ผู้เขียน หัวข้อ: HL เริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ วันแรก  (อ่าน 550 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
แมนพงศ์ เสนาณรงค์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ พร้อมด้วย เภสัชกรธัชพล ชลวัฒนสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เฮลท์ลีด ร่วมพิธีเปิดการซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ของ บมจ. เฮลท์ลีด ร้านขายยาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ด้วยมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 2,665.6 ล้านบาท ในวันที่ 3 ธันวาคม 2564 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "HL"

ก.ล.ต. ร่วมกับ อบก. สมาคม บจ. และ PwC จัดสัมมนา "นโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ"

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และ บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด (PwC) จัดงานสัมมนาออนไลน์ Carbon CEO Dialogue หัวข้อ "นโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ : ร่วมส่งเสริมนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและเป้าหมาย Carbon Neutrality ของไทย" โดยได้รับเกียรติจาก นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "นโยบาย ความคาดหวัง และทิศทางการดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย" เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564

ADVERTISEMENT


งานสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจที่มีสาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยมุ่งเน้นความร่วมมือจากผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งผลให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในองค์กร

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า "ประเทศไทย
มีศักยภาพในการเป็นต้นแบบ Decarbonization ของภูมิภาคอาเซียน ในการเปลี่ยนถ่ายระบบเศรษฐกิจไทย
ไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลงทุนต่อเนื่องในประเทศตามมารวมถึงดึงดูดอุตสาหกรรม S-Curve ใหม่ๆ ในประเทศ ในส่วนของภาคตลาดทุนไทยก็มีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งเงินทุนและเป็นตัวกลางในการจัดสรรเงินทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ซึ่งในปัจจุบัน ก็เป็นที่ประจักษ์ว่าบริษัทที่คำนึงถึง ESG รวมถึงนโยบายด้าน Climate Change ด้วยนั้น สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อดึงดูดความสนใจและเงินลงทุนจากทั้งในประเทศและสากลที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้"

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า "ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนไทย ตระหนักถึงความสำคัญและความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจ จึงได้สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทยในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดประเด็นความยั่งยืนเป็นหนึ่งในเรือธงของแผนยุทธศาสตร์ของ ก.ล.ต. สอดรับกับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแบบ 56-1 One Report ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างความสามารถของภาคธุรกิจให้บริหารจัดการกับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญที่เกิดจากสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และจะมีผลใช้บังคับในปี 2565"

ADVERTISEMENT


นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ อบก. กล่าวว่า "เป้าหมายของ Carbon Neutrality และ Net Zero Greenhouse Gas Emission ที่ท้าท้ายของประเทศไทยจะประสบความสำเร็จมิได้ หากขาดนโยบายและมาตรการ หรือกลไก เพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเกิดการลงทุนสีเขียว และดำเนินธุรกิจที่มีคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยภาคธุรกิจจะเป็นกำลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายที่วางไว้"

นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันผลักดันโดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตลาดทุนไทย และมีบทบาทในการเชื่อมโยง (Networking) กับบริษัทจดทะเบียนไทย ขอเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการส่งเสริม สร้างความเข้าใจ และตระหนักรู้ เพื่อส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนนำเรื่องก๊าซเรือนกระจกผนวกเข้ากับแผนกลยุทธ์ และเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ ผ่านกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ในการถอดบทเรียนการดำเนินธุรกิจของบริษัทจดทะเบียนที่ได้ดำเนินการและมีความโดดเด่นด้านนี้ และรายการใน Facebook "CEO Talk" รวมถึงกิจกรรมส่งเสริมอื่นๆ อาทิ ร่วมกับบริษัทจดทะเบียนสนับสนุนให้ลดก๊าซเรือนกระจก การรณรงค์ให้ร่วมกันลดการใช้พลังงานจากฟอสซิล การลดการใช้ทรัพยากรหรือใช้อย่างคุ้มค่า (Circular Economy) และการรณรงค์ให้สร้างวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท"

นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ประธานกรรมการการบริหาร บริษัท PwC ประเทศไทย กล่าวในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "ความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อการประกอบธุรกิจ" ว่า "ESG ไม่ใช่แค่ 'เทรนด์' ที่ได้รับความนิยมเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หากองค์กรสามารถนำปัจจัยด้าน ESG มาผนวกเข้ากับพันธกิจกลยุทธ์ และแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง องค์กรก็จะสามารถหาจุดสมดุลระหว่างการบริหารผลกำไรระยะสั้นและผลตอบแทนที่ยั่งยืนที่สร้างผลกระทบเชิงบวก แม้ว่าวันนี้องค์กรไทยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ได้นำ ESG มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจมากเท่ากับบริษัทในต่างประเทศ แต่ความตื่นตัวของหน่วยงานกำกับและความนิยมของการลงทุนอย่างมีสำนึกรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจะเป็นแรงผลักดันให้องค์กรไทยเร่งนำ ESG มาผนวกเป็นกลยุทธ์สำคัญอย่างแน่นอน"

สำหรับการเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็นในหัวข้อ "การขับเคลื่อนธุรกิจสู่ยุค Net Zero" โดยผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทจดทะเบียน 4 แห่ง ได้แก่ นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดร.อดิศวร์ หลายชูไทย เลขานุการบริษัท และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โดยมี ดร.ชาริกา ชาญนันทพิพัฒน์ นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินรายการ

ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนทั้ง 4 ท่าน ได้เล่าถึงมุมมองเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) และแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนได้ให้มุมมองถึงแนวทางขับเคลื่อนเพื่อจัดการความท้าทายในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือเป้าหมาย Carbon Neutrality ที่แต่ละองค์กรได้ตั้งไว้ และแลกเปลี่ยนความเห็นและประสบการณ์การดำเนินงาน ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการผลักดันวาระการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการธุรกิจอย่าง ESG ควบคู่ไปกับการคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อมและปฏิบัติได้จริง โดยตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้เสีย

ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการส่งผลต่อไปสู่ผู้มีส่วนได้เสีย
มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี ค.ศ. 2065 และ Net Zero ภายในปี ค.ศ. 2050