ผู้เขียน หัวข้อ: เตรียมพร้อมรับมือกับการดูแลผู้สูงอายุด้วยความเข้าใจ  (อ่าน 514 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ kissmeplz

  • *
  • กระทู้: 16
  • Popular Vote : 0

เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า Generation gap ความห่างของช่วงวัยและช่วงอายุ ที่เป็นสาเหตุทำให้คนต่างวัยขาดการพูดคุยและความเข้าใจ ยิ่งถ้าครอบครัวไหนมีผู้สูงวัยที่ต้องดูแลเอาใจใส่ อาจจะทำให้มีการละเลยเกิดขึ้นได้ วัยรุ่นที่ชอบออกสังคมและพบปะเพื่อน ทำกิจกรรมนอกบ้าน อาจจะทำให้ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา รู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง ซึ่งเรื่องนี้นั้น สมาชิกในครอบครัวต้องคุยกัน ทำความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง และต้องไม่ลืมว่า แต่ละคนนั้นมีความต้องการส่วนตัวที่แตกต่างกัน เลือกเวลาที่เหมาะสมเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อประสานความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

หากบ้านไหนมีผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัวและต้องการคนดูแลอย่างใกล้คิด คนในครอบครัวต้องสามัคคีและร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจผ่านช่วงเวลานี้ไปได้ และกำลังใจที่มอบให้กับผู้ป่วย ผู้สูงวัย ต้องมีอยู่เสมอ เพราะหากท้อแท้และสิ้นหวังแล้ว อาจจะทำให้อาการป่วยยิ่งแย่ลงมากขึ้นได้ การเลือกใช้ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการช่วยในเรื่องสุขลักษณะการขับถ่ายและการทำความสะอาด ซึ่งจะง่ายมากยิ่งขึ้นสำหรับคนที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น เว็บไซต์ HD Mall ได้แชร์ไว้ว่า วิธีการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียง ในทางการแพทย์แล้ว อาการนอนติดเตียงหมายถึงการที่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมจนต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา ซึ่งก็อาจจะพอที่จะขยับตัวได้บ้าง แต่ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองในเรื่องอื่น ๆ ได้เลย โดยอาจมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลาหรือเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ โดยผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงอาจจะมีทั้งผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัวก็ได้ นอกจากนี้แล้ว การนอนติดเตียงยังเป็นภาวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมามากมายซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เช่น การเกิดแผลกดทับ เกิดการขาดอาหารอย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินปัสสาวะ และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการนอนติดเตียงที่ต้องมาดูแลกันเองที่บ้าน ผู้ที่หน้าที่ดูแลป่วยจึงมีความสำคัญที่จะต้องคอยเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยนอนติดเตียงจึงมีวิธีที่ผู้ดูแลควรรู้ เพื่อที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้ฟื้นฟูตัวเองพอที่จะช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และยังเป็นการช่วยป้องกันผู้ป่วยจากการโรคแทรกซ้อนตามมาอีกด้วย ซึ่งผู้ดูแลแลพึงเอาใจใส่ผู้ป่วยในเรื่อง การนอน ผู้ป่วยนอนติดเตียงจะไม่สามารถพลิกตัวเองได้ และหากต้องนอนอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดแผลกดทับ ซึ่งในระยะแรกอาจจะทำให้ลอกแค่ผิว แต่พอนานวันเข้าก็อาจลอกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อหรืออาจถึงชั้นกระดูกเลยทีเดียว และหากร่างกายปราศจากผิวปกคลุมแล้ว โอกาสที่จะติดเชื้อก็เป็นไปได้ง่ายขึ้น