ผู้เขียน หัวข้อ: FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนฟื้นแต่ยังเป็นเกณฑ์ทรงตัว  (อ่าน 321 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ luktan1479

  • *
  • กระทู้: 1,132
  • Popular Vote : 0
FETCO เผยดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนฟื้นแต่ยังเป็นเกณฑ์ทรงตัวกังวลศึกยูเครน

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือน ก.พ.65 พบว่า "ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 113.03 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 20.4% จากเดือนก่อนหน้าลงมาอยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว"

โดยนักลงทุนมองว่าเงินทุนไหลเข้า เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-เครน และ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซีย-เครน รองลงมาคือความไม่แน่นอนเรื่องนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และสถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน

FETCO Investor Confidence Index สำรวจในเดือน ก.พ.65 ได้ผลสรุป ดังนี้

-ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (พ.ค.65) อยู่ในเกณฑ์ "ทรงตัว" (ช่วงค่าดัชนี 80-119) เพิ่มขึ้น 20.4% มาอยู่ที่ระดับ 113.03

-ดัชนีความเชื่อมั่นนักรายกลุ่มนักลงทุน พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนกลุ่มนักลงทุนบุคคลและกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในระดับ "ทรงตัว" ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในระดับ "ร้อนแรง"

-หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด หมวดธนาคาร (BANK)

-หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดประกันภัยและประกันชีวิต (INSUR)

-ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความคาดหวังเงินทุนไหลเข้า

-ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ ความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดใน รัสเซีย-เครน

นายไพบูลย์ กล่าวว่า ผลสำรวจ ณ เดือน ก.พ.65 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่าความเชื่อมั่นนักลงทุนบุคคลปรับลด 25.6% อยู่ที่ระดับ 90.53 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับเพิ่ม 18.7% อยู่ที่ระดับ 128.57 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 24.4% อยู่ที่ระดับ 94.44 และความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างชาติปรับเพิ่ม 185.7% มาอยู่ที่ระดับ 142.86

ในช่วงเดือน ก.พ.65 SET Index ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินทั่วโลกเตรียมจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ ทำให้มีต่างชาติซื้อสุทธิ 61,336 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี 65 ต่างชาติซื้อสุทธิรวม 75,570 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ดัชนีมีการปรับตัวลงแรงช่วงปลายเดือน หลังได้รับผลกระทบจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นมาก จนภาครัฐต้องประกาศยกระดับการเตือนภัยโควิด-19 เป็นระดับที่ 4 จากทั้งหมด 5 ระดับ รวมถึงได้รับผลกระทบจากความกังวลต่อสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ SET Index ณ สิ้นเดือน ก.พ.65 ปิดที่ 1,685.18 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 2.2% จากเดือนก่อนหน้า

ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งในรัสเซีย-เครนและมาตรการตอบโต้ด้านการค้าและการเงินของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซี่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและกระทบเรื่องอัตราเงินเฟ้อจากราคาพลังงาน โดยเฉพาะในกลุ่มยูโรโซนซึ่งมีการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย

นอกจากนี้ ความชัดเจนในการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนโดยเฉพาะในเอเชีย ซึ่งมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นสูงมาก อาทิ เกาหลี ญี่ปุ่น และไทย ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่น่าติดตาม ในส่วนของปัจจัยในประเทศได้แก่ การรับมือของภาครัฐต่อจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธ์โอมิครอน นโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวในระยะถัดไป และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน

ส่วนการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Expectation) เดือน มี.ค.65 ผู้ตอบแบบสำรวจมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะรักษาอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ในการประชุมเดือน มี.ค.นี้ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะให้ความสำคัญกับการเติบโตของเศรษฐกิจ ประกอบกับเงินเฟ้อของไทยแม้จะปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย

ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 10 ปี ณ สิ้นเดือน มี.ค.65 มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ประกอบกับอุปทานที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลไทยจากความจำเป็นในการกู้เงินของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม วิกฤติรัสเซีย-ยูเครน อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทนผันผวนในระยะสั้น

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดคาดการณ์ว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับปัจจุบันที่ 0.5% ในการประชุมครั้งนี้และคาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไปจนตลอดช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจาก ธปท. น่าจะให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจประกอบกับอัตราเงินเฟ้อของไทยแม้จะเริ่มปรับสูงขึ้นจากราคาพลังงาน แต่ยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจบางส่วนเริ่มมีการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปีจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเมื่อนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมา ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่อาจส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

การคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) ณ สิ้นเดือนมี.ค.65 ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่คาดว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปีและ 10 ปี จะปรับเพิ่มขึ้น 10-20 bps และ 0-5 bps ตามลำดับจากระดับ ณ ปลายเดือน ก.พ.65 มาอยู่ที่1.48-1.58% สำหรับรุ่นอายุ 5 ปี และที่ 2.19-2.24% สำหรับรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งเป็นทิศทางการปรับสูงขึ้นตามแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งตัวของอัตราเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ นอกจากนี้ อุปทานที่มากขึ้นของพันธบัตรไทยอาจมีส่วนทำให้ Bond Yield ไทยขยับสูงขึ้นด้วย ส่วนความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน จะส่งผลต่อความผันผวนของ Bond Yield ในระยะสั้น