เคย COPY ข้อความของ พี่ AZZY เก็บไว้นานละ
ลองอ่านดูนะคัฟ ผมว่าละเอียดและเข้าใจง่ายดีคัฟ
วันนี้พอมีเวลา จะเล่าให้ฟังนิดหน่อย เกี่ยวกับเรื่อง Carbon Fiber และ Carbon + Kevlar Fiber ว่ามีขั้นตอนการผลิตยังไง ทำไมเมืองไทยทำได้ถูกกว่าของเมืองนอก ทำไมของไทยแล้วไม่ทน วันนี้ขอเล่าให้ฟังคร่าวๆ เผื่อว่า จะเอาไปลงเป็น บทความเล็กๆน้อยๆ เก็บไว้ และเพื่อความเข้าใจของเพื่อนๆ
ก่อนอื่นเลยเนี่ย ต้องขอบอกก่อนเลยว่า งาน FRP หรือว่า งาน GRP เนี่ยมันมีที่มาที่ไป ที่เราๆเรียกกันว่า งานไฟเบอร์เนี่ย คืออะไร
FRP = Fiber Glass Reinforce Plastic
GRP = Glass Fiber Reinforce Plastic
ทั้ง 2 ตัวนี้ ชื่อต่างกัน แต่มันคือตัวเดียวกัน FRP จะถูกเรียกงานแบบนี้ในยุโรป แต่ GRP จะถูกเรียกในอเมริกา ซึ่งเป็นความต่าง เฉพาะ ชื่อที่เรียกเท่านั้นเอง
ที่เค้าเรียกแบบนี้ ถ้าแปลเป็นภาษาไทยก็คือ "พลาสติกเสริมแรง"
เนื่องจาก ในสมัยก่อน การใช้พลาสติกเสริมแรงนั้นในตัวมันเอง จะแยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
1. พลาสติก
2. ตัวเสริมแรง
1. ตัวพลาสติก หรือที่เค้าเรียกว่า Resin ก็คือพลาสติกชนิดที่เหลว ที่ถ้าจะทำให้มันแข็งตัว ต้องการ ปฎิกิริยา ทาง เคมี เป็นตัวเร่งความร้อน ให้ตัวมันเองแข็ง ทั้งนี้ Resin ในแต่ละแบบก็จะมีคุณภาพ และความแตกต่างระหว่างงานที่ใช้ เช่น ถ้าเป็นงานเรือ ก็จะใช้อย่างนึง เพราะต้องทนการกัดกร่อนของน้ำทะเล ถ้าจะใช้ของรถยนต์ ต้องทนอีกแบบ หรือถ้าใช่งานของ อาคาร บ้านเรื่อน ก็ต้องทนฝนกรด
2. ตัวเสริมแรง หรือที่เค้าใช้ๆกันก็คือ "เส้นไยไฟเบอร์" หรือ ในหลายๆงาน ในยุคใหม่ๆนี้มีทั้ง Carbon , Kevlar , PE , ใยหิน etc ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ลักษณะงานที่ใช้ เช่น กันกระสุน กันแรงกระแทก น้ำหนักเบา ต้องการ การยืดหยุ่นสูง
โดยทั้ง 2 ตัวนี้ ต้องถูกผสมผสานกันออกมาเป็นงาน FRP หรือ GRP เมื่อพอเวลาผ่านไป มีการคิดค้นในเรื่องของ Resin พัฒนาไปไกลมาก เป็น หมื่นๆเบอร์ และเรื่อง ใยเสริมแรงก็มีการพัฒนาไปต่างๆนาๆ คำว่า FRP หรือ GRP ก็ถูก รวมกันเกิดเป็นคำใหม่ ที่เรียก วัสดุแบบนี้ว่า " Composite " หรือ Plastic Composite
ซึ่งวัสดุ ประเภทนี้ จะมีข้อดีของหลายๆอย่าง เช่น Carbon มีคุณสมบัติ เรื่อง น้ำหนักเบา ทนความร้อน มาบวกกับ Kevlar ซึ่งมีความเหนี่ยว และบวกกับ Epoxy Resin ที่มีน้ำหนักเบา ทนต่อการหดตัวและความร้อน ก็จะมีคุณสมบัติ ทั้ง ทนความร้อน เหนียว เบา อยู่ในตัวเดียวกัน อาจจะได้ในอารมณ์ของความสวยงามด้วย แต่ผมมองว่า มันเป็น Trend ของผู้ผลิตรถยนต์ที่พยายามตามแนวรถแข่ง
โดยเรื่องราวของ Carbon Kevlar นั้นเดิมก่อนที่จะมาอยู่ในวงการรถยนต์ มันเกินขึ้นจาก อุตสหกรรม เครื่องบิน ยานอวกาศ มาก่อน จนมาเป็น Body รถแข่ง และมาถึง วงการแต่งรถ ที่ได้รับความนิยมมาจากรถ Supercar ที่นำมันเข้าไปเป็นส่วนประกอบ ที่นำมาซึ่งความงาม และ ความแข็ง
ที่นี้
มาพูดถึงการนำมันมา แต่งรถ กันบ้าง
ก็ แน่นอนครับ รถแข่งมีอะไร เราก็พยายาม ทำตามรถแข่ง เป็นสิ่งที่ไม่แปลก เพราะรถแข่งย่อมทำอะไร ที่ดีที่สุด เพื่อไปให้ได้ถึงจุดหมายเร็วที่สุด
Trend ที่ได้ ก็เลยตามๆไป เช่น
หาง GT
โห เดี๋ยวนี้รถตู้ยังติดหาง GT เลย เพราะห่วงเรื่อง Down Force ว๊าวววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว!!!!
