ผู้เขียน หัวข้อ: NOK แจงเหตุยกเลิกไฟล์ทเบตง ขอเวลาทำแผนการตลาด กมธ.เร่งหาทางช่วยเหลือ  (อ่าน 460 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ dsmol19

  • *
  • กระทู้: 1,214
  • Popular Vote : 0
NOK แจงเหตุยกเลิกไฟล์ทเบตง ขอเวลาทำแผนการตลาด กมธ.เร่งหาทางช่วยเหลือ

นายสุธี จุลชาต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการ สายการบินนกแอร์ (NOK) เข้าชี้แจงต่อกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม วุฒิสภา ถึงปัญหาเส้นทางบินดอนเมือง - เบตงว่า การเปิดสนามบินใหม่ โดยเฉพาะสนามบินที่ไม่เคยมีตลาดมาก่อน จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาตลาด โดยในวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค.) นกแอร์จะมีไฟล์ทกระตุ้นตลาดเบตง เพื่อให้ทุกคนทราบว่าสนามบินแห่งนี้เปิดแล้ว เราพร้อมแล้ว เหลือเพียงการสร้างตลาด ซึ่งขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

"จากสถานการณ์ราคาน้ำมัน, สถานการณ์โควิด-19 ต้องใช้เวลาในการขอปรับแผน เพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ ปัจจุบัน นกแอร์ยังพยายามที่จะให้เกิดสนามบินที่นี่ให้ได้ เพราะเราเล็งเห็นศักยภาพของสนามบินเบตง และเปิดตลาดทางใต้ของต่างประเทศ" นายสุธี กล่าว
ทั้งนี้ โครงการสนามบินเบตงพอจะเริ่มโครงการมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกอย่างจึงถูกเลื่อนออกไป กระทั่งช่วงนี้ที่กำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น นกแอร์จึงพยายามเปิดตลาดให้ได้ แต่ระหว่างนี้มีการเลื่อนไฟล์ทมาตลอด ซึ่งอาจเกิดจากการประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ

ด้านพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ส.ว.ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม วุฒิสภา เปิดเผยว่า ในฐานะประธานกมธ. ได้ติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลา 2-3 ปี โดยประสานกรมท่าอากาศยาน สำนักการบินพลเรือน และจังหวัดยะลา เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคจนได้รับใบอนุญาตให้สายการบินไปลงได้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และสายการบินนกแอร์ หารือร่วมกัน ซึ่ง คณะกมธ.ฯ รับทราบปัญหาว่าหากสายการบินจะไปลงเบตงต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารยังมีน้อย นกแอร์ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายพอสมควร โดยนกแอร์ขอลดค่าธรรมเนียมสนามบิน ค่าธรรมเนียมการจอด ค่าธรรมเนียมนำร่อง ค่าธรรมเนียมสำนักงาน การบริการน้ำมันของอากาศยาน และลดภาษีสรรพสามิต

"เราประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแนวทางช่วยเหลือ ส่วนปัญหาเรื่องการประกันรายได้ 75% หน่วยงานราชการยังติดขัดในกฎระเบียบที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และต้องเป็นมติของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ขณะที่นกแอร์คิดแล้วว่า ถ้าไม่มีการประกันรายได้ก็จะไม่คุ้มทุน ทำให้สายการบินยังไม่สามารถเกิดเส้นทางประจำตามแผนเดิมได้ วันนี้ผู้บริหารนกแอร์ไม่สบายใจต่อเรื่องดังกล่าว จึงมาพบกับกมธ. เพื่อรับการประสานงานว่าจะให้ช่วยเหลือแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป" พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว