สำหรับผม เคยมีอาจารย์ท่านนึง เค้า สอนว่า ขับรถให้เปรียบเหมือน มี ลูกบอลลูกนึงกลิ้งอยู่ในรถ
อยากให้รถมีอาการ อย่างไรล่ะ เราก้ออื้มมมมม ค่อยๆกลับไปคิด และพยายามฝึกฝน เทคนิคการขับต่างๆ
จนตอนนี้ ไม่ว่าขับอะไร ก็มีลูกบอล ลูกนึ้อยู่ ทุกครั้ง ที่สตาร์ท เครื่อง
เรื่องลูกบอล เต้าหู้ หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้เราจินตนาการถึงแรงG ที่เกิดขึ้นกับรถได้ง่ายขึ้น ชัดเจนขึ้นครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราเข้าใจเรื่องการถ่ายเทน้ำหนักอย่างถูกต้อง เราจะรู้สึกได้ถึงแรงG ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะทิศทางไหนก็ตาม
ผมชอบที่อาจารย์มาซากิแกทำท่ายืนกำสองมือคล้ายๆถือพวงมาลัย แล้วอธิบายพร้อมๆกับโยกตัวไปซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง
ประกอบในแต่ละโค้ง แบบนั้นก็เข้าใจง่ายดีเหมือนกัน
ความแตกต่างของรถแต่ละแบบ ถ้าลงรายละเอียด ผมว่าสงสัยต้องเปิดอีกกระทู้แน่ๆ เอาเป็นว่า รถแต่ละแบบ
มันจะถ่ายเทน้ำหนักได้ไม่เหมือน/ไม่เท่ากัน ในแต่ละการกระทำที่คนขับสั่งให้เป็น เอาแค่เบรคแรงๆบนทางตรง
รถที่เครื่องวางด้านหน้า ไม่ว่าจะขับหน้า ขับหลัง หรือขับสี่ ก็มักจะเกิดอาการ "เบรคหัวทิ่ม" ชัดเจนที่สุด
ในขณะที่ ถ้าเป็นเครื่องวางกลาง หรือวางหลัง เมื่อเบรคในทรงเดียวกัน น้ำหนักทั้งหมดจะไม่ตกไปที่ด้านหน้ารถ
หรือล้อคู่หน้าเพียงอย่างเดียว ทำให้สามารถเบรคได้ลึกกว่า/แรงกว่ารถแบบแรก
พอเริ่มเลี้ยวเข้าไปในโค้ง ถ้าตามที่ผมเคยบอก คือต้องค่อยๆเริ่มคลายเบรค หรือที่เรียกว่า trail braking น่ะแหละ
น้ำหนักที่โหลดอยู่ที่ล้อหน้า จะค่อยๆถ่ายเทมาที่ด้านหลังและด้านข้างมากขึ้น ถ้านึกถึงลูกบอลตามที่โพดบอก
จากเบรคเต็มๆบนทางตรง ลูกบอลกลิ้งไปหน้ารถ พอเริ่มเลี้ยว+คลายเบรค ลูกบอลจะไหลกลับมาด้านหลัง+ด้านข้าง
เมื่อไปถึงกลางโค้ง ลูกบอลก็จะอยู่ด้านนอกของโค้งพอดี (สมมุติโค้งขวา รถเอียงซ้าย น้ำหนักถ่ายไปด้านนอกโค้ง ลูกบอลกลิ้งไปซ้าย)
แต่.....เมื่อผ่านจุดตัดยอดโค้ง(Apex) เริ่มเดินคันเร่ง ตรงนี้ละครับ ที่ผมบอกว่า ขับหน้า ง่ายที่สุด เพราะอะไร?
ถ้าเราดูแค่การถ่ายน้ำหนักหรือลูกบอล ตรงนี้มันจะค่อยๆกลิ้งไปด้านหลัง ตามที่เรากดคนเร่งออกจากโค้ง เครื่องหน้าขับหน้า
ล้อคู่หน้าก็จะทำหน้าที่ทั้งเลี้ยว และดึงรถออกไป ถ้าทำอะไรผิดพลาด เต็มที่ก็แค่ Understeer คือหน้าไถ แก้ไม่ยากด้วยการผ่อนคันเร่งนิดหน่อย
หรือสวนพวงมาลัยให้ล้อตรงเล็กน้อยก็เดินคันเร่งต่อไปได้ แต่ถ้าเป็น เครื่องหน้าขับหลัง น้ำหนักถ่ายเทเหมือนกันเป๊ะ ลูกบอลกลิ้งไปที่เดียวกัน
แต่พอเริ่มเดินคันเร่ง ท้ายจะมีการขยับเพื่อ "ดัน"ให้รถพุ่งออกไปจากโค้ง ในขณะที่ล้อคู่หน้าก็พยายามเลี้ยว ตรงนี้ ถ้าไม่พอดี อาการ Oversteer จะตามมา
ซึ่งแก้ไขได้ไม่ง่ายเหมือนแบบแรก แต่ก็ยังพอได้ ด้วยการ countersteer หรือ "สวน"พวงมาลัยไปทิศตรงข้าม คุมคันเร่งให้ได้
สุดท้าย เครื่องวางกลาง/วางหลัง ขับหลัง ขั้นตอนออกโค้ง ถ้ามีอะไรผิดพลาด เช่นคืนพวงมาลัยไม่สัมพันธุ์กับความเร็วหรือคันเร่ง
อาการที่จะเจอ มันมีได้ทั้ง under หรือ over หรือ underแล้วover ตาม แบบนี้แหละครับที่ผมบอกว่ามันไม่หมู
เจ้าลูกบอลที่ต้องกลิ้งไปด้านหลังเวลาจะออกจากโค้ง มันก็จะกลิ้งไปกลิ้งมา สุดท้ายถ้าแก้อาการไม่ถูก หรือแก้ไม่ดีพอ รถอาจจะเจออาการ"ชกมวย"
คือพอ over ปั๊บ เราสวนพวงมาลัย แต่งคันเร่ง แต่ไม่พอดี รถก็จะดีดกลับมาอีกฝั่ง ทีนี้ละยุ่งเลยครับ เพราะมันจะไม่เหมือนการทำ Yaw ในแบบดริฟท์
ที่มันต่างกันเพราะว่า การทำ Yaw ของดริฟท์นั้น เกิดขึ้นด้วยการตั้งใจให้เกิดของคนขับ แต่ไอ้พวก MR หรือ RR ชกมวยเนี่ย มันเกิดโดยคนขับไม่ทันระวัง
และมักจะตกใจ แก้ไม่ทัน หรือแก้ไม่พอดี อันนี้ละครับที่ผมพูดถึง