แน่นอนครับ รถ Ferrari ตบแต่งภายใน และถูกสร้างจาก Carbon Fiber มีหรือเราๆท่านๆ จะไม่อยากได้ อารมณ์ Sport แบบนั้น
ก่อนจะไปถึงตรงนั้น ผมขออนุญาติ อธิบายการผลิตคราวๆของ งาน Body Carbon Fiber ของรถแข่งบ้าง
งาน Body Carbon Fiber ของรถแข่งนั้น ถูกผลิตขึ้นจากงาน Composite เช่นกัน แต่มี Process การผลิตที่แตกต่างจากการผลิตทั่วไปที่ เรียกกันว่า Hand lay (ขึ้นรูปด้วยมือ) , Cool Press (พิมพ์เย็น) , Hot Press (พิมพ์ร้อน) ด้วยการผลิตที่ว่านั้น มันทำได้ช้า ไม่แน่นอนในเรื่องความแข็งแรง ด้วยเนื่องจากส่วนผสมของ น้ำยา Resin และตัวเสริมแรง
จึงได้เกิดวิธี ที่เค้าเรียกว่า SMC คือการที่ ทั้งตัวเสริมแรง และ Resin ถูกผสมมาในอัตรส่วนที่ Ok แล้ว นั้นคือประมาณ 1:1 และถูกทำให้อยู่ในสภาพ พร้อม ที่จะขึ้นรูป มาเป็นแผ่น คล้ายๆ ยางแผ่น เมื่อนำไปวางใน แม่พิมพ์ ถูกกดด้วยความร้อน และ นำไปไว้ในตู้ สุญญากาศ
เมื่อเวลาผ่านไป ชิ้นงานแข็งดี แกะออกมา จะได้ Material ที่ โคตรพ่อ Perfect
น้ำหนักเบา ทนการกระแทกสูง ทนความร้อน และมันสามารถอยู่ไปได้อีก หลายร้อยปี
แต่ เนื่องด้วยจากที่มันอยู่ได้ หลายร้อยปีเนี่ย มันถึงเป็นวัสดุที่ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถ้าจะทำลาย ก็ต้องเผา ซึ่งก็จะเกิดมลพิษ ถ้าฝังดิน ก็รอไปเถอะครับ รุ่น โคตรเหลน ยังขุดมาเจอได้
ที่นี้เข้าใจเรื่อง Process ของการทำ Body รถแข่งแล้ว แล้วการแต่งรถละ เป็นยังไง
พวกค่ายแต่งรถดังๆที่ผมเห็นเค้าใช้ SMC เลยก็มีเยอะครับ เช่น
HKS ผมจำได้ว่า รถ IS 200 ของ HKS ที่ Body เป็น Carbon Fiber อันนั้น รู้สึกจะ ของแท้ครับSMC แน่นอน แต่ ภายในไม่แน่ใจครับ พอดี ดูแต่ภายนอก
และอีกหลายๆเจ้าครับ ที่ใช้ ส่วนใหญ่ก็เจ้าดังๆ ทั้งนั้น
ที่นี้เรามาพูดถึงใกล้ๆตัวกันบ้าง
ในเมืองไทย
งาน Carbon fiber เป็นยังไง
โอ๊วววววววววว ที่เจอมา ยังไม่มีดีซักราย ขนาดลองทำเอง ก็ยังไม่เนียบครับ ด้วยจาก ขาดทั้งเครื่องมือ ขาดทั้งของ
ก่อนอื่นต้องขอลง Detail นิดนึงว่า การทำ Carbon Fiber นั้น ส่วนสำคัญของมันก็คือ
1. เส้นใย Carbon
2. Epoxy Resin
ซึ่ง ไอ้เจ้า 2 ตัวนี้แหล่ะที่เป็นปัญหา เพราะเมื่อเลือกใช้ Carbon Fiber เบอร์นี้ (ละเอาไว้ เพราะมีเยอะโคตร) Resin ที่จะนำมาขึ้นรูป ก็จะต้องเป็น Epoxy Resin ที่จะต้อง match กันกับ เส้นใย Carbon ถามว่าทำไมนะหรอ
