ผู้เขียน หัวข้อ: จับจังหวะปรับสินทรัพย์ลงทุนหลังประชุมเฟดแม้ตลาดหุ้นจีนเริ่มคลายกังวล  (อ่าน 415 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Prichas

  • *
  • กระทู้: 1,059
  • Popular Vote : 0
จับจังหวะปรับสินทรัพย์ลงทุนหลังประชุมเฟดแม้ตลาดหุ้นจีนเริ่มคลายกังวล แนะกระจายลงทุนใน Private Asset และStructure Note หนุนลดความผันผวนของพอร์ต

SCB CIO ประเมินผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (Fed) เป็นไปตามที่ตลาดคาด จากการขึ้นดอกเบี้ย 25 bps สู่ระดับ 0.25%-0.5% และคาดว่าเฟดมีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีได้อีกราว 6 ครั้ง คาดทั้งปีจะขึ้นรวม 175 bps ครั้งละ 0.25% ส่งผลให้ปลายปีดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯจะอยู่ที่ระดับ 1.75-2.00%ด้านตลาดหุ้นจีนเริ่มฟื้นตัวหลังเผชิญความผันผวนจากความกังวลเรื่องการคุมเข้มกฎระเบียบและความเสี่ยงหุ้นจีนที่จะถูกถอดถอนออกจากตลาดสหรัฐฯ จากการที่ทางการจีนออกมาให้ความเชื่อมั่นว่าจะรักษาเสถียรภาพของตลาดและดูแลประเด็นหุ้นจีนในต่างประเทศมากขึ้น SCB CIO มองตลาดหุ้นโลกคลายกังวลช่วงสั้น แต่ความเสี่ยงยังมีอยู่ในระยะข้างหน้า แนะถือสภาพคล่องในสัดส่วนมากกว่าปกติที่ 20-30% เพื่อรอความชัดเจนก่อนเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงเช่นตลาดหุ้นโลก เมื่อความผันผวนน้อยลง การลงทุนในตลาดหุ้นไทยและเวียดนามยังเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในช่วงนี้ และควรกระจายการลงทุนในPrivate Assets เพื่อช่วยลดความผันผวน และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ Structure Note ที่สามารถบริหาร Downside Risk ของพอร์ตได้ดีขึ้น

นายศรชัย สุเนต์ตา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารฝ่าย SCB Chief Investment Office (SCB CIO ) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด (Fed)แผนการขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในปีนี้เป็นไปตามที่ตลาดคาดไว้ แต่ยังต้องจับตาระดับเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยในระยะข้างหน้าหากพิจารณาผลการประชุมเฟด เมื่อวันที่ 15-16 มี.ค. ที่ผ่านมา การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25 bps สู่ระดับ 0.25%-0.5% โดยได้ปรับคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ย (Dot Plot) ล่าสุดในปี 2022 อยู่ที่ 7 ครั้ง ในปี 2023 อยู่ที่ 3-4 ครั้ง และในปี 2024 อยู่ที่ 2 ครั้ง ทำให้ปลายปีนี้ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ จะอยู่ที่ระดับ 1.75%-2.00% โดย SCB CIO มองว่าเฟด ให้ความสำคัญต่อเป้าหมายเสถียรภาพเงินเฟ้อ และเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะรองรับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่วนการลดงบดุลมองว่าเฟดจะประกาศรายละเอียดและเริ่มทำการลดงบดุลในการประชุมเดือน พ.ค. ทั้งนี้ ยังต้องติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมจากรายงานการประชุมเฟดที่จะถูกเปิดเผยในวันที่ 6 เม.ย.นี้

ทั้งนี้ สัญญาณราคาพลังงานและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าที่จะเป็นตัวกำหนดระดับการขึ้นดอกเบี้ยในแต่ละรอบการประชุม โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยในรอบที่เหลือของปีจะมีโอกาสขึ้นได้มากกว่า 25 bps หรือไม่ หากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อและราคาสินค้าโภคภัณฑ์และน้ำมันยังพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง หากเป็นเช่นนั้น มองว่าเฟดอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยตามในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งอาจจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดได้ต่อเนื่อง SCB CIO คาดว่าผลกระทบต่อดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะสั้น (2 ปี) และระยะยาว (10 ปี) ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แต่อาจจะยังไม่เกิดสภาวะ Inverted Yield Curve (เส้นผลตอบแทนพันธบัตรที่กลับด้านจากปกติ จากการที่ระดับดอกเบี้ยระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนมีค่ามากกว่าระดับระยะยาว) ทำให้มองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในระยะข้างหน้า

