ผู้เขียน หัวข้อ: ตลาดเงินบาท: ปิด 32.65 แข็งค่าสุดในภูมิภาค รอรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้  (อ่าน 329 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.65 แข็งค่าสุดในภูมิภาค รอรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯคืนนี้-จับตาศบค.พรุ่งนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.65 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 32.71 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 32.58 - 32.77 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง และแข็งค่ามากสุดเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค ที่ส่วนใหญ่การเคลื่อนไหวยังเป็น แบบ sideway เพราะรอติดตามการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน ม.ค.ของสหรัฐในคืนนี้ ช่วงนี้การแข็งค่าของเงินบาท เป็นผลจากการ เข้ามาของ flow ทั้งในฝั่งพันธบัตรและตลาดหุ้น

ขณะที่ ปัจจัยในประเทศพรุ่งนี้ ต้องติดตามการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่ ว่าจะมีการปรับ มาตรการด้านสาธารณสุขเพิ่มเติมหรือไม่ หลังจากจำนวนผู้ป่วยใหม่รายวันเพิ่มขึ้นแตะระดับหมื่นคนต่อเนื่องกันหลายวัน

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.55 - 32.75 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.77 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 115.51 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1445 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1417 ดอลลาร์/ยูโร
ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,703.00 จุด ลดลง 0.16 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 112,335 ล้านบาท
สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 8,590.27 ลบ.(SET+MAI)
ติดตามการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ชุดใหญ่วันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาแนวปฏิบัติ หรือการ
กำหนดมาตรการที่เข้มข้นขึ้นในช่วงวาเลนไทน์ และเทศกาลสงกรานต์ เนื่องจากหลายฝ่ายมีความกังวลต่อยอดผู้ติดเชื้อรายวันที่กลับมาเพิ่ม
ขึ้นเป็นระดับหมื่นคนติดต่อกันหลายวันแล้ว
ม.หอการค้าไทย เผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค.65 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 44.8 จาก
ผลของความกังวลสถานการณ์ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอนระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันกลับมาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง
ศบค.ยังยกเลิกการเดินทางเข้าประเทศระบบ Test&Go เป็นการชั่วคราวในเดือนม.ค. ซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนให้ระมัด
ระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ม.หอการค้าไทย มองภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นจะเป็นสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น จากผลพวงของราคาน้ำมันในตลาด
โลก และอาจจะเห็นเงินเฟ้อในครึ่งปีแรกอยู่ที่ระดับ 2.5-3.5% แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่าจะไม่เป็นแรงกดดันต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และไม่ทำ
ให้ กนง.ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะทั้งปี 65 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3%
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้สถานการณ์ท่องเที่ยวของไทย ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังเผชิญผลกระทบจากการ
แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปี 63-64 ตั้งเป้าปี 65 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาเป็น 10 ล้านคน, ปี 66 ที่ 20 ล้าน
คน และเชื่อว่าสถานการณ์ท่องเที่ยวจะกลับมาดีกว่าช่วงก่อนโควิดได้ในปี 67
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ระบุ จะทบทวนระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เงินเฟ้อ
พุ่งสูงขึ้นในปีหน้า หลังจากตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยเพื่อหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในขณะนี้
ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (repo rate) ที่ระดับ 4% และคงอัตราดอกเบี้ย
reverse repo ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางใช้อ้างอิงในการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ที่ระดับ 3.35% โดย
อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังคงอยู่ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ตัวเลข
เงินเฟ้อจะพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี
แบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 7 ครั้งในปีนี้ โดยปรับขึ้นครั้งละ 0.25% ซึ่งหาก
เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามที่แบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ หมายความว่า เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมทั้ง 7 ครั้งที่เหลือในปี

นี้ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมี.ค.