ก็เพราะว่า ไอ้ใย Carbon เนี่ย ปรกติ ถ้าทำ Process Handlay เนี่ยมันจะ lay ยากมากกกกกกกกกกก ซึ่งผู้ค้นคิดเค้าก็เลย คิดสูตร Epoxy ที่ทำให้ Lay ง่ายขึ้น นั้นก็คือ การผสม ส่วนผสมเพิ่มเติมลงใน ใย Carbon ซึ่งเมื่อเคลือบน้ำยา Resin ลงไปแล้วเนี่ย ใยCarbon มันจะดูด น้ำยา Resin ตัวนี้เข้าไปในเส้นใย เพื่อให้มัน ขึ้นรูปได้ง่ายขึ้น
ถ้าเป็น SMC ตรงนี้ไม่ต้องห่วงเพราะเค้าจะทำมาเรียบร้อย
แต่ในเมืองไทยที่เห็น ที่เจอ
1. ไม่ได้ใช้ Epoxy Resin ถึงใช้ ก็ไม่ใช่ตัวที่เข้ากับ Epoxy ตัวนั้น บางทีใช้ของเกรดไม่ดี ผสมในเมืองไทยบ้างก็มี หรือไปใช้ Polyester Resin ซึ่งเค้าเอาไว้ทำงาน Fiber Glass ไม่ใช่งาน Carbon เพราะราคามันถูกกว่ากันประมาณ 10 เท่า
2. เมื่อก่อนการจะหาเส้นใยดำๆแบบ Carbon นั้นไม่มี ก็คือมี Carbon อย่างเดียว เดี๋ยวนี้มีคนนำเข้าเส้นใย PE เข้ามาสีดำ ดูแล้วเหมือนCarbon แต่จะไม่มีความมันวาวเหมือน Carbon
3. เมื่อขึ้นรูปเสร็จแล้ว ไม่ได้ทำการลง Clear หรือ แล๊คเกอร์ ทำให้ พอใช้ไปนานๆ มันจะเหลืองเพราะว่า Resin ที่ใช้ ไม่มีสารป้องกัน UV
4. บาง เพราะ วัตถุดิบมันแพง
ช่วง Q/A
1. ทำออกมาแล้ว ใช้ไปนานๆ มันลอกเป็น สติกเกอร์ เกิดขึ้นจากอะไร
ตอบ : เกิดขึ้นจากการใช้ Resin ผิดประเภท ไปใช้ Polyester ซึ่งมันจะไม่เข้ากับเส้นใย Carbon ระยะยาว มันจะลอออกจากกัน
2. ผิวเป็นรู
ตอบ : เป็นธรรมดาของงาน Carbon เพราะในแผ่นของCarbon มันจะมีช่องอากาศอยู่แล้ว เมื่อรีดไม่หมด ก็จะเกิดปัญหาอย่างที่ว่าเมื่อพ่น Clear แล้ว จะเป็นหลุดตามดเยอะ แต่ SMC มีน้อยมากเพราะผ่านจากการVacuum อากาศออกทั้งหมดแล้ว
อย่างที่บอกส่วนตัวเคยทำฝากระโปรงเล่นๆ ด้วยอุปกรณ์ ในเมืองไทยที่มี และวัตถุดิบ ที่พอหาได้
ตอนนี้ก็ยังอยู่ในรถแข่ง Gymhkana คันนึง ที่รู้จักกันดี นั้นก็คือเจ้า ปอม กาม ปิ โน่
อัน นั้นทำเล่นๆหนุกๆครับ หุหุหุ เท่าที่เช็คสภาพดูก็ยังOk อยู่เลย ตัวนั้น ทั้ง Resin และ Carbon ถูกสูตรหมดทุกอย่าง แถมตลอดการผลิต เอา แทงค์ Vacuum ไว้ดูด Resin ที่เกินออกด้วย อันนั้นอะ ชัวร์ เบาดี จำไม่ได้แล้วว่าน้ำหนักเท่าไหร แต่เบามาก ถ้าจำไม่ผิด รู้สึกจะฉีดโฟรม PU เข้าไปเสริมแรงบางจุดด้วย เล่นสูตรเดียวกะรถแข่งอะครับ
เอาหล่ะ คิดว่าคงให้ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์บ้างนะครับ สำหรับบางท่านที่คิดจะลองหาฝากระโปรง Carbon Fiber ซักอัน