ผู้เขียน หัวข้อ: Kiss of Beauty สกินแคร์สัญชาติไทย ที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง  (อ่าน 397 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
Kiss of Beauty สกินแคร์สัญชาติไทย ที่ไม่หยุดพัฒนาตัวเอง เร่งเดินหน้ารุกตลาดอาเซียน

ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ธุรกิจความงามยังคงเป็นที่จับตามองอยู่เสมอ ยิ่งในวิกฤต COVID-19 ผู้บริโภคยิ่งมีพฤติกรรมใส่ใจดูแลตัวเองมากยิ่งขึ้น คุณบีม กิตติพนธ์ นามพิชญ์ธนสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คิสออฟบิวตี้ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายและส่งออกผลิตภัณฑ์เพื่อความงามและบำรุงผิวไทยแบรนด์แรกที่บุกตลาดโลชั่นน้ำหอมในไทยและขยายสู่ตลาดส่งออก เปิดเผยเคล็ดลับการประสบความสำเร็จจากแนวคิดการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกมิติให้กับผู้บริโภค ไม่หยุดคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเดินหน้ารุกขยายตลาดทั่ว ASEAN

จุดเริ่มต้นและแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ
จาก Passion และความชอบส่วนตัวในด้านการทำธุรกิจ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ตัดสินใจแบ่งเวลาจากการทำงานประจำ มาลองขายของบนตลาดความงามออนไลน์ผ่านช่องทาง Instagram ประมาณ 5-6 เดือน สินค้าตัวแรกเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าชื่อ Malissa K.I.S.S. ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากลูกค้า หลังจากนั้นจึงลาออกจากงานประจำ และจัดตั้งบริษัท คิสออฟบิวตี้ เต็มตัว ซึ่งก้าวเข้าสู่ปีที่ 9 ในปัจจุบัน

จากความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ตัวแรก ทำให้เรามองหาโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ มากขึ้น จนค้นพบโอกาสที่ท้าทายในยุคนั้นคือ โลชั่นน้ำหอม ซึ่งถือได้ว่า เราเป็นแบรนด์ไทยแบรนด์แรกที่บุกตลาดโลชั่นน้ำหอมตั้งแต่ปี 2560 และประสบความสำเร็จทั้งในแง่รายได้และความนิยมของผู้บริโภค

แนวคิดและหลักการในการทำธุรกิจ
Think Customer First คือ Value ตัวแรกของบริษัท ด้วยแนวคิดว่า ลูกค้าคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งที่เราทำ โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาให้กับลูกค้าด้วยความเข้าใจ ไม่หยุดยั้งที่จะค้นหา สร้าง และประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและทำให้ลูกค้ามีความสุข และพึงพอใจมากที่สุด

ปัจจุบันเราอยู่ในโลกแห่ง VUCA (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) ดังนั้น เราจึงให้สำคัญกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสำหรับ Kiss of Beauty อีกหนึ่ง Value ของบริษัท คือ We Drive Change เราคือผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นบริษัทจึงพยายามค้นหาโอกาสในการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมให้กับทุกสิ่ง เพราะเชื่อว่า ?เราต้องเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงจะมาเปลี่ยนเรา?

Think Big, Start Small & Move Fast ด้วยความที่ Kiss of Beauty เป็นธุรกิจ SMEs จึงอาจไม่มีทรัพยากรมากมายเหมือนบริษัทใหญ่ ๆ เราจะเริ่มต้นจากการมองหาโอกาสที่ใหญ่ และทดลองตลาดใน Scale เล็ก ๆ เพื่อบริหารความเสี่ยง หากสิ่งที่เราทดลองนั้นประสบผลสำเร็จ เราจะเร่ง Speed ขยายผลสำเร็จนั้นอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยความคล่องตัวและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างรวดเร็วของทีมงานในการต่อยอดโอกาสนั้น ๆ

วิกฤต COVID-19 และการรับมือ
จากสถานการณ์ COVID-19 และมาตรการ Lockdown อย่างเข้มข้นตลอดระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ไม่ว่าจะด้านการผลิต ช่องทางการจัดจำหน่าย และยอดขายที่ลดลงไปจากเดิม เพราะสภาพเศรษฐกิจซบเซา ประกอบกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมีการใส่หน้ากากอนามัยปิดใบหน้า ทำให้ผู้บริโภคตัดค่าใช้จ่ายด้านความงามลงประมาณ 20-30%

