ผู้เขียน หัวข้อ: ปตท. - กฟผ. ลงนามฯ สัญญาร่วมทุนโครงการ LMPT2  (อ่าน 377 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
ปตท. - กฟผ. ลงนามฯ สัญญาร่วมทุนโครงการ LMPT2
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2022, 11:23:12 pm »
ปตท. - กฟผ. ลงนามฯ สัญญาร่วมทุนโครงการ LMPT2 เดินหน้าสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว

ปตท. - กฟผ. ลงนามบันทึกสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุนโครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Receiving Terminal) แห่งที่ 2 ต.หนองแฟบ จ.ระยอง สร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในระยะยาว ดันไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวในอาเซียน

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุนโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 (LMPT2) ตำบลหนองแฟบ จังหวัดระยอง ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และ นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้ลงนาม พร้อมด้วยนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอธิคม เติบศิริ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ ปตท. นางราณี โฆษิตวานิช รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. และ นายวุฒิกร สติฐิต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ปตท. ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2 อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่า ภาครัฐเล็งเห็นถึงโอกาสในการปรับรูปแบบการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการจัดหาและจัดส่งก๊าซธรรมชาติของประเทศ จึงได้มอบหมายให้สองรัฐวิสาหกิจหลักของประเทศ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมลงทุนในโครงการก่อสร้างคลังจัดเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG Receiving Terminal แห่งที่ 2 หรือ LMPT2 ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองแฟบ จังหวัดระยอง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศ ตามแนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย รองรับการนำเข้า LNG ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในระยะยาว และเสริมให้ประเทศไทยก้าวเป็นศูนย์กลางการซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวในภูมิภาคอาเซียน (LNG Regional Hub) ต่อไป

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้นับว่าเป็นความร่วมมือครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ระหว่างสองรัฐวิสาหกิจหลักของประเทศ ที่มีพันธกิจในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ที่ได้รับมอบหมายให้ผนึกกำลังร่วมกันดำเนินโครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่ ซึ่งจะช่วยให้การใช้งานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลให้ชัดเจน สนับสนุนการยกระดับความรู้ ความสามารถของบุคลากร ตลอดจนร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทางด้านพลังงาน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ประเทศ นอกจากนี้ ทั้งสององค์กรได้แสวงหาโอกาสความร่วมมือและการลงทุนร่วมกันในอนาคตอันใกล้ รวมถึงโครงการ LNG Receiving Facilities ภาคใต้ เพื่อรองรับการจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี ซึ่งถือเป็นการสานต่อความร่วมมือในการปฏิบัติงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับโครงการ LNG Receiving Terminal LMPT2 เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ กฟผ. ได้รับมติจากภาครัฐ ให้ดำเนินการเข้าร่วมลงทุนกับ ปตท. โดยภายหลังจากที่ กฟผ. และ ปตท. ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกันในปี 2564 ทั้งสองหน่วยงานได้ดำเนินการสอบทานทางธุรกิจ (Due Diligence) ในการประเมินมูลค่าโครงการ ตลอดจนศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ในวันนี้ กฟผ. และ ปตท. ได้ข้อตกลงร่วมกันในประเด็นเงื่อนไขสำคัญ และรายละเอียดเบื้องต้นของการร่วมลงทุนในโครงการฯ โดยได้จัดทำข้อตกลงดังกล่าวในลักษณะบันทึกสาระสำคัญของสัญญาร่วมทุน แล้วเสร็จ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบก๊าซธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการเพิ่มผู้ให้บริการในคลังกักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) อันจะช่วยส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ และเป็นไปตามแนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ที่จะส่งผลในการพัฒนาตลาดก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยให้มีศักยภาพและมีความมั่นคงต่อไป

การลงนามบันทึกสาระสำคัญของการร่วมทุนโครงการ LNG Map Ta Phut Terminal 2 (LMPT2) ของ ปตท. และ กฟผ. ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญในการยกระดับความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น และสร้างความเชื่อมั่นความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนไทยมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป