ผู้เขียน หัวข้อ: คมนาคมเตรียมพร้อมผลักดันไทยเป็นฮับขนส่งสินค้าทางอากาศของอาเซียน  (อ่าน 312 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Shopd2

  • *
  • กระทู้: 1,209
  • Popular Vote : 0
คมนาคมเตรียมพร้อมผลักดันไทยเป็นฮับขนส่งสินค้าทางอากาศของอาเซียน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ร่วมลงนามในพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ในวันที่ 2 มีนาคม 2565 ณ กระทรวงคมนาคม

สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 กระทรวงคมนาคมจึงได้ดำเนินการตามมติดังกล่าว โดยการลงนามในพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียนนั้น จะเป็นการลงนามในลักษณะเวียน (Ad-Referendum) โดยจะมีการส่งมอบให้ประเทศสมาชิกที่มีความพร้อมในการลงนามถัดไปจนครบ 10 ประเทศสมาชิก ซึ่งก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ได้ลงนามพิธีสารเรียบร้อยแล้ว

พิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน เป็นการดำเนินการที่ประเทศไทยเสนอเปิดตลาดการให้บริการคลังสินค้า (Cargo Handling Services) แบบมีเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 โดยเป็นการอนุญาตให้ชาวอาเซียนถือหุ้นไม่เกิน 49% และอำนาจการบริหารกิจการเป็นของบุคคลสัญชาติไทย และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบิน

ทั้งนี้ จะสามารถให้บริการคลังสินค้าภายในท่าอากาศยานทั้ง 7 แห่ง ในการกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคมได้ ดังนี้ 1) ท่าอากาศยานอู่ตะเภา 2) ท่าอากาศแม่ฟ้าหลวง เชียงราย 3) ท่าอากาศยานหาดใหญ่ 4) ท่าอากาศยานอุดรธานี 5) ท่าอากาศยานอุบลราชธานี 6) ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และ 7) ท่าอากาศยานแม่สอด เพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ และเพิ่มทางเลือกให้แก่สายการบินและผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศให้สามารถบริหารต้นทุนและลดค่าระวาง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการขนส่งสินค้าทางอากาศภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในการขนส่งสินค้าทางอากาศทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่ง อีกทั้งยังช่วยลดความแออัดของท่าอากาศยานหลักในประเทศไทยด้วย