บริษัทได้ค้นพบบทเรียนที่สำคัญ ดังนี้
ห่วงโซ่อุปทานเกิดภาวะชะงักงัน (Supply Chain Disruption) ทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจจำเป็นต้องวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นแบบวันต่อวัน ดังนั้นการที่ภาคธุรกิจมี Business Continuality Plan (BCP) อย่างชัดเจน หรือแม้แต่แผนงานสำรอง (Back-up Plan) เพื่อรองรับทุกปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น กลายเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป
การตลาดแบบ Omni Channel โดยปัจจุบันเส้นแบ่งระหว่าง Online shopping และ Offline shopping สำหรับผู้บริโภคได้หายไปแล้ว ผู้บริโภคมองหา Conveniece / Cost / Experience ที่ดีที่สุดในการซื้อสินค้า ธุรกิจจึงจำเป็นต้องเร่งปรับตัว และปรับรูปแบบการทำธุรกิจใหม่ เรื่องเหล่านี้ทำให้บริษัทต้องกลับมาตั้งคำถามว่า ปัจจุบันลูกค้าของเราใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนโลก Online และ Customer Journey ในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้านั้นเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นจึงนำมาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด ตั้งแต่การสร้างการรับรู้ ไปจนถึงการซื้อสินค้า พร้อมด้วยการบริหารประสบการณ์ลูกค้า เพื่อให้ตอบสนองต่อ Customer Lifestyle ที่เปลี่ยนไป
Data Driven & Digitisation ปัจจุบันประเทศไทยมี Facebook Users กว่า 50 ล้านบัญชี ผู้ใช้เป๋าตังมากกว่า 40 ล้านคน ผู้ซื้อของผ่านช่องทาง Online มากกว่า 35 ล้านคน สิ่งสำคัญที่ตัวเลขพวกนี้บ่งชี้คือ ในวันนี้มี Customer Data มหาศาลที่อยู่บนโลก Online และทำให้เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น บริษัทจึงต้องปรับตัว พร้อมกับพัฒนาขีดความสามารถในการนำ Customer Data เหล่านี้มาวิเคราะห์และต่อยอดกลยุทธ์การตลาด นอกจากนี้ยังต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานและระบบการทำงานขององค์กรให้รองรับบริบทที่เปลี่ยนไป โดยบริษัทมุ่งมั่นที่จะก้าวเข้าสู่ Digital Enterprise อย่างเต็มที่ในปีนี้
Cross Border Export ต้องยอมรับว่า ธุรกิจการส่งออกในปัจจุบันกำลังเผชิญ Distruption เช่นเดียวกัน เห็นได้จากโรงงานในจีนจำนวนมากส่งของมาขายบน E-Commerce Platform โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวแทนจำหน่ายหรือสาขาที่ไทย ขณะเดียวกันบริษัทต่าง ๆ ของไทยก็สามารถขยายตลาดการส่งออกไปหลาย ๆ ประเทศได้ด้วย Cross-border E-Commerce Platform ดังนั้นเรื่องของการค้าข้ามแดน (Cross Border) จึงควรเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักที่ผู้ประกอบการต้องสามารถผลักดันให้เติบโตสู่ตลาดต่างประเทศด้วยงบประมาณที่ต่ำกว่าการส่งออกในรูปแบบเดิม ๆ ได้
การสนับสนุนของ EXIM BANK
EXIM BANK เป็นธนาคารที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ส่งออกได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว EXIM BANK ยังสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ และการพัฒนาธุรกิจให้ทันสมัยอยู่เสมอ แม้ในวิกฤต COVID-19 EXIM BANK ได้ออกมาตรการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ส่งออกอย่างทันท่วงที นับว่าเป็นกองหลังที่คอยสนับสนุนผู้ส่งออกอย่างแท้จริง
เป้าหมายหรือแผนพัฒนาธุรกิจในอนาคต
บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะผลักดัน Malissa Kiss ให้เป็นแบรนด์ไทยที่โตจากระดับ Local สู่ Regional ด้วยการมุ่งเน้นขยายตลาดให้ทั่ว ASEAN และผลักดัน Kiss of Beauty สู่การเป็น ASEAN Beauty หรือผู้สร้างสรรค์ความสวยงามในระดับ ASEAN
บริษัทมี Vision ที่เรียกว่า 25:50:50 ซึ่งหมายถึงสัดส่วนของเป้าหมายที่เรากำลังเร่งเดินหน้าให้เกิดขึ้นภายในปี 2025 (พ.ศ. 2568) โดยบริษัทจะมีลูกค้า 50 ล้านคนทั่วทั้ง ASEAN และมียอดขายจากช่องทาง Online 50% ดังนั้นบริษัทจึงพยายามเร่ง Transform เข้าสู่ Digital Enterprise อย่างแท้จริง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น

ฝากถึงผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจส่งออก
การศึกษาและเข้าใจความแตกต่างของตลาดในแต่ละประเทศอย่างชัดเจนเป็นพื้นฐานสำคัญก่อนการเริ่มต้นธุรกิจส่งออก เพราะจะช่วยให้เราวางแผนธุรกิจได้อย่างรอบคอบและรัดกุมมากขึ้น นอกจากนี้การมีพาร์ทเนอร์ด้านเงินทุนที่เข้าใจธุรกิจส่งออกอย่างแท้จริงก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน เพราะความเชี่ยวชาญเหล่านี้จะช่วยเสริมศักยภาพธุรกิจการส่งออกของเราให้เติบโตได้อย่างราบรื่นมากที่สุด ในวันนี้ โลกเรามี Disruption เกิดขึ้นตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ประกอบการคือ การเข้าใจในบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถรับมือ ปรับตัวและเปลี่ยนแปลงธุรกิจ และตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เดือนมกราคม 2565