ผู้เขียน หัวข้อ: ครม.ไฟเขียวงบฯกว่า 1.4 พันลบ.ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต  (อ่าน 366 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
ครม.ไฟเขียวงบฯกว่า 1.4 พันลบ.ยกระดับท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการจัดสรรงบประมาณ 1,411.70 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยใช้ที่ดินราชพัสดุเนื้อที่ 141 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปี 66-69

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี วิทยาการทางการแพทย์ และระบบบริการทางการแพทย์รองรับการจัดบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขระดับนานาชาติที่ทันสมัย พัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์ มูลค่าสูงเชื่อมโยงการท่องเที่ยวนานาชาติ โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ

"การพัฒนาโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จ.ภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก จะเป็นต้นแบบด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป" นายธนกร กล่าว
สำหรับสาระสำคัญของการดำเนินโครงการฯ คือ มีการจัดสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ประกอบด้วย 1. ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติครบวงจร (International Health/Medical Plaza) 2. ศูนย์อภิบาลสุขภาพผู้สูงอายุนานาชาติ (Premium Long Term Care) 3. ศูนย์ใจรักษ์ (Hospice Home) หรือศูนย์การดูแลแบบประคับประคองในระยะสุดท้ายของชีวิต และ 4. ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจร (Rehabilitation Center)

ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการโครงการฯ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แจ้งว่า อยู่ระหว่างการหารือ โดยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ 1. ภาครัฐดำเนินการเอง 2. รูปแบบพิเศษ 3. โรงพยาบาลกึ่งรัฐกึ่งเอกชน 4. องค์กรมหาชน และ 5. ภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน ทั้งนี้ สธ. จะมีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) หลังจากที่ครม. มีมติอนุมัติในหลักการการจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินโครงการแล้ว

ในส่วนของประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้ จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา เพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) และท้องถิ่น ในพื้นที่หลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 สร้างโอกาสการลงทุน เกิดการกระจายรายได้สำหรับภาคเอกชน เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและภาคบริการอื่น ส่งผลให้มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกและสมุนไพรไทยด้วย