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าไปมาก แต่หลังจากที่มีการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ยังไม่เหมาะที่ ธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามเฟดที่มีสถานการณ์เหมาะสม เพราะมีอัตราเงินเฟ้อสูง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยไม่ได้สูงมากนักอยู่ที่ 1.5% อาจเป็นภาวะเงินฝืดมากกว่า ซึ่งเฟดนิยมใช้ดอกเบี้ยนโยบาย และตราสารหนี้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ แต่ไม่ชอบใช้เครื่องมือเรื่องสำรองเงินฝาก

"ปัญหาเงินเฟ้อมาจากการติดขัดด้านอุปทาน ถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นดอกเบี้ยแล้ว พรุ่งนี้ราคาหมูลดลงหรือเปล่า" นายกอบสิทธิ์ กล่าว
การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจากมาตรการ QE ที่ธนาคารพาณิชย์นำเงินมาฝากไว้ เพราะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เช่นกัน ซึ่งเท่าที่สังเกตดูแล้วเฟดระมัดระวังไม่ให้หุ้นตก และดำเนินมาตรการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้มาตรการทางการเงินตึงตัวมากเกินไป โดยจะดูแลสภาพการเงินให้อยู่ในทิศทางผ่อนคลาย

นอกจากนี้ สถานการณ์ตึงเครียดในประเทศยูเครนยังเป็นเรื่องที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันแน่นอน หากสหรัฐใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย จะทำให้ปริมาณน้ำมันหายไปจากตลาด 10%

นายนรวิชญ์ เวทไว ผู้บริหารงานขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินฯ กล่าวว่า ตลาดขานรับแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมานานพอสมควรจนคุ้นชินแล้ว แต่หากในอนาคตเฟดไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยตามที่ได้ประกาศไว้ ก็น่าจะเป็นประเด็นใหม่ และทุกครั้งที่ธนาคารกลางของประเทศหลักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายจะส่งผลให้เกิดความผันผวน

สำหรับค่าเงินบาทในปีก่อนอ่อนค่าราว 10% ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องระมัดระวังความผันผวนที่อาจส่งผลให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าได้ เนื่องจากขณะนี้มีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากมีกำไรแล้ว อยากให้ปิดสถานะเพื่อลดความเสี่ยง ส่วนผู้นำเข้าก็คงต้องรออาศัยจังหวะแข็งค่าลงมาแล้วปิดสถานะ