นายศรชัย กล่าวต่อไปว่า ความผันผวนในตลาดหุ้นจีนยังไม่หมดไป แม้ตลาดเริ่มคลายความกังวลในช่วงสั้น พร้อมจับตาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนโดยเฉพาะหุ้น Offshore (จดทะเบียนนอกตลาดจีน) ปรับฐานรุนแรงทั้งจากความกังวลด้านการคุมเข้มกฎระเบียบและความเสี่ยงที่หุ้นจีนบางบริษัทจะถูกถอดถอน (Delist) ออกจากตลาดสหรัฐฯ SCB CIO มองประเด็นความเสี่ยงด้านการปฏิรูปกฎระเบียบ (Regulation Risk) ยังเป็นความเสี่ยงต่อหุ้นจีนในระยะข้างหน้า แต่เชื่อว่าขนาดของผลกระทบจะไม่รุนแรงดังเช่นในปี 2021 ที่ทางการจีนเน้นคุมเข้มทั้งอุตสาหกรรม แต่การคุมเข้มในระยะข้างหน้าจะเน้นเฉพาะบริษัทที่ไม่ทำตามกฎและขัดขืนคำสั่งมากกว่า ด้านความกังวลการถูกถอดถอนออกจากตลาดสหรัฐฯ (Delisting Risk) SCB CIO มองความเสี่ยงนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่และเป็นที่รับรู้ของตลาดอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว หลังจาก HFCAA (Holding Foreign Companies Accountable Act) ถูกลงนามเป็นกฎหมายในสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2020 ทั้งนี้ การเพิกถอนไม่ได้เกิดทันที โดยจะเกิดการเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดเฉพาะในกรณีที่ PCAOB (Public Company Accounting Oversight Board) ของสหรัฐฯ ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลจากผู้สอบบัญชีของบริษัทได้เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันเท่านั้น อีกทั้ง กรณีเลวร้ายหากถูกถอดถอน หลายบริษัทจีนในตลาดสหรัฐฯ ยังสามารถกลับเข้ามาจดทะเบียนในตลาดฮ่องกงได้ ทำให้มองผลกระทบค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ต้องติดตามใกล้ชิดเพิ่มเติม คือ กรณีความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งหากสหรัฐฯ ออกมาตรการคว่ำบาตรหรือกีดการทางการค้าการลงทุนต่อจีนเพิ่มจากการที่จีนไม่ยอมประกาศคว่ำบาตรรัสเซียตามชาติมหาอำนาจอื่นๆ ความเสี่ยงนี้อาจสร้างความผันผวนต่อตลาดการเงินโลกได้มากในระยะต่อไป และจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งสหรัฐฯ-จีนที่ตึงเครียดอยู่เดิมกลับมาเพิ่มความเข้มข้นและส่งผลกระทบต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกได้ โดยเฉพาะต่อตลาดหุ้นจีนในอนาคต

SCB CIO มองกลยุทธ์การลงทุนในตลาดสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ตลาดหุ้นโลก ยังมีความไม่แน่นอน การถือครองเงินลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเป็นสัดส่วนมากกว่าปกติยังเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงสั้นเช่น 20-30% ของเงินลงทุน เพื่อรอจะหวะเข้าลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่นตลาดหุ้นโลก เมื่อความผันผวนลดลง ตลาดหุ้นไทยและเวียดนามยังน่าลงทุน และควรทยอยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Private Assets เนื่องจากได้รับผลกระทบจากความผันผวนด้านราคาน้อยกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น และการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ Structure Note จะช่วยบริหาร Downside Risk ของพอร์ตการลงทุนได้ดีมากขึ้น

กลยุทธ์การลงทุนในตราสารหนี้ SCO CIO แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยตราสาร (Duration) ต่ำเพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของดอกเบี้ยโลกขาขึ้น ส่วนตราสารทุน แนะนำทยอยลงทุนในตลาดหุ้นที่ได้รับผลกระทบต่ำจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน เช่น ตลาดหุ้นไทยและเวียดนาม เนื่องจาก ทั้ง 2 ประเทศ มีเสถียรภาพเศรษฐกิจแข็งแกร่งและตลาดหุ้นรับความผันผวนได้ดีในช่วงที่ผ่านมา สำหรับการจัดสรรพอร์ตการลงทุน SCO CIO แนะนำคงสัดส่วนการถือครองเงินสดและสภาพคล่องในระดับมากกว่าปกติ เช่น 20-30% ของเงินลงทุนในช่วงสั้น และทยอยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนใน Private Assets ทั้งในส่วนของ Private Equity และ Private Debt เนื่องจากราคาสินทรัพย์ Private Assets เช่น หุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาด จะได้รับผลกระทบด้านราคาต่ำกว่าราคาสินทรัพย์ Public Assets เช่น หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงการลงทุนใน Structured Notes เช่น หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ซึ่งให้ผลตอบแทนหรือมีมูลค่าเชื่อมโยงกับหลักทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ซึ่งอ้างอิงกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น เช่น ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ หุ้นรายตัว หุ้นหลายตัว ตราสารหนี้ โภคภัณฑ์ สกุลเงิน อัตราดอกเบี้ย ฯลฯ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สามารถออกแบบและจำกัดความเสี่ยงได้ตามความเหมาะสม และมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ตามความเสี่ยงที่รับได้ในช่วงที่ตลาดหุ้นโลกและตลาดสินทรัพย์เสี่ยงอื่นยังมีความไม่แน่นอนสูง