สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่ารถคันนี้เป็นรถของคุณหมอชัยวัฒน์ หนึ่งในสมาชิกของ SSS คับ แต่ผมจะทำหน้าที่ เป็นคนที่มา update และให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของรถคันนี้ (เนื่องจากทางคุณหมอไม่ค่อยมีเวลา และไม่ทราบในรายละเอียดของเครื่องยนต์เชิงลึกคับ) เพื่อเป็นข้อมูลและเป็นประโยชน์ของพี่ๆเพื่อนๆในเว็บ เพื่อว่าใครอยากจะทำการ modify เครื่องยนต์ในลักษณะแบบนี้ในอนาคตคับ
รถคันนี้ออกห้างจาก MIT มาเป็นเครื่องยนต์ 2.5L. เทอร์โบ คอไอดีพลาสติกสีดำ ว่าง่ายๆว่าเครื่องยนต์พื้นฐานเหมือนเครื่องคอแดงที่อยู่ในบอดี้ก่อนหน้านี้ (พวก GDB) ทั้งท่อนล่างและชุดฝา แต่มาลงอยู่ในบอดี้ของหน้าแมว แต่ถ้าเป็นหน้าแมว STi จะแตกต่างกันตรงวัสดุที่ใช้ในการทำชิ้นส่วนของท่อนล่าง คอไอดี และชุดฝาจะเป็นแบบ Dual AVCS
Project นี้เริ่มขึ้นโดยการที่คุณหมออยากจะขยายความจุของเครื่องยนต์ ขยายขนาดของเทอร์โบ เพื่อเพิ่มแรงม้าและแรงบิดให้กับเครื่องยนต์ และในขณะเดียวกันก็เพิ่มความแข็งแรงให้กับเครื่องยนต์ให้มีมากขึ้นไปในตัวด้วย โดยมี concept ที่ว่าไม่ได้ต้องการเครื่องที่แรงมากๆ แรงม้าเยอะๆ (เพราะไม่ได้จะเอาไปแข่งกับใคร อิอิ) แต่ต้องการเครื่องยนต์ที่มี response ที่ดีขึ้นมากกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็นเครื่องยนต์ที่ให้กำลังได้ต่อเนื่อง มีขุมกำลังที่เพียงพอต่อการใช้งานบนถนนในจังหวะเร่งแซง กดบ้าง ยกบ้าง มีกดเล่นเมื่อถนนมันโล่งๆบ้าง และสามารถใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน โดยตั้งเป้าหมายแรงม้าไว้ที่ราวๆ 400 แรงม้าที่ล้อเป็นขั้นต่ำ โดยมองถึงความทนทางของเครื่องยนต์เป็นหลักสำคัญ และระบบทุกส่วนของรถยนต์ต้องสัมพันธ์กันทั้งหมดคับ
มาดูกันเลยดีกว่าคับว่าแมวตัวนี้ได้ทำอารายกับเครื่องยนต์และระบบอื่นๆไปบ้าง
เริ่มกันจากท่อนล่างก่อนคับ
1. ชุดลูกสูบ CP Pistons ขนาด STD. Custom-made เพื่อรองรับช่วงชักที่ยาวขึ้น
2. ก้านสูบ Brian Crower Billet 4340 Chromoly Steel พร้อมน๊อตก้าน ARP
3. ข้อเหวี่ยง Brian Crower - Billet 4340 Chromoly Steel ขยายช่วงชัก เพิ่มความจุ 2,700cc.
4. เสื้อสูบ – Clearance หลบช่วงชักข้อเหวี่ยงที่ยาวมากขึ้น
5. ปลอกสูบสไตล์ Darton Sleeves เป็นแบบ Wet Sleeves รองรับบูสต์ที่มากขึ้นและป้องกันปัญหาเสื้อแตก
6. ชาร์ฟ ACL Race Series – 3 ชุด (3 ขนาด) – ใช้ชาร์ฟ 3 ขนาดเนื่องจากต้องการให้ clearance ของทั้งชาร์ฟเมน และชาร์ฟก้านเป็นไปตาม spec ของโรงงานในทุกๆข้อ โดยคละชาร์ฟทั้ง 3 ขนาดลงไปในแต่ล่ะข้อเพื่อให้ clearance ถูกต้องและแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องเอาข้อเหวี่ยงไปปรับเมนเพื่อให้ได้ clearance คับ
7. น๊อตเมน ARP L19 – ในประเทศไทยสำหรับเครื่อง EJ แล้วไม่ค่อยมีคนให้ความสำคัญกับการใช้น๊อตเมน แต่สำหรับการทำเครื่องที่ลงทุนกับอะไหล่ภายในค่อนข้างมาก การที่มีน๊อตดีๆไว้ก่อน ย่อมอุ่นใจและมั่นใจได้ว่าโอกาสที่ปัญหาจะเกิด จะน้อยลงคับ
8. ปั้มน้ำมันเครื่อง Cosworth – เพื่อเพิ่ม Pressure ของน้ำมันเครื่องมารองรับกับ step การโมดิฟายที่เพิ่มมากขึ้น