ผู้เขียน หัวข้อ: สภาพัฒน์ เร่งถกคลัง-ธปท.สะกัดหนี้ครัวเรือนพุ่ง ยันไม่ใช้มาตรการพักหนี้  (อ่าน 316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ailie662

  • *
  • กระทู้: 817
  • Popular Vote : 0
สภาพัฒน์ เร่งถกคลัง-ธปท.สะกัดหนี้ครัวเรือนพุ่ง ยันไม่ใช้มาตรการพักหนี้

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า สภาพัฒน์อยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในประเทศที่เพิ่มขึ้น เพื่อพิจารณาว่าจะมีมาตรการใดออกมาช่วยเหลือ ซึ่งจะต้องเป็นมาตรการเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้การแก้ปัญหาทำได้ตรงจุด ซึ่งจะไม่ใช้มาตรการพักชำระหนี้ เพราะจะทำให้เป็นการสร้างแรงจูงใจที่ไม่เหมาะสม (moral hazard)

"มาตรการลักษณะนี้ (การพักชำระหนี้) จะทำให้เกิด moral hazard ในระบบ ดังนั้นมาตรการที่จะออกมา ต้องดูในแง่ของการพุ่งเป้าให้ตรงกลุ่มมากขึ้น ตอนนี้กำลังหารือกันอยู่ น่าจะได้ข้อสรุปที่ก็อยากให้เร็ว แต่ต้องเคลียร์ข้อมูลก่อน ถึงค่อยมาดูว่ามาตรการที่จะออกไป จะพุ่งเป้าไปที่กลุ่มไหน อย่างไร" เลขาธิการสภาพัฒน์ ระบุ
ล่าสุดข้อมูล สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ในไตรมาส 3/64 อยู่ที่ 89.3% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ซึ่งอยู่ที่ 78.8% ซึ่งเป็นช่วงการระบาดของโควิด

ด้านนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หนี้ครัวเรือนไทยในปัจจุบันยังไม่อยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง เพราะส่วนใหญ่เป็นการกู้มาเพื่อประกอบอาชีพ เป็นหนี้ที่สะสมความมั่งคั่ง ขณะที่หนี้เพื่อการบริโภคนั้น ยังมีจำนวนไม่มากนัก

"สภาพัฒน์คงเป็นห่วงว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ ว่าจะทำอย่างไรให้คนที่มีหนี้ มีรายได้เพียงพอ เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และชำระหนี้ได้ เพื่อไม่ให้เกิดเป็นดินพอกหางหมู" นายพรชัย กล่าว
ทั้งนี้ ในไตรมาส 3/64 สัดส่วนหนี้จีดีพีของประเทศไทย อยู่ที่ 14.34 ล้านล้านบาท ขยายตัว 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นการเติบโตจากฐานต่ำในปีก่อน โดยในจำนวนนี้คิดเป็นหนี้ครัวเรือนเพื่อสะสมทรัพย์สิน และประกอบอาชีพมากกว่า 65% ขณะที่หนี้เสีย (NPL) ยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 2.8-2.9% ต่อ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้ครัวเรือนที่เกิดจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ อยู่ที่ 34.5%, หนี้ที่เกิดจากการซื้อรถยนต์-รถจักรยานยนต์ 12.4%, หนี้ที่ก่อเพื่อการประกอบอาชีพโดยตรง เกือบ 20%