ผู้เขียน หัวข้อ: คณะกก.ดูแลเสถียรภาพการเงินเตือนคริปโทฯมีความเสี่ยง  (อ่าน 357 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Hanako5

  • *
  • กระทู้: 861
  • Popular Vote : 0
คณะกก.ดูแลเสถียรภาพการเงินเตือนคริปโทฯมีความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงินโลก

คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศ (Financial Stability Board - FSB) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลกระทบที่มีต่อระบบการเงินของโลก ได้ออกรายงานเตือนว่า วิวัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของตลาดคริปโทเคอร์เรนซีย์มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินโลก เนื่องจากขนาดของตลาดคริปโทฯ รวมทั้งความเปราะบางเชิงโครงสร้าง และความเกี่ยวพันต่อระบบการเงินดั้งเดิมที่เพิ่มมากขึ้นของตลาดคริปโทฯ

"ความเสี่ยงของสกุลเงินคริปโทฯที่มีต่อเสถียรภาพทางการเงินนั้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว" FSB กล่าวในรายงาน "Assessment of Risks to Financial Stability from Crypto-assets" พร้อมกับแนะนำให้เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายเข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น

การประเมินของคณะกรรมการ FSB ครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่บรรดาธนาคารและผู้เล่นรายใหญ่อื่น ๆ ในตลาดต่างก็เข้ามามีบทบาทในตลาดคริปโทฯเพิ่มมากขึ้นตามคำเรียกร้องของลูกค้า แม้ตลาดคริปโทฯมีความไม่แน่นอนก็ตาม

"ธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อระบบการเงินมีความเต็มใจมากยิ่งขึ้นในการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์สกุลเงินคริปโทฯ หากแนวโน้มการเติบโตในปัจจุบันและความเชื่อมโยงของคริปโทฯที่มีต่อสถาบันการเงินยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ย่อมสามารถส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินโลกในอนาคต" FSB กล่าว
ในปี 2564 มูลค่าตลาดคริปโทฯพุ่งขึ้นกว่า 3 เท่า แตะที่ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง โดยยังคงค่อนข้างมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นโลก ซึ่งมูลค่าล่าสุดอยู่ที่กว่า 120 ล้านล้านดอลลาร์

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม FSB ระบุว่า แม้ในปัจจุบันสินทรัพย์สกุลเงินคริปโทฯยังไม่ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากพอที่จะสร้างปัญหารุนแรง แต่หากยังคงเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง ความเสี่ยงย่อมจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน

คณะกรรมการ FSB กล่าวว่า ตลาดคริปโทฯอาจเกิดความผันผวนครั้งใหญ่จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่เหนือความคาดหมาย เพราะบรรดาผู้เล่นรายใหญ่เริ่มเข้ามามีบทบาท โดย FSB เปรียบเทียบกับภาวะฟองสบู่แตกในตลาดที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551

"เช่นเดียวกับในกรณีของวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์ การมีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย ไม่ได้หมายความว่าความเสี่ยงจะน้อยตามไปด้วย โดยเฉพาะหากขาดความโปร่งใสและมีการกำกับดูแลด้านกฎระเบียบที่ไม่เพียงพอ" FSB กล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมการ FSB ยังชี้ว่า แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานซื้อขายสินทรัพย์สกุลเงินคริปโทฯ และแม้แต่เสนอบริการอื่น ๆ เช่น การให้กู้เงินนั้น ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศส่วนใหญ่ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวตอกย้ำให้เห็นถึงการขาดความโปร่งใสเกี่ยวกับกิจกรรมของแพลตฟอร์มเหล